Publication:
ผลของโปรแกรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้าตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ชาวไทยมุสลิม จังหวัดนราธิวาส

dc.contributor.authorสาริศา โตะหะen_US
dc.contributor.authorธราดล เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorมณฑา เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorศรัณญา เบญจกุลen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2022-07-14T05:07:01Z
dc.date.available2022-07-14T05:07:01Z
dc.date.created2565-07-14
dc.date.issued2563
dc.description.abstractการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบริโภคอาหารต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ชาวไทยมุสลิม ซึ่งไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาเยาะมาตี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส การวิจัยเป็นแบบสองกลุ่ม ๆ ละ 27 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมของโปรแกรมที่ออกแบบโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง รวม 4 ครั้ง ประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้ การใช้ตัวแบบที่มีชีวิต การตั้งเป้าหมาย การเจาะเลือดที่ปลายนิ้วมือ การบันทึกพฤติกรรมการรับประทานอาหาร 7 วัน การตั้งคำถาม และสร้างแรงจูงใจที่เป็นจุดหมายสำคัญ กลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตามระบบบริการปกติในวันที่มีคลินิกเบาหวาน เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน ประเมินผลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์ในสัปดาห์ที่ 9 และเจาะเลือดเพื่อวัดค่าระดับน้าตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า (FBS) ในสัปดาห์ที่ 12 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จ้านวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Independent t-test, Paired t-test และ Mann-Whitney U test ภายหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 9 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหาร ความคาดหวังในผลของการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และพฤติกรรมการบริโภคอาหารลดระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และในสัปดาห์ที่ 12 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้าตาลในเลือดลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p=0.003 ตามลำดับ) ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีบริบทคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถนำโปรแกรมนี้ ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุชาวไทยมุสลิมได้en_US
dc.description.abstractFood consumption behavior modification in diabetic patients can control blood glucose and prevent complications. This quasi-experimental research was to study the effects of the dietary program on blood sugar control among Thai Muslim elderly with type 2 diabetes mellitus who were unable to control blood glucose and were treated at diabetes clinic, Kayomati Health Promotion Hospital, Bacho District, Narathiwat Province. The research was conducted in two groups, each group of 27 patients. The experimental group participated in the four activities of the program applied self-efficacy theory, consisting of giving knowledge, modelling, targeting, fasting capillary blood glucose, recording dietary behavior for seven days, questioning and motivation about important destinations in their life. The comparison group received suggestions from Public Health personnel in accordance with the normal service system, the time duration for total in 3 months. Data were evaluated before and after using an interview form on the 9th week and measured fasting blood sugar (FBS) level on the 12th week. Data analysis was done with statistics using percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Independent t-test, Paired t-test and Mann-Whitney U test. After the experimentation on the 9th week, The mean scores about food consumption knowledge, self-efficacy, outcome expectation and behavior of the experimental group was found to be significantly higher than based line and the comparison group (p<0.001). At the 12th week, the experimental group had significantly lower blood glucose than before the experimentation and the comparison group (p<0.001, p=0.003 respectively). Therefore, other health-promoting hospitals with similar socio-cultural contexts, especially in the three southern border provinces are recommended to apply this program to elderly Thai Muslim.en_US
dc.identifier.citationวารสารสุขศึกษา. ปีที่ 43, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2563), 113-129en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72136
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการรับรู้ความสามารถตนเองen_US
dc.subjectการบริโภคอาหารen_US
dc.subjectผู้ป่วยโรคเบาหวานen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectชาวไทยมุสลิมen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้าตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ชาวไทยมุสลิม จังหวัดนราธิวาสen_US
dc.title.alternativeThe Effects of Dietary Program on Blood Sugar Control among Thai Muslim Elderly with Type 2 Diabetes Mellitus, Narathiwat Provinceen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/view/225375

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-tharadol-2563.pdf
Size:
683.65 KB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections