Publication: การใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ 1414 ของคนพิการทางการเห็น
Issued Date
2560
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 13, (ม.ค. - ธ.ค. 2560), 18 - 28
Suggested Citation
จักฤษณ์ ธนัญชยากร, เบญจพร ศักดิ์ศิริ, อิศวรา ศิริรุ่งเรือง, Jakkrit Thanchayakorn, Benjaporn Saksir, Issavara Sirirungruang การใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ 1414 ของคนพิการทางการเห็น. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 13, (ม.ค. - ธ.ค. 2560), 18 - 28. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/54059
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ 1414 ของคนพิการทางการเห็น
Alternative Title(s)
The survey of telephony 1414 of persons with visual impairment.
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์ อัตโนมัติ (TAB Telephony 1414) ของคนพิการทางการเห็น 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการ ข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติของคนพิการทางการเห็น 3) เสนอแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ กลุ่มคนพิการทางการเห็นที่จดทะเบียนคนพิการของกรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 และอาศัย อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติและแนวทางการให้ บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการเป็นประจำ รู้จักการให้บริการจากคำแนะนำของเพื่อนมากที่สุด ปัญหาของ ผู้ที่ใช้บริการเป็นประจำมีปัญหาจากการใช้งานอยู่ในระดับน้อย ปัญหาของผู้ที่เคยใช้บริการข้อมูลข่าวสาร ในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติในบางครั้งและไม่ประสงค์ใช้บริการอีกต่อไป/ไม่ใช้บริการข้อมูลข่าวสาร ในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติพบปัญหาไม่เคยพบการประชาสัมพันธ์บริการทางเอกสารอักษรเบรลล์ มากที่สุด รองลงมาคือไม่เคยได้ยินการประชาสัมพันธ์บริการทางวิทยุ ผู้ใช้บริการเป็นประจำที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันจะมีปัญหาการใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ผู้ใช้บริการ เป็นประจำที่ไม่ได้รับการศึกษาและจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาจะมีปัญหาจากการใช้บริการน้อยกว่า ผู้ใช้บริการเป็นประจำที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และแนวทางการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบ เดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้งเมื่อมีการแก้ไขปัญหาแล้ว และจะกลับมาใช้บริการอีกครั้งเมื่อได้รับข้อมูลรายละเอียดการใช้บริการ
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สภาพการบังคับใช้กฎหมายหรือนโยบายด้านอาชีพ และการจ้างงานของคนพิการ อยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบระดับความรู้ฯ และระดับคะแนนสภาพ ความเป็นจริงและประสบการณ์เกี่ยวกับอาชีพของคนพิการในปัจจุบัน ทั้งโดยรวมและรายด้านตามปัจจัยส่วน บุคคล มีความแตกต่างกันในแต่ละประเด็นของแต่ละกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านเจตคติ ความเชื่อต่อคนพิการ พบว่าคนทั่วไปมีทัศนคติที่ดีต่อคนพิการมองว่าคนพิการมีศักยภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อเพื่อนร่วมงานและบุคคลทั่วไป
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า 1) องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการควรให้ความรู้/ ข้อมูลแก่คนพิการและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการตามกฎหมายอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองตามกฎหมายในการประกอบอาชีพและการจ้างงาน คนพิการ 2) ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพให้ทันสมัย เพื่อพัฒนาแรงงานคนพิการให้เป็นแรงงานมีฝีมือเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน 3) ควรได้มีการวิจัยเชิง สังเคราะห์บทเรียนและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อร่างสาระสำคัญ ประเด็นทางอาชีพและการจ้างงาน สภาพความเป็นจริง เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการไทย
The purposes of this study were: 1) to survey the use of DAISY (Digital Accessible Information System) via automatic telephone system (TAB Telephony 1414) of persons with visual impairment; 2) to study the problems persons with visual impairment face when using the TAB Telephony 1414; and 3) to make recommendations for the improvement of TAB Telephony 1414. The participants were persons with visual impairment who registered with the Department of Empowerment of Persons with Disabilities since the 1st November 1994 until the 31st July 2014. All of the participants live in Bangkok. A questionnaire was used to collect the behavior of persons with visual impairment in using the TAB Telephony 1414 service and guidelines in providing the service. The results of this study revealed that most participants were frequent users who knew the service from friends recommendation and they had few problems in using the service. For those who had used the service and did not use it anymore as well as those who never used the service, it was found that they mostly never saw the announcement about the service in braille and radio advertisement. The differences in education levels of the frequent users in relation to the level of problems faced when using the service were found to be statistically significant at .05; users with not education and those with primary education were found to have few usage problems than those with secondary education. It was found that if the problems were solved and adequate information about the service is provided, users who previously used the service and currently do not use it anymore as well as those who never use the service would come back to use the service.
The purposes of this study were: 1) to survey the use of DAISY (Digital Accessible Information System) via automatic telephone system (TAB Telephony 1414) of persons with visual impairment; 2) to study the problems persons with visual impairment face when using the TAB Telephony 1414; and 3) to make recommendations for the improvement of TAB Telephony 1414. The participants were persons with visual impairment who registered with the Department of Empowerment of Persons with Disabilities since the 1st November 1994 until the 31st July 2014. All of the participants live in Bangkok. A questionnaire was used to collect the behavior of persons with visual impairment in using the TAB Telephony 1414 service and guidelines in providing the service. The results of this study revealed that most participants were frequent users who knew the service from friends recommendation and they had few problems in using the service. For those who had used the service and did not use it anymore as well as those who never used the service, it was found that they mostly never saw the announcement about the service in braille and radio advertisement. The differences in education levels of the frequent users in relation to the level of problems faced when using the service were found to be statistically significant at .05; users with not education and those with primary education were found to have few usage problems than those with secondary education. It was found that if the problems were solved and adequate information about the service is provided, users who previously used the service and currently do not use it anymore as well as those who never use the service would come back to use the service.