Publication: Intention to practice positive preventive behaviors of transmission and acquisition among teenagers with HIV in risk areas of Thailand
Issued Date
2014
Resource Type
Language
eng
ISSN
1905-1387
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Faculty of Public Health Mahidol University
Bibliographic Citation
Journal of Public Health and Development. Vol. 12, No.2 (May-Aug 2014), 17-33
Suggested Citation
Supapun Singhor, Kanittha Chamroonsawasdi, Phitaya Charupoonphol, Wirin Kittipichai, สุภาพรรณ สิงห์เหาะ, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, พิทยา จารุพูนผล, วิริณธิ์ กิตติพิชัย Intention to practice positive preventive behaviors of transmission and acquisition among teenagers with HIV in risk areas of Thailand. Journal of Public Health and Development. Vol. 12, No.2 (May-Aug 2014), 17-33. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62192
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Intention to practice positive preventive behaviors of transmission and acquisition among teenagers with HIV in risk areas of Thailand
Alternative Title(s)
ความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อในวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่เสี่ยงของประเทศไทย
Other Contributor(s)
Abstract
This study aims to explore the intention to practice positive preventive behaviors of HIV transmission and
acquisition, the factors that have an influence on and have an ability to predict the intention to practice positive
preventive behaviors of HIV transmission and acquisition among HIV positive teenagers in risk areas of Thailand.
The sample included 237 HIV positive teenagers aged 13-19 years, both male and female, who attended ARV clinics
in the hospital. They were purposively selected by the inclusion criteria and following with random sampling from
patient number list by queue in each day. Data were collected through a self-administered questionnaire from 1 May
to 31 August, 2013. Data analysis was performed by using descriptive statistics to present the percentage, mean,
and standard deviation. Chi-square test and Multiple Logistic Regression Analysis were used to identify factors
related to positive preventive behaviors.
Study results show that 19.0% of these teenagers had previous sexual experience. 91.1% of those who had
sexual experiences was at an inappropriate level. For those who never had sexual experience, 50.0% had need of
improvement levels of such intention. The factors that were significantly associated with the intention to practice
positive preventive behaviors of HIV transmission and acquisition (p-value < 0.05) were sex, HIV/AIDS knowledge,
condom knowledge, threat appraisal, coping appraisal, relationship with parents or care givers and peer influence.
The factors that significantly predicted the intention to practice positive preventive behaviors of HIV transmission
and acquisition among HIV positive teenagers (p-value < 0.05) were coping appraisal and peer influence.
Study results suggest that healthcare services, organizations and the multidisciplinary health teams, who
provide counseling and work with HIV positive children and adolescents, as well as their families, should develop
a plan together to organize activities on HIV/AIDS knowledge, condom knowledge, positive preventive of HIV
transmission and acquisition and to enhance coping appraisal of HIV transmission and acquisition by let teenagers
with HIV or family has participate or peer group.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อ ปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถคาดทำนายความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อในวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี ในพื้นที่เสี่ยงของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีอายุ 13 -19 ปี เพศชายและเพศหญิงที่รับยาต้านไวรัสในโรงพยาบาล 237 คน ใช้การสุ่มตามเกณฑ์คุณสมบัติร่วมกับการเรียงลำดับตามบัตรคิวในแต่ละวัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 1 พ.ค.– 31 ส.ค. 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นที่ติดเชื้อร้อยละ 19.0 มีประสบการณ์ทางเพศ ในกลุ่มที่มีประสบการณ์ทางเพศ ร้อยละ 91.1 มีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อที่ไม่เหมาะสม ส่วนกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ทางเพศ ร้อยละ 50.0 มีความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อในระดับที่ควรปรับปรุง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) กับความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อ ประกอบด้วย เพศ ความรู้เรื่องโรคเอดส์ ความรู้เรื่องถุงยางอนามัย การประเมินอันตรายต่อสุขภาพจากการรับและถ่ายทอดเชื้อ การประเมินการเผชิญปัญหาจากการป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อ สัมพันธภาพกับผู้ปกครองหรือผู้ดูแล และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ปัจจัยที่สามารถคาดทำนายความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ การประเมินการเผชิญปัญหาจากการป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อ และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ผลการศึกษาแนะนำให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆ สหวิชาชีพที่ให้คำปรึกษา ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อ และครอบครัว วางแผนร่วมกันในการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ การใช้ถุงยางอนามัย และการป้องกัน การรับและถ่ายทอดเชื้อ รวมทั้งส่งเสริมการประเมินการเผชิญปัญหาจากการป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อ โดยประยุกต์จัดกิจกรรมให้วัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีได้มีส่วนร่วม การใช้รูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน หรือให้ครอบครัว ได้เข้ามามีส่วนร่วม
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อ ปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถคาดทำนายความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อในวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี ในพื้นที่เสี่ยงของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีอายุ 13 -19 ปี เพศชายและเพศหญิงที่รับยาต้านไวรัสในโรงพยาบาล 237 คน ใช้การสุ่มตามเกณฑ์คุณสมบัติร่วมกับการเรียงลำดับตามบัตรคิวในแต่ละวัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 1 พ.ค.– 31 ส.ค. 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นที่ติดเชื้อร้อยละ 19.0 มีประสบการณ์ทางเพศ ในกลุ่มที่มีประสบการณ์ทางเพศ ร้อยละ 91.1 มีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อที่ไม่เหมาะสม ส่วนกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ทางเพศ ร้อยละ 50.0 มีความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อในระดับที่ควรปรับปรุง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) กับความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อ ประกอบด้วย เพศ ความรู้เรื่องโรคเอดส์ ความรู้เรื่องถุงยางอนามัย การประเมินอันตรายต่อสุขภาพจากการรับและถ่ายทอดเชื้อ การประเมินการเผชิญปัญหาจากการป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อ สัมพันธภาพกับผู้ปกครองหรือผู้ดูแล และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ปัจจัยที่สามารถคาดทำนายความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ การประเมินการเผชิญปัญหาจากการป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อ และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ผลการศึกษาแนะนำให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆ สหวิชาชีพที่ให้คำปรึกษา ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อ และครอบครัว วางแผนร่วมกันในการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ การใช้ถุงยางอนามัย และการป้องกัน การรับและถ่ายทอดเชื้อ รวมทั้งส่งเสริมการประเมินการเผชิญปัญหาจากการป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อ โดยประยุกต์จัดกิจกรรมให้วัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีได้มีส่วนร่วม การใช้รูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน หรือให้ครอบครัว ได้เข้ามามีส่วนร่วม