RS-Article

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/176

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 64
  • PublicationOpen Access
    การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการทางการได้ยินระดับปริญญาตรี
    (2566) ศักดา โกมลสิงห์; สุจิตรา เขียวศรี; ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล; Sakda Komonsing; Suchittra Kheowsri; Teerasak Srisurakul
    การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการทางการได้ยินระดับปริญญาตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาพิการทางการได้ยินระดับปริญญาตรีกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาพิการทางการได้ยินจำนวน 118 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 17 แห่ง จากการคำนวณสัดส่วนจำนวนนักศึกษาพิการทางการได้ยินในกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย โดยส่งแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบ Google form พร้อมคลิปวีดิทัศน์คำอธิบายภาษามือไทย ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาพิการทางการได้ยิน 2) ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการทางการได้ยินให้ผู้ประสานงานในมหาวิทยาลัย ส่งต่อให้นักศึกษาพิการทางการได้ยินสแกนผ่าน QR Code และเก็บรวบรวมแบบสอบถามในปีการศึกษา 2564 ใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติอ้างอิงในการอธิบายข้อมูล สรุปผลการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกรายการที่มีความจำเป็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ ล่ามภาษามือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ทบทวนการสอน และคำบรรยายแทนเสียง ในขณะที่รายการที่มีความจำเป็นอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ผู้ช่วยจดคำบรรยาย เครื่องช่วยฟัง และอักษรวิ่ง ส่วนปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้งานเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก มีดังนี้ ด้านชั้นปีที่กำลังศึกษาส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ด้านสาขาวิชาที่เรียนส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ และล่ามภาษามือ ด้านระดับการได้ยินในปัจจุบันส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้เครื่องช่วยฟัง และล่ามภาษามือ ด้านวิธีการสื่อสารส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้เครื่องช่วยฟัง แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ทบทวนการสอน และล่ามภาษามือ ด้านโรงเรียนหรือสถาบันที่เคยศึกษามาก่อนส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้เครื่องช่วยฟัง โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และล่ามภาษามือ ในขณะที่ความแตกต่างด้านระยะเวลาที่เกิดความพิการและการผ่าตัดประสาทหูเทียม ไม่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้งานเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
  • PublicationOpen Access
    การวิจัยและพัฒนาบทเรียนออนไลน์สาระภูมิศาสตร์ผ่านระบบจัดการ การเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
    (2565) ปรเมศวร์ บุญยืน; พฤหัส ศุภจรรยา; ภัทรานิษฐ สงประชา; นันทพร จางวรางกูล; ศักดา โกมลสิงห์; Poramate Boonyuen; Paruhut Suphajanya; Pattranit Songphacha; Nunthaporn Changwarangkul; Sakda Komonsing
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระภูมิศาสตร์ ผ่านระบบจัดการการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาสาระ 3 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามือไทย 3 คน ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ 30 คน ได้แก่ ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 15 คน และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 15 คน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินทดลองใช้บทเรียนออนไลน์ 37 คน วิธีดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพบทเรียนออนไลน์ 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน 3) การทดลองใช้บทเรียนออนไลน์ เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนก่อน-หลังเรียน และการสอบถามความคิดเห็นนักเรียน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) บทเรียนออนไลน์ ประกอบด้วย เอกสารนำเสนอเนื้อหา วีดิทัศน์ภาษามือพร้อมคำบรรยายแทนเสียง แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน แบบฝึกปฏิบัติ อภิธานศัพท์ และคู่มือการใช้งาน 2) ผลการประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา และด้านภาษามือ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านเนื้อหาสาระ อยู่ในระดับปานกลาง 3) ผลการประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์โดยนักเรียน พบว่า ผลคะแนนทดสอบหลังเรียนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01
  • PublicationOpen Access
    การใช้วีดิทัศน์ต้นแบบเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในเด็กที่มีภาวะออทิซึม: ปริทัศน์วรรณกรรม
    (2565) ชัชวาลย์ อินต๊ะวัน; นัทธี เชียงชะนา; ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล; Chatchawan Intawan; Natee Chiengchana; Teerasak Srisurakul
    ภาวะออทิซึมเป็นภาวะที่มีความผิดปกติในประสาทพัฒนาการ ส่งผลกระทบให้เกิดข้อจำกัดในการสื่อสารทางสังคม พฤติกรรม และการเรียนรู้ ในปัจจุบันมีแนวทางการช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะออทิซึมหลากหลายรูปแบบ และหนึ่งในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพคือการใช้วิดิทัศน์ต้นแบบ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปริทัศน์วรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้วีดิทัศน์ต้นแบบเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในเด็กที่มีภาวะออทิซึม โดยสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลออนไลน์ ช่วงปี ค.ศ.2010-2020 ได้จำนวนงานวิจัยที่ศึกษาทั้งหมด 12 เรื่อง ซึ่งนำงานวิจัยดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์เนื้อหาจำแนกตามประเด็นหลัก ผลการวิจัย พบว่าเด็กที่มีภาวะออทิซึมที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 36 คน และ เพศหญิงจำนวน 6 คน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้มากที่สุดคือการวิจัยกรณีศึกษากรณีเดี่ยว (Single case design) ในรูปแบบหลายเส้นฐาน งานวิจัยดังกล่าว มุ่งพัฒนาทักษะทางสังคม ทักษะการสื่อสาร ทักษะการเล่น และทักษะการช่วยเหลือตนเอง โดยมีการใช้วีดิทัศน์ต้นแบบ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) วีดิทัศน์ต้นแบบพื้นฐาน (Basic video modeling) 2) วีดิทัศน์ตนเองเป็นต้นแบบ (Video self-modeling) 3) วิดีทัศน์ต้นแบบเฉพาะส่วน (Point-of-view video modeling) และ 4) วีดิทัศน์ตามขั้นตอน (Video prompting) งานวิจัยส่วนใหญ่ใช้แบบสังเกตเป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินผล และใช้สถิติเชิงบรรยายในการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับสถานที่ในการเก็บข้อมูลระยะเส้นฐาน (Baseline) เป็นการเก็บข้อมูลในห้องเรียน ส่วนในระยะทดลอง (Intervention) เป็นจัดการเรียนรู้ในห้องส่วนตัว และมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในบริบทอื่นๆ ได้แก่ โรงอาหาร ห้องเรียนศิลปะ และห้องดนตรี
  • PublicationOpen Access
    การมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุไทยที่มีความพิการ ทางการเห็นหรือการได้ยิน
    (2566) นรา ขำคม; ปารณีย์ วิสุทธิพันธุ์; Nara Khamkhom; Paranee Visuttipun
    การมีส่วนร่วมทางสังคมเป็นดัชนีชี้วัดการสูงวัยอย่างประสบผลสำเร็จ อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการเห็นหรือการได้ยินมักจะแยกตัวออกจากสังคม เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุเหล่านี้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและกดดัน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและกายในท้ายที่สุด มีนักวิชาการจำนวนหนึ่งได้ทำการศึกษาถึงองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุไทยที่มีความพิการทางการเห็นหรือการได้ยินยังมีอยู่อย่างจำกัด ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญในการนำมาปรับใช้เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการเห็นหรือการได้ยิน การศึกษานี้จึงได้จัดทำขึ้นบนความพยายามที่จะเติมช่องว่างความรู้ในประเด็นดังกล่าว ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากโครงการสำรวจประชากรสูงอายุไทย พ.ศ. 2557 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 38,671 คน แบบจำลองโลจิตที่ตัวแปรตามมีสองกลุ่มได้ถูกนำมาใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมทางสังคมและความพิการทางการเห็นหรือการได้ยิน ผลจากการศึกษาพบว่าความพิการทางการเห็นไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินมีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน (OR = 0.885, 95%, CI = 0.803-0.975) และกิจกรรมในหมู่บ้าน (OR = 0.894, 95%, CI = 0.805-0.992) น้อยกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีความพิการทางการได้ยิน เช่นเดียวกัน ผู้สูงอายุที่มีความพิการทั้งการเห็นและการได้ยินมีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มทางสังคม (OR=0.738,95%, CI=0.670-0.831) และกิจกรรมในชุมชน (OR=0.694, 95%, CI = 0.627-0.767) น้อยกว่าผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ๆ ภาวะถดถอยทางร่างกายและจิตใจเนื่องจากการสูงวัยประกอบกับการขาดการสนับสนุนจากบุตรธิดาอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้การมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ลดลง ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษานี้จะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการเห็นและการได้ยินให้ดีขึ้น
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    กลวิธีการสอนดนตรีในชั้นเรียนรวมระดับประถมศึกษา: มุมมองจากประสบการณ์ของครูสอนดนตรี
    (2564) อัมทิภา ศิลปพิบูลย์; นัทธี เชียงชะนา; นิอร เตรัตนชัย; Amtipa Sinlapaphiboon; Natee Chiengchana; Ni-on Tayrattanachai; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป
    การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษากลวิธีการสอนดนตรีในชั้นเรียนรวม ระดับประถมศึกษา โดย ศึกษาผ่านมุมมองจากประสบการณ์ของครูสอนดนตรี จำนวนทั้งหมด 6 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบ กึ่งโครงสร้าง การสังเกตการเรียนการสอนแบบไม่มีส่วนร่วมในชั้นเรียน และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลวิธี การสอนดนตรีในชั้นเรียนรวมระดับประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการอุปนัย พร้อมทั้งนำเสนอผลการวิจัย ในรูปแบบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า ครูสอนดนตรีนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับกลวิธีการสอนดนตรีในชั้นเรียนรวม ระดับ ประถมศึกษาไว้ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ในความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล และการขอคำปรึกษาจากครูการศึกษาพิเศษเพื่อร่วมกันการวางแผนการสอน 2) การออกแบบการสอนที่สอดคล้องกับ ศักยภาพของนักเรียน 3) การนำเทคนิคที่สำคัญมาใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ การใช้คำสั่งที่ ชัดเจนและเข้าใจง่าย การกระตุ้นการตอบสนองของนักเรียนตลอดเวลา การสนับสนุนให้เพื่อนช่วยเหลือเพื่อน และการเลือก กิจกรรมที่สนุกสนาน และ 4) การปรับเปลี่ยนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    แบบจำลองการปฏิรูปนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมด้านสุขภาพสำหรับคนพิการ
    (2564) ปารณีย์ วิสุทธิพันธุ์; ทวี เชื้อสุวรรณทวี; อาดัม นีละไพจิตร; Paranee Visuttipun; Tavee Cheausuwantavee; Adam Neelapaijit; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา. ภาควิชาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา
    การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษา แบบจำลองการปฏิรูปนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมด้านสุขภาพสำหรับคนพิการเพื่อศึกษาหาข้อสรุปเกี่ยวกับสภาพการบังคับใช้กฎหมายในอดีตและปัจจุบัน และแนวทางหรือวิธีการในการปฏิรูปนโยบายและกฎหมายในอนาคตเกี่ยวกับการส่งเสริมด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการในพื้นที่จังหวัดอีสานตอนล่าง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษา แบบจำลองการปฏิรูปนโยบายและกฎหมายทางด้านบริการสุขภาพสำหรับคนพิการที่เกี่ยวกับสภาพการบังคับใช้กฎหมาย พบว่า 1) ปัญหาเรื่องสิทธิการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ (การเดินทางไปรับบริการสุขภาพ) 2) การได้รับการบริการด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน (ความเลื่อมล้ำระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพ) 3) การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ฯ (การให้บริการคนพิการทางจิต สติปัญญาและการเรียนรู้ มีสถานบริการน้อยมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด) ดังนั้นแบบจำลองแนวทางการปฏิรูปนโยบายและกฎหมายด้านบริการสุขภาพพบว่า การเข้าถึงบริการสุขภาพสำหรับคนพิการในกลุ่มที่มีความรุนแรงรูปแบบการเยี่ยมบ้านโดยภาคีเครือข่ายทำให้คนพิการมีกำลังใจมากขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรมีปฏิรูปกฎหมายเพื่อพัฒนาและปรับปรุงสิทธิประโยชน์กองทุนหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุน ให้มีความเท่าเทียมกัน ควรมีการจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับคนพิการเพื่อให้มีแบบแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน ควรมีการพัฒนารูปแบบระบบการให้บริการด้านสุขภาพสำหรับคนพิการดูแลคนพิการกลุ่มพิเศษ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การศึกษารูปแบบสนามฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการทางการเห็น
    (2564) สุวัฒน์ชัย จันทร์เฮง; Suwatchai Chanheng; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา
    งานวิจัยเรื่อง "การศึกษารูปแบบสนามฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการทางการเห็น" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดด้านองค์ประกอบของสนามฝึกอบรมทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการทางการเห็นที่เหมาะสม ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบสามเส้า พบว่า ขนาดของสนามที่ใช้ฝึกทักษะการเดินทางสำหรับคนพิการทางการเห็นทั้งสามกลุ่มมีความเห็นตรงกัน ไม่สามารถกำหนดขนาดพื้นที่ของสนามฝึกทักษะการเดินทางสำหรับคนพิการทางการเห็นที่เป็นมาตรฐานได้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ (ถ้ามีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอลมาตรฐานก็จะทำเส้นทางการฝึกได้มาก) การสอนการเดินทางให้กับคนพิการทางการเห็น ควรมีพื้นที่สภาพแวดล้อมในเมืองหรือชนบทองค์ประกอบที่สำคัญที่มีในสนามฝึกอบรมคนพิการทางการเห็นควรมีองค์ประกอบ ถนน ตรอก ซอย ทางแยก ทางข้าม สะพาน ฟุตบาทตามมาตราฐาน หญ้า พุ่มไม้ ต้นไม้ พื้นทางเดินแบบต่างๆ (คอนกรีต/ยางมะตอย/ลูกรัง/ดิน/น้ำ) ช่องทางเดินจัดให้เป็นไปตามสภาพจริง แต่ควรออกแบบให้มีพื้นผิวต่างสัมผัสตามสภาพจริง เช่น พื้นที่ราบเรียบ ขรุขระ แอ่งน้ำ เป็นเนินสูงๆต่ำๆ เป็นช่วงระยะทางสั้นบ้างยาวบ้างจะได้สร้างความคุ้นชิน ทางเดินคนเดียวขนาดไม่ต่ำกว่า 1ช่วงไหล่ (ประมาณ 80 เซนติเมตร) เพื่อที่จะใช้เทคนิคไม้เท้าในการสัมผัสพื้นผิวช่องทางเดิน และใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้สิ่งต่างๆ สนามฝึกทักษะควรมี จุดสังเกต 2 แบบ คือ แบบถาวร และแบบชั่วคราว สนามฝึกควรมีสภาพแวดล้อมทั้งแบบในเมือง และแบบชนบท ส่วนด้านช่วงอายุที่เหมาะสมพบว่า คนพิการทางการเห็นมีด้วยกันสองกลุ่ม คนพิการทางการเห็นกลุ่มคนพิการทางการเห็นที่มีมาแต่กำเนิด และกลุ่มคนพิการทางการเห็นที่พิการภายหลัง เวลาการฝึกรอบละไม่ควรเกิน 3 ชั่วโมง (รวมเวลาพักแล้ว) และถ้าคนพิการทางการเห็นอยู่ในวัยเด็กต้องผ่านการเตรียมความพร้อมพื้นฐานในการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว (การใช้สัมผัสทั้ง 5) มาก่อนการสอนการเดินทางส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุประมาณ 10ปีขึ้นไป เวลาการฝึกควรฝึกทักษะรอบละไม่ควรเกิน1ชั่วโมง (รวมเวลาพักแล้ว)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาคเอกชน
    (2563) เจนจิรา เจนจิตรวาณิช; นนทิรัตน์ พัฒนภักดี; Janejira Janejitvanich; Nontirat Pattanapakdee; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์
    บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง "ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาคเอกชน" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้พิการด้านการเคลื่อนไหว การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ปฏิบัติงานในองค์การภาคเอกชน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และกำหนดแนวคำถาม (Guideline) ไว้ล่วงหน้า ส่วนผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ คนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาคเอกชนในเขตภาคกลาง จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเพิ่มจำนวนแบบลูกโซ่ (Snowball Technique) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยหลักที่สำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวมีทั้งหมด 5 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ประกอบด้วยปัจจัยย่อย คือ มีความเข้าใจคนพิการและข้อจำกัดของความพิการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองมีความสามารถ สนใจ และรัก การได้รับโอกาสในการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน การได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่น ความก้าวหน้าในอาชีพ มีความยืดหยุ่นในการทำงานไม่กดดัน มีการพัฒนาคนพิการ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การ บรรยากาศในที่ทำงาน และฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้พิการ ประกอบด้วยปัจจัยย่อยคือ เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา การสนับสนุนจากครอบครัว และเจ้าของกิจการ 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทนและสวัสดิการ ประกอบด้วยปัจจัยย่อยคือ ค่าตอบแทน สวัสดิการด้านที่พักอาศัย สวัสดิการประกันสุขภาพ ประกันชีวิต และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสวัสดิการอื่นๆ 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ประกอบด้วยปัจจัยย่อยคือ ทัศนคติทางบวกของคนพิการ การปรับตัวของคนพิการ คนพิการพัฒนาตนเองเสมอ มีความเข้มแข็งและไม่ยอมแพ้ การดำเนินชีวิตอิสระ 5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ประกอบด้วยปัจจัยย่อยคือ ความสะดวกในการเดินทางไปทำงาน ประกันสังคม ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน และนโยบายภาครัฐ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษา
    (2563) ภัทรานิษฐ สงประชา; ภัทรพล มหาขันธ์; ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล; Pattranit Songpracha; Pattarapon Maharka; Teerasak Srisurakul; มหาวิทยาลัยศิลปากร. ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต. สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา. ภาควิชาหูหนวกศึกษา
    งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษา 6 ด้าน คือ1) ด้านอาคารสถานที่ 2) ด้านหลักสูตร 3) ด้านการเรียนการสอน 4) ด้านการให้บริการผู้เรียน 5) ด้านการจัดกิจกรรมผู้เรียน และ 6) ด้านสังคมกลุ่มเพื่อน และเปรียบเทียบการจัดสภาพแวดล้อม ตามระดับการรับรู้ของครูและนักเรียน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ที่ได้บูรณาการวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยคุณภาพเข้าด้วยกัน โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากครูและนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 381 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (x ?) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพแวดล้อมด้านกิจกรรมผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยของระดับการรับรู้มากที่สุด ส่วนด้านสังคมและกลุ่มเพื่อน มีค่าเฉลี่ยของระดับการรับรู้น้อยที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้ง 6 ด้าน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สภาพแวดล้อมด้านสังคมกลุ่มเพื่อน มีระดับการรับรู้ของครูและนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Support Services for Students with Disabilities in Thai Universities: Satisfaction and Needs of Students and Service Providers
    (2020) Piyarat Nuchpongsai; Teerasak Srisurakul; Silvia M. Correa-Torres; ปิยะรัตน์ นุชผ่องใส; ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล; ซิลเวีย เอ็ม. คอเรีย-เทอเรส; Mahidol University. Ratchasuda College; University of Northern Colorado. School of Special Education
    This study examined administration within Disability Support Service (DSS) offices in Thailand. Service provision in DSS offices and satisfaction and needs of service providers and students with disabilities were also explored. A survey that included structured interview questions was administered to 31 administrators of DSS offices. In addition, a needs and satisfaction questionnaire was used with 73 service providers and 204 students with disabilities who were part of the convenience sample for this study. Results indicated that most DSS offices in Thai universities are under the supervision of the Department of Student Affairs and that there is an average of three service providers per office. It was also found that DSS offices primarily provide Braille translation (67.74%) and equipment and assistive technology or software rental services (54.84%) for students. The service that seemed to be provided the least was counseling (19.35%). About 56.58% of service providers were satisfied with their work while 15.1% and 13.9% expressed dissatisfaction with university support and allocation of budgets respectively. Most service providers (84.8%) and students (77.4%) reported satisfaction with scholarships. Both service providers and students agreed that support for studying abroad is the greatest service need. Findings indicated that Thai DSS offices serve as one-stop centers and deliver services based on a reactive approach. In order to improve the disability support services, it is the responsibilities of university, faculty, DSS office, and student with disabilities and changing policy related to administration and crucial services that affect students’ successful are proposed.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อทักษะการสื่อสารแบบแสดงออกในเด็กออทิสซึม
    (2561) ชวัลส์ภัสร์ กวินนิธิพร; นัทธี เชียงชะนา; นิอร เตรัตนชัย; Chwanphatz Kawinnithiporn; Natee Chiengchana; Ni-on Tayrattanachai; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา
    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อทักษะการสื่อสารแบบแสดงออก ในเด็กออทิสซึมอายุ 12 ปี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยกรณีศึกษากรณีเดี่ยว (A-B-A-B single-case design) ร่วมกับ การวิจัยกรณีศึกษากรณีเดี่ยวในเชิงคุณภาพ (Qualitative case study design) แผนการทดลองแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การสังเกตในระยะ Baseline (A) และการให้กิจกรรมดนตรีบำบัด (B) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการตอบสนองในการสื่อสารแบบแสดงออก IMTAP และแบบสังเกตพฤติกรรมการสื่อสาร แบบแสดงออก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอเป็นกราฟเส้นแสดงพัฒนาการของพฤติกรรมและการบรรยาย ในเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการสื่อสารแบบแสดงออกของผู้เข้าร่วมการทดลองค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อได้รับกิจกรรมดนตรีบำบัดทั้งสองครั้งรวมถึงพฤติกรรมเปล่งเสียงในลักษณะที่ผิดเพี้ยนลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ในทางตรงกันข้ามของระยะ Baseline พบว่า พฤติกรรมการสื่อสารแบบแสดงออกของผู้เข้าร่วมการทดลองไม่มี ความสม่ำเสมอของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอีกทั้งพฤติกรรมเปล่งเสียงในลักษณะที่ผิดเพี้ยนไม่มีความสม่ำเสมอ ของพฤติกรรมเช่นเดียวกัน ซึ่งสรุปได้ว่ากิจกรรมดนตรีบำบัดมีผลต่อการส่งเสริมทักษะการสื่อสารแบบแสดงออก และยังลดพฤติกรรมการเปล่งเสียงในลักษณะที่ผิดเพี้ยนของเด็กออทิสซึม
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Disability Law and Policy in Thailand: An Ideal and Reality in the Past Decade
    (2018) Tavee Cheausuwantavee; Kajonpun Suwansomrid; ทวี เชื้อสุวรรณทวี; ขจรพรรณ สุวรรณสำริด; Mahidol University. Ratchasuda College
    This documentary research aims to compare the real situations of quality of life (QoL) over the past decade (1999-2010) and the essences of laws and policies passed regarding persons with disabilities (PWDs) in Thailand for addressing how they have been complied with each other. The 435 research projects reflecting the real situations of QoL and 74 laws/policies regarding PWDs met criteria were purposely selected. Content analysis as typology and analytic induction was administered on those data. The research results reveal that although there are some real positive situations of QoL of PWDs and the majority of legal essences have been harmonious each other, uphold CRPD and promoted human dignity and equal rights of PWDs without discrimination. However, there are many real negative situations of QoL of PWDs especially poor health condition, low education, unemployment and no more social participation due to lack of accessible services, ineffective coordination, inadequate budgets, unskillful service providers as well as negative attitudes of society toward PWDs have been taken place within those law enforcement over the past decade. Furthermore, there are also legal discrepant essences of some laws that may need to be strongly concerned and reformed. These major findings were also shared to public and stakeholders including PWDs, families, services providers, policy makers, community leaders and members in order to encourage their understanding, critiques and consciousness raising and seek for solving these challenges through mutual participation of those stakeholders. In sum, the real situations of QoL of PWDs over the past decade and the essences of the laws/policies passed in Thailand have been not complied with each other or they imply ineffective law enforcement. These findings suggest what and how lawyers, policy makers and other stakeholders should be done in the next steps for effective laws and their enforcement.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อการฟื้นฟูการพูดในคนหูตึง วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
    (2562) วทัญญู จิตติเสถียรพร; นัทธี เชียงชะนา; อำไพ บูรณประพฤกษ; Vatanyoo Jittisationporn; Natee Chiengchana; Ampai burnaprapuk; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อการฟื้นฟูการพูดในคนหูตึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยใช้วิธีวิจัยเชิงทดลองแบบการวัดซ้ำ ร่วมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักศึกษาที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 9 คน โดยเข้าร่วมการทดลองกิจกรรม ดนตรีบำบัดแบบกลุ่ม จำนวนทั้งหมด 10 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละหนึ่งชั่วโมง มีกิจกรรมดนตรีบำบัดดังต่อไปนี้ การฝึกโสตประสาทการได้ยิน การวอร์มเสียง และการร้องเพลง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวัดผล ประกอบไปด้วย คู่มือทดสอบการพูดของคนหูตึง แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated-Measures ANOVA) สำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์ ข้อมูลแบบอุปนัยสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ดนตรีบำบัดสามารถฟื้นฟูการพูดในคน หูตึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้ ถึงแม้ว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการพูดในภาพรวมทั้งหมดจะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ที่ระดับ .05 ก็ตาม ซึ่งหากสังเกตค่าเฉลี่ยคะแนนของทุกตัวชี้วัดในการทดสอบก่อน ระหว่าง และหลัง การให้ดนตรีบำบัด จะพบว่ามีตัวชี้วัด 8 ตัว จากทั้งหมด 9 ตัวชี้วัด ที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นจากการทดสอบแต่ละครั้ง อีกทั้ง ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการให้กิจกรรมดนตรีบำบัดในทุกตัวชี้วัดมีค่าสูงกว่าก่อนการให้กิจกรรมดนตรีบำบัด ซึ่งเพิ่มขึ้นชัดเจนในตัวชี้วัดการเปล่งเสียงได้ชัดเจน และการเปล่งเสียงดัง-เบา ที่ต่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ที่ระดับ .05
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    รูปแบบการเขียนคำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เหมาะสมต่อการแปลเป็นภาษามือไทย
    (2561) พฤหัส ศุภจรรยา; ราษฎร์ บุญญา; กานต์ อรรถยุกติ; ศศิธร ทรัพย์วัฒนไพศาล; สร้อยทอง หยกสุริยันต์; พรพรรณ์ สมบูรณ์; Paruhut Suphajanya; Ras Boonya; Kan Arthayukti; Sasithorn Supwattanapaisan; Soithong Yoksuriyan; Pornpun Somboon; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา. ล่ามภาษามือไทย
    การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแปลคำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยีสิ่ง อำนวยความสะดวกจากภาษาเขียนเป็นภาษามือไทย และเพื่อพัฒนารูปแบบการเขียนคำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมต่อการแปลเป็นภาษามือไทย วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการสังเกตและวิเคราะห์คำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เป็นภาษาเขียนกับการแปลคำอธิบายศัพท์ดังกล่าวเป็นภาษามือไทยจำนวน 103 คำ ด้วยการปรับสมมติฐานและ รูปแบบของภาษาเขียนจนได้รูปแบบการเขียนคำอธิบายศัพท์ที่เหมาะสมต่อการแปลเป็นภาษามือไทย ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแปลคำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกจากภาษา เขียนเป็นภาษามือไทยคือ 1) คำอธิบายศัพท์ที่เป็นภาษาเขียนมีรูปแบบไม่ชัดเจน 2) คำอธิบายศัพท์ที่เป็นภาษาเขียน มีเนื้อหาไม่ชัด เจน 3) คำอธิบายศัพท์ที่เป็นภาษาเขียนส่งผลให้การแปลเป็นภาษามือไทยไม่เป็นธรรมชาติ เพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าว ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการเขียนคำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมต่อการแปล เป็นภาษามือไทย 5 รูปแบบคือ รูปแบบพื้นฐาน (RS) รูปแบบซ้ำ 1 (RS1) รูปแบบซ้ำ 2 (RS2) รูปแบบซ้ำ 4 (RS4) และ รูปแบบผสม (RS Mix) ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนคำอธิบายศัพท์ในรายวิชา อื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ดนตรีบำบัดเพื่อพัฒนาทักษะสังคมในเด็กที่ถูกทอดทิ้ง : การวิจัยกรณีศึกษากรณีเดี่ยว
    (2562) ศศิพิมพ์ เศรษฐเสถียร; นัทธี เชียงชะนา; นิอร เตรัตนชัย; Sasipim Setsathien; Natee Chiengchana; Ni-on Tayrattanachai; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา
    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในการดูแลแบบประคับประคอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยกึ่งทดลอง และการวิจัย กรณีศึกษา (Experimental case study) ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วย 3 ท่าน ได้แก่ ผู้ป่วย ผู้ดูแล และพยาบาล ขั้นตอนในการวิจัยประกอบไปด้วย ขั้นตอนประเมินเบื้องต้น ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและประเมินผู้ป่วย ก่อนการเข้ารับดนตรีบำบัด ขั้นตอนต่อไปคือการให้ดนตรีบำบัด รวมทั้งหมด 5 ครั้ง ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ การให้ดนตรีบำบัดในครั้งนี้มีผู้ดูแลร่วมทำกิจกรรมดนตรีบำบัดกับผู้ป่วย กิจกรรมดนตรีบำบัดประกอบไปด้วย การใช้ดนตรีสด การร้องเพลงและเล่นเครื่องดนตรี การเลือกเพลง การวิเคราะห์เนื้อเพลง และการรำลึกความหลัง ผ่านบทเพลง นอกจากนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ดูแลและพยาบาลสัปดาห์ละครั้งเพื่อศึกษา ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังจากการเข้ารับดนตรีบำบัดในแต่ละครั้ง การวิเคราะห์ ข้อมูลในงานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์กรณีศึกษาเชิงคุณภาพและการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอารมณ์ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านร่างกาย และความพึงพอใจโดยรวม จากการเห็นตรงกันในบทสัมภาษณ์ของทั้งผู้ดูแลและพยาบาล รวมไปถึง สังเกตการณ์ของผู้วิจัย นอกจากนี้ดนตรีบำบัดยังช่วยให้ผู้ดูแลเตรียมใจรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้และใช้เพลง เพื่อเป็นสิ่งระลึกถึงผู้ป่วยเมื่อยามจากไป ทั้งนี้ดนตรีบำบัดยังช่วยเสริมการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์อีกด้วย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่าดนตรีบำบัดนั้นช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งในการดูแลแบบประคับประคอง
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Music Therapy to Enhance Quality of Life in a Patient with Cancer in Palliative Care: A Case Study
    (2019) Thaya Sangaroon; Natee Chiengchana; Ampai Buranapapuk; ทยา แสงอรุณ; นัทธี เชียงชะนา; อำไพ บูรณประพฤกษ; Mahidol University. College of Music; Mahidol University. Ratchasuda College
    The purpose of this study was to investigate the use of music therapy to enhance quality of life in a patient with cancer in palliative care. The experimental case study was utilized in this study to collect data through a series of observation and interviews. In this study, there were three participants who were the patient, the caregiver, and the nurse. The initial assessment was provided before the first music therapy session phase. The music therapy sessions consisted of five sessions within three weeks with the patient and the caregiver. Music therapy interventions included live music, singing and playing instruments, song choice, lyric analysis, and reminiscence. The interviews were provided at the end of the week with the caregiver and the nurse separately which aimed to investigate the changes of patient’s quality of life after participating in music therapy services. The results of this were presented in the qualitative case analysis and inductive analysis. The results of this study determined that the patient’s quality of life was enhanced especially in emotion, environment, physical comfort, and all satisfaction domains. In addition, music therapy also helped the caregiver to accept the situation and use music to reminisce the patient. Meanwhile, the medical staff also benefited the use of music therapy in hospital
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การพัฒนาสื่อการสอนองค์ประกอบศิลป์ เรื่องรูปร่างและรูปทรง สำหรับนักศึกษาหูหนวก วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
    นัทที ศรีถม; รานี เสงี่ยม; อารี ภาวสุทธิไพศิฐ; จรรยา ชัยนาม; พนิตา โพธิ์เย็น; Nattee Srithom; Ranee Sa-ngiam; Aree Pravasuttipisi; Janya Chainam; Panita Poeyen; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา. ภาควิชาหูหนวกศึกษา
    วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพในหัวข้อ องค์ประกอบศิลป์เรื่อง รูปร่างและรูปทรงสำหรับนักศึกษาหูหนวกวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อการสอนนี้เป็นโมเดลสามมิติที่ผู้เรียนเข้าถึงได้ด้วยการมองและการสัมผัส ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักศึกษาหูหนวกจากภาควิชาหูหนวกศึกษา วิทยาลัยราชสุดาที่ไม่เคยลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่เกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์มาก่อน มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างเครื่องมือวิจัย ขั้นตอนที่ 3 การการเก็บข้อมูลวิจัย และขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษาพบว่า การใช้สื่อการสอนแบบโมเดล 3 มิติ ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน มีประสิทธิภาพมากขึ้น สื่อนี้ช่วยให้นักศึกษาหูหนวกเข้าใจลักษณะของรูปทรง (รูปทรงเรขาคณิต รูปทรงธรรมชาติ และรูปทรงอิสระ) ที่ประกอบด้วย ความกว้าง ความยาว และความสูง โดยผู้วิจัยออกแบบให้สามารถนำรูปทรงนี้ ไปใส่ในแม่พิมพ์ได้ เมื่อสังเกตรูปทรงที่อยู่ในแม่พิมพ์ ผู้เรียนจะมองเห็นแค่ความกว้างและความยาวซึ่งเป็นลักษณะ ของรูปร่าง เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างนี้ จะสามารถเข้าใจหลักการขององค์ประกอบศิลป์ได้ในที่สุด คะแนนสอบก่อนและหลังเรียนแสดงให้เห็นว่า ภายหลังการใช้สื่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหูหนวก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนในระดับมาก ที่สุดในด้านความหลากหลายและความสอดคล้องกับเนื้อหาในบทเรียน
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    นักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ: นักวิชาชีพน้องใหม่กับความท้าทายในงานด้านคนพิการในประเทศไทย
    (2560) ธิดารัตน์ นงค์ทอง; มาลิน เนาว์นาน; Tidarat Nongthong; Malynn Naovanan; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา
    นักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ หรือ Rehabilitation Counselor ถือว่าเป็นนักวิชาชีพ น้องใหม่ในวงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในประเทศไทย ซึ่งบทบาทหน้าที่ของนักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการ ยังไม่เป็นที่รู้จักและเป็นที่เข้าใจในวงกว้าง ผู้นิพนธ์ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการ พัฒนาวิชาชีพนักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการให้มีความโดดเด่นในวงการงานฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการใน 2 ประเด็นหลักคือ 1) ควรมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของนักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคน พิการให้มีความชัดเจน และเผยแพร่ให้มีความเข้าใจอย่างกว้างขวางในวงวิชาการ โดยได้เสนอบทบาทหน้าที่ของ นักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในรูปแบบ "Rehabilitation Counseling 4-C Model" ได้แก่ C-Case Management, C-Counseling, C-Coaching & Placement และ C-Challenge & Reinforce 2) ควรมีการผลักดันให้มีการกำหนดตำแหน่งนักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ 1414 ของคนพิการทางการเห็น
    (2560) จักฤษณ์ ธนัญชยากร; เบญจพร ศักดิ์ศิริ; อิศวรา ศิริรุ่งเรือง; Jakkrit Thanchayakorn; Benjaporn Saksir; Issavara Sirirungruang; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์ อัตโนมัติ (TAB Telephony 1414) ของคนพิการทางการเห็น 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการ ข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติของคนพิการทางการเห็น 3) เสนอแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ กลุ่มคนพิการทางการเห็นที่จดทะเบียนคนพิการของกรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 และอาศัย อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติและแนวทางการให้ บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการเป็นประจำ รู้จักการให้บริการจากคำแนะนำของเพื่อนมากที่สุด ปัญหาของ ผู้ที่ใช้บริการเป็นประจำมีปัญหาจากการใช้งานอยู่ในระดับน้อย ปัญหาของผู้ที่เคยใช้บริการข้อมูลข่าวสาร ในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติในบางครั้งและไม่ประสงค์ใช้บริการอีกต่อไป/ไม่ใช้บริการข้อมูลข่าวสาร ในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติพบปัญหาไม่เคยพบการประชาสัมพันธ์บริการทางเอกสารอักษรเบรลล์ มากที่สุด รองลงมาคือไม่เคยได้ยินการประชาสัมพันธ์บริการทางวิทยุ ผู้ใช้บริการเป็นประจำที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันจะมีปัญหาการใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ผู้ใช้บริการ เป็นประจำที่ไม่ได้รับการศึกษาและจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาจะมีปัญหาจากการใช้บริการน้อยกว่า ผู้ใช้บริการเป็นประจำที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และแนวทางการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบ เดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้งเมื่อมีการแก้ไขปัญหาแล้ว และจะกลับมาใช้บริการอีกครั้งเมื่อได้รับข้อมูลรายละเอียดการใช้บริการ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สภาพการบังคับใช้กฎหมายหรือนโยบายด้านอาชีพ และการจ้างงานของคนพิการ อยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบระดับความรู้ฯ และระดับคะแนนสภาพ ความเป็นจริงและประสบการณ์เกี่ยวกับอาชีพของคนพิการในปัจจุบัน ทั้งโดยรวมและรายด้านตามปัจจัยส่วน บุคคล มีความแตกต่างกันในแต่ละประเด็นของแต่ละกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านเจตคติ ความเชื่อต่อคนพิการ พบว่าคนทั่วไปมีทัศนคติที่ดีต่อคนพิการมองว่าคนพิการมีศักยภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อเพื่อนร่วมงานและบุคคลทั่วไป การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า 1) องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการควรให้ความรู้/ ข้อมูลแก่คนพิการและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการตามกฎหมายอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองตามกฎหมายในการประกอบอาชีพและการจ้างงาน คนพิการ 2) ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพให้ทันสมัย เพื่อพัฒนาแรงงานคนพิการให้เป็นแรงงานมีฝีมือเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน 3) ควรได้มีการวิจัยเชิง สังเคราะห์บทเรียนและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อร่างสาระสำคัญ ประเด็นทางอาชีพและการจ้างงาน สภาพความเป็นจริง เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการไทย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    สถานการณ์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายด้านการบริการสุขภาพสำหรับคนพิการของประเทศไทย
    (2560) สุขศิริ ประสมสุข; ทวี เชื้อสุวรรณทวี; ดลพร เผือกคง; Suksiri Prasomsuk; Tawee Cheausuwantavee; Dollaporn Phuakkhong; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา
    การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเรื่อง สถานการณ์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายด้านการบริการสุขภาพ สำหรับคนพิการของประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ความเข้าใจ และการใช้สิทธิทางกฎหมาย ด้านการบริการสุขภาพ 2) สภาพความจริงและประสบการณ์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในด้านบริการสุขภาพ ระหว่างข้อบัญญัติทางกฎหมายในอดีตและปัจจุบัน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของคนพิการ ผู้ปกครองคนพิการ บุคลากรทางด้านบริการสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องกับความรู้การใช้สิทธิทางกฎหมายและ สภาพความจริงประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายด้านบริการสุขภาพของคนพิการ วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัย ผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทำการสำรวจโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนพิการ ผู้ปกครองคนพิการ แพทย์ พยาบาล บุคลากรผู้ให้บริการทางสุขภาพได้รับ แบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 449 ราย และทำการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติอ้างอิงแจกแจงแบบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความรู้และการใช้สิทธิทางกฎหมายด้านการบริการสุขภาพของ กลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับปานกลาง (M=2.85, SD=0.87) 2) ระดับการให้คะแนนสภาพความจริงและ ประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิทางกฎหมายด้านการบริการสุขภาพของคนพิการอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.81, SD=0.74) 3) ระดับความรู้และการใช้สิทธิทางกฎหมายด้านการบริการสุขภาพโดยรวม จำแนก ตามประเภทผู้ให้ข้อมูล อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประเภทของความพิการ มีความรู้และการใช้ สิทธิทางกฎหมายด้านการบริการสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง และ 4) ระดับสภาพความจริงและประสบการณ์ เกี่ยวกับการบริการสุขภาพของคนพิการโดยรวม จำแนกตามประเภทผู้ให้ข้อมูล อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประเภทของความพิการมีระดับสภาพความจริงและประสบการณ์เกี่ยวกับการบริการสุขภาพ ของคนพิการอยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยครั้งนี้ควรมีการต่อยอดงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในบริบทของ สังคมไทยเพื่อตอบโจทย์จากงานวิจัยครั้งนี้ต่อไป