Publication:
ปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคปอดจากสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบอาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorพรรณิภา สืบสุขen_US
dc.contributor.authorPannipa Suebsuken_US
dc.contributor.authorอัจฉริยา พงษ์นุ่มกุลen_US
dc.contributor.authorAutchariya Pongnumkulen_US
dc.contributor.authorเพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนาen_US
dc.contributor.authorPenchun Sareewiwatthanaen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2018-04-01T13:22:37Z
dc.date.available2018-04-01T13:22:37Z
dc.date.created2561-04-01
dc.date.issued2556
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคปอดจากสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบอาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างรูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทํานาย วิธีการดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบอาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 369 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคปอดจากสิ่งแวดล้อม การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะของตนเอง และแบบบันทึกการตรวจสมรรถภาพปอดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถภาพปอดผิดปกติร้อยละ 14.3 ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคปอดจากสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 84 อายุ การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้สมรรถนะของตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคปอดจากสิ่งแวดล้อม (r = .141, p < .01; r = .260, p < .01; r = .511, p < .01 ตามลําดับ) การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสําคัญกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคปอดจากสิ่งแวดล้อม (r = - .371, p < . 01) ปัจจัยที่สามารถทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในการป้องกันโรคปอดจากสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้สมรรถนะของตนเอง (β = .091, p < .05; β = .146, p < .001; β = - .448, p < .001; β = .581, p < .001 ตามลําดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ บุคลากรทางสุขภาพควรจัดกิจกรรมเชิงรุกด้วยการจัดโปรแกรมให้ความรู้ และคําแนะนําเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคปอดจากสิ่งแวดล้อม และจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองแก่ผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เพื่อให้มีการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมและสม่ําเสมอในประชากรกลุ่มนี้en_US
dc.description.abstractPurpose: This study aimed to examine predicting factors of health promoting behaviors to preventive environmental lung diseases among motorcycle taxi drivers in the Bangkok MetropolitanArea.Design: A correlational predictive design.Methods: The samples included 369 motorcycle taxi drivers in Bangkok Metropolitan Area,Thailand. Data were collected using self-administered questionnaires, including demographicinformation, health promoting behaviors to preventive environmental lung diseases, perceived benefits,perceived self-efficacy, perceived barriers, and the pulmonary function record. Data were analyzed usingdescriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, and multiple regression analysis.Main findings: The samples demonstrated pulmonary function disorders 14.3 %. The majorityhad a moderate level of health promoting behaviors to preventive environmental lung diseases (84 %).Age, perceived benefits and perceived self-efficacy were significantly positively correlated with healthpromoting behaviors to preventive environmental lung diseases (r = .141, p < .01; r = .260, p < .01;r = .511, p < .01, respectively). Perceived barriers had a significantly negative relationship with healthpromoting behaviors to preventive environmental lung diseases (r = - .371, p < .01). Age, perceivedbenefits, perceived barriers and perceived self-efficacy were significant predictors of health promotingbehaviors to preventive environmental lung diseases (β = .091, p < .05; β = .146, p < .001; β = - .448,p < .001; β = .581, p < .001, respectively).Conclusion and recommendations: Health care providers should be proactive in conducting a program providing knowledge and advice regarding the health promoting behaviors to preventenvironmental lung diseases, as well as activities that help enhance self-efficacy among motorcycle taxidrivers. This program will benefit this group of population to have appropriate and consistent healthpromoting behaviorsen_US
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแผนงานพัฒนาเครือข่ายพยาบาลศาสตร์เพื่อ การสร้างเสริมสุขภาพ (พย.สสส.)en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 31, ฉบับที่ 1 ( ม.ค. -มี.ค. 2556), 48-58en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/10448
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectการป้องโรคปอดจากสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectมอเตอร์ไซค์รับจ้างen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.titleปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคปอดจากสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบอาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativePredicting Factors of Health Promoting Behaviors to Preventive Environmental Lung Diseases among Motorcycle Taxi Drivers in Bangkok Metropolitan Areaen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/10552

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-pannipa-2556-2.pdf
Size:
181.06 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections