Publication:
ผลของโปรแกรมการจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันต่อความรู้ การใช้ยาสูด และการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด

dc.contributor.authorธมลวรรณ ศรีกลั่นen_US
dc.contributor.authorดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศen_US
dc.contributor.authorอรวมน ศรียุกตศุทธen_US
dc.contributor.authorThamonwan Sriglunen_US
dc.contributor.authorDoungrut Wattanakitkrilearten_US
dc.contributor.authorAurawamon Sriyuktasuthen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2021-04-20T03:27:08Z
dc.date.available2021-04-20T03:27:08Z
dc.date.created2564-04-20
dc.date.issued2564
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันต่อความรู้ การใช้ยาสูด และการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหืดอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 64 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ควบคุมโรคหืดได้บางส่วนหรือไม่สามารถควบคุมโรคหืดได้ ได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดอย่างน้อย 3 เดือน โดยมีการใช้ยาสูดผิดอย่างน้อย 1 ขั้นตอน และมีโทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นจากกรอบแนวคิด IMB Model ประเมินผลการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืดตามเกณฑ์ของ Global Initiative for Asthma guideline ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการควบคุมอาการโรคหืดโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test และ Wilcoxon matched-pairs signed rank test ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.9 อายุเฉลี่ย 49.03 ปี (SD = 13.62) ก่อนการทดลอง ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p > .05) หลังการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมการจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันมีคะแนนความรู้โรคหืด คะแนนความถูกต้องของการใช้ยาสูด และการควบคุมอาการโรคหืดดีกว่าดีกว่ากลุ่มควบคุม (z = -2.57, p = .01; z = -4.93, p < .01 และ z = -2.34, p = .02 ตามลำดับ) และดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -4.19, p < .01; z = -4.77, p < .01 และ z = -3.91, p < .01 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคหืดที่มีการควบคุมโรคหืดได้บางส่วนหรือไม่สามารถควบคุมโรคหืดได้ มีการควบคุมอาการโรคหืดดีขึ้นได้ ดังนั้น พยาบาลควรนำโปรแกรมการจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันมาใช้ควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืดที่ควบคุมอาการได้ไม่ดีที่มาติดตามการรักษา เพื่อให้ความรู้ในการดูแลตนเอง ส่งเสริมทักษะและความสม่ำเสมอในการใช้ยาสูดen_US
dc.description.abstractPurpose: To study the effects of asthma management program via smartphone applications on knowledge, inhaler used and symptoms control in patients with asthma. Design: A randomized controlled trial. Methods: Sixty-four patients with asthma receiving medical care at OPD in a tertiary level hospital in Bangkok, being 18 years of age or more, having partial or uncontrolled asthma symptoms, being treated with inhaled corticosteroids no less than 3 months, showing incorrect use of a corticosteroids inhaler at least one step, and having internet-connected smartphone were recruited into the study. The subjects were randomly assigned into the experimental (n = 32) and the control (n = 32) groups. The control group received regular nursing care. The experimental group received asthma management program via smartphone applications based on the IMB model for 6 weeks. The asthma symptom control was measured by the asthma control assessment based on Global Initiative for Asthma guideline. Data were analyzed using Mann-Whitney U test and Wilcoxon matched-pairs signed rank test. Main findings: The results revealed that the participants were female (71.9%) with a mean age of 49.03 years old (SD = 13.62). There were no significant differences in demographic data between the two groups (p > .05). After the trial, the intervention group had higher scores of knowledge, correct inhaler used and asthma symptoms control than that in the control group (z = -2.57, p = .01; z = -4.93, p < .01 and z = -2.34, p = .02 respectively); and the scores after the experiment were also significantly higher when compared to before the experiment (z = -4.19, p < .01; z = -4.77, p < .01 and z = -3.91, p < .01 respectively). Conclusion and recommendations: According to the study finding, the asthma management program via smartphone applications promoted patients who had partial or uncontrolled asthma symptoms to have better asthma symptom control. Therefore, nurses should use asthma management program via smartphone applications in patients with poor asthma symptoms control during the scheduled appointment for providing health information, promoting inhaler skill, and adherence.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2564), 50-63en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/61984
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโรคหืดen_US
dc.subjectสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันen_US
dc.subjectการควบคุมอาการen_US
dc.subjectasthmaen_US
dc.subjectsmartphone applicationsen_US
dc.subjectsymtoms controlen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันต่อความรู้ การใช้ยาสูด และการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืดen_US
dc.title.alternativeThe Effect of Asthma Management Program via Smartphone Applications on Knowledge, Inhaler used and Symptoms Control in Patients with Asthmaen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/244582

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-doungrut-2563.pdf
Size:
847.61 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections