Publication:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง

dc.contributor.authorซูมัยยะห์ อัซซอมาดีย์en_US
dc.contributor.authorดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศen_US
dc.contributor.authorคนึงนิจ พงศ์ถาวรกมลen_US
dc.contributor.authorฉัตรกนก ทุมวิภาตen_US
dc.contributor.authorSumaiyah Assomadien_US
dc.contributor.authorDoungrut Wattanakitkrilerten_US
dc.contributor.authorKanaungnit Pongthavornkamolen_US
dc.contributor.authorChatkanok Dumavibhaten_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีฯen_US
dc.date.accessioned2019-11-29T03:49:00Z
dc.date.available2019-11-29T03:49:00Z
dc.date.created2562-11-29
dc.date.issued2562
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของปัจจัยอาการเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ภาวะซึมเศร้า และโรคร่วม ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง จำนวน 102 ราย มีความรุนแรงของโรคตามเกณฑ์ของสมาคมโรคหัวใจแห่งนิวยอร์กระดับ 1-3 ที่มารับการรักษาที่หน่วยตรวจโรคอายุรศาสตร์ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการเจ็บป่วย แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับพิตต์สเบิร์ก แบบประเมินอาการเหนื่อยล้าของไปเปอร์ แบบวัดการหายใจลำบากประมาณค่าเชิงเส้น แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินโรคร่วมของชาร์ลสัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 65.62 ปี (SD = 10.31) โดยร้อยละ 60.8 เป็นเพศชาย กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคุณภาพการนอนหลับโดยรวมไม่ดี คือ 6.70 คะแนน (SD = 3.99) โดยอาการเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ภาวะซึมเศร้า และโรคร่วม สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้ร้อยละ 31.4 (R2 = .314, F = 11.125, p < .001) อาการเหนื่อยล้า และภาวะซึมเศร้าเป็นตัวแปรที่สามารถทำนายคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = .393, .283 ตามลำดับ, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: อาการเหนื่อยล้า และภาวะซึมเศร้า มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง และเป็นปัจจัยที่สามารถจัดการได้ พยาบาลและทีมสุขภาพควรมีการประเมินอาการเหนื่อยล้าและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง และวางแผนการพยาบาลในการป้องกันและจัดการอาการดังกล่าว เพื่อส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังen_US
dc.description.abstractPurpose: To explore the predictive ability of fatigue, dyspnea, depression and comorbidities over sleep quality in patients with chronic heart failure. Design: Predictive correlational research design. Methods: The sample was composed of 102 patients with chronic heart failure in New York Heart Association (NYHA) Class 1-3, followed-up at the medical outpatient department of a tertiary hospital in Bangkok, Thailand from March to April 2018. Data were collected using record forms of the patients’ personal information and medical history, the Pittsburg Quality of Sleep Index (PSQI), the Piper Fatigue Scale-12 (PFS-12), the Dyspnea Visual Analogue Scale (DVAS), the Center for Epidemiological Studies-Depression Scale (CES-D), and the Charlson Comorbidity Index (CCI). Data were analyzed by descriptive statistics and multiple regression statistics. Main findings: The sample had a mean age of 65.62 years (SD = 10.31) of which 60.8 percent were males. Overall, the average score of sleep quality of the sample was 6.70 (SD = 3.99) indicating a poor sleep quality. Fatigue, dyspnea, depression, and co-morbidities were able to jointly explain 31.4 percent of the variances in sleep quality in patients with chronic heart failure (R2 = .314, F = 11.125, p < .001). Fatigue and depression were the variables found to be capable in predicting the sleep quality of patients with chronic heart failure with statistical significance (b = .393, .283 respectively, p < .05). Conclusion and recommendations: Fatigue and depression could affect the sleep quality. Nurses and healthcare teams should assess patients with chronic heart failure in order to prevent and manage of the aforementioned symptoms for promoting sleep quality in patients with chronic heart failure.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 37, ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2562), 43-59en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48247
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโรคร่วมen_US
dc.subjectภาวะซึมเศร้าen_US
dc.subjectอาการหายใจลำบากen_US
dc.subjectอาการเหนื่อยล้าen_US
dc.subjectความผิดปกติของการนอนหลับen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.subjectcomorbidityen_US
dc.subjectdepressionen_US
dc.subjectsleep disorderen_US
dc.subjectfatigueen_US
dc.subjectdyspneaen_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Sleep Quality in Patients with Chronic Heart Failureen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/192585/134319

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-doungrut-2562.pdf
Size:
934.44 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections