Publication: Factors Influencing Quality of Life among Street Vendors in Bangkok
Issued Date
2014
Resource Type
Language
eng
ISSN
1905-1387
Bibliographic Citation
Journal of Public Health and Development. Vol. 12, No.2 (May-Aug 2014), 69-83
Suggested Citation
Supattra Fofon, Pimsurang Theachaboonsermsak, Supachai Pitiguntang, Phitaya Charupoonphol, Wirin Kittipichai, สุภัทรา ฝอฝน, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, ศุภชัย ปิติกุลตัง, พิทยา จารุพูนผล, วิริณธิ์ กิตติพิชัย Factors Influencing Quality of Life among Street Vendors in Bangkok. Journal of Public Health and Development. Vol. 12, No.2 (May-Aug 2014), 69-83. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62193
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Factors Influencing Quality of Life among Street Vendors in Bangkok
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอยในกรุงเทพมหานคร
Other Contributor(s)
Abstract
The purpose of this study was to identify factors influencing quality of life among street vendors in
Bangkok. A total of 360 samples were used who were at aged 18 years old and over. Quality of life was
measure by a brief WHO Quality of Life indicator in Thai (WHOQOL-BREF-THAI). Samples were selected
by using multiple stage sampling. Data were analyzed by descriptive statistics, t-test, Pearson’s productmoment
correlation and stepwise multiple linear regression.
The study found that 78.9% were at a fair level of quality of life while 20.8% were at a good level.
The factors that predict quality of life among street vendors are age, health insurance, health promoting
behaviors, family relationships, relationships among fellow street vendors and the perception of policy on
promoting informal labor, these six variables predicted for 67.10% of quality of life among street vendors.
The findings from this study recommend that among street vendors, the administrators of Bangkok and
relevant agencies should increase knowledge about health insurance and annual health check as well as self
care. It should also promote relationships at both family and social level, publicize the policy on informal
labor and promote the integration of the Informal labor network.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอย ในกรุงเทพมหานคร และใช้เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการค้าแผงลอยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการค้าแผงลอยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 78.9 มีเพียงร้อยละ 20.8 ที่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอย ได้แก่ อายุ สิทธิในการรักษาพยาบาล พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพในกลุ่มเพื่อนผู้ประกอบการค้า และการรับรู้นโยบายส่งเสริมแรงงานนอกระบบ โดยตัวแปรทั้ง 6 ตัวนี้ สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอยได้ร้อยละ 67.10 ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งนี้ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิในการรักษาพยาบาลการตรวจสุขภาพประจำปีและการดูแลสุขภาพตนเอง การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ประกอบการค้าแผงลอย การสร้างเสริมสัมพันธภาพทั้งในระดับครอบครัวและสังคม และมีการประชาสัมพันธ์นโยบายส่งเสริมแรงงานนอกระบบให้ผู้ประกอบการค้าแผงลอยรับรู้และเข้าใจอย่างทั่วถึง รวมถึงการส่งเสริมการรวมกลุ่มเครือข่ายแรงงานนอกระบบ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอย ในกรุงเทพมหานคร และใช้เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการค้าแผงลอยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการค้าแผงลอยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 78.9 มีเพียงร้อยละ 20.8 ที่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอย ได้แก่ อายุ สิทธิในการรักษาพยาบาล พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพในกลุ่มเพื่อนผู้ประกอบการค้า และการรับรู้นโยบายส่งเสริมแรงงานนอกระบบ โดยตัวแปรทั้ง 6 ตัวนี้ สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอยได้ร้อยละ 67.10 ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งนี้ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิในการรักษาพยาบาลการตรวจสุขภาพประจำปีและการดูแลสุขภาพตนเอง การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ประกอบการค้าแผงลอย การสร้างเสริมสัมพันธภาพทั้งในระดับครอบครัวและสังคม และมีการประชาสัมพันธ์นโยบายส่งเสริมแรงงานนอกระบบให้ผู้ประกอบการค้าแผงลอยรับรู้และเข้าใจอย่างทั่วถึง รวมถึงการส่งเสริมการรวมกลุ่มเครือข่ายแรงงานนอกระบบ