Publication: การบริหารความเสี่ยงทางการเงินของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2558
Resource Type
Language
tha
ISSN
2350-983x
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
งานคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณบดี คณะสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2558), 221-240
Suggested Citation
ธัญญรัตน์ พุ่มผกา, วรรณวิมล สิทธิโชคสัมพันธ์ การบริหารความเสี่ยงทางการเงินของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2558), 221-240. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/43946
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การบริหารความเสี่ยงทางการเงินของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
Financial Risk Management in the Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเหตุการณ์
ความเสี่ยงทางการเงินของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2) เพื่อทราบระดับความเสี่ยงทางการเงินของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล และ 3) เพื่อหาแนวทางการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของ
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากร คือ ผู้บริหารที่
รับผิดชอบด้านการบริหารความเสี่ยง และบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านการเงินของ
คณะฯ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการ
ศึกษาพบว่า 1) เหตุการณ์ความเสี่ยงทางการเงินของคณะสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับงบประมาณ
ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอกับโครงการใน
แผนปฏิบัติการประจำปี เงินนอกงบประมาณรายได้ปลายปีไม่เพียงพอต่อการ
เบิกจ่าย ดอกเบี้ยรับจากการจัดหาประโยชน์จากเงินรายได้สะสมลดลง ค่าใช้จ่ายที่
นำมาเบิกจ่ายไม่มีประกาศรองรับในการเบิกจ่ายเงิน บุคลากรของคณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ส่งคืนเงินยืมทดรองจ่ายล่าช้าเกินกำหนด และการจ่ายเงินล่าช้า
ผิดพลาด ในส่วนเหตุการณ์ความเสี่ยงทางการเงินของภาควิชาคือ สถานะทาง
การเงินของหลักสูตรไม่มีความมั่นคง และรายได้ไม่เพียงพอต่อการบริหารงานใน
หลักสูตร และในส่วนเหตุการณ์ของความเสี่ยงทางการเงินของศูนย์ฯ คือ การได้รับจัดสรร
งบประมาณสนับสนุนจากสำนักงบประมาณน้อยมาก นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่
เกิดจากปัจจัยภายนอกคือ ระบบฐานข้อมูล MUERP มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ฐานข้อมูล 2) ระดับความเสี่ยงทางการเงินของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นระดับความเสี่ยงที่มหาวิทยาลัยยอมรับได้ แต่
ต้องมีการเฝ้าระวังมาตรการควบคุมให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
และ 3) แนวทางการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของคณะสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์ ครอบคลุมตั้งแต่การจัดประชุมชี้แจงทุกหน่วยงานในคณะฯ ให้เข้าใจ
สถานการณ์ด้านการเงินของคณะฯ และให้ทุกหน่วยงานวางแผนจัดทไแผนปฏิบัติ
การล่วงหน้า 1-2 ปี ในการทำกิจกรรม/โครงการ สำหรับแนวทางการบริหารความ
เสี่ยงทางการเงินของภาควิชาฯ คือ ให้ภาควิชาสามารถประชาสัมพันธ์หลักสูตรอย่าง
ต่อเนื่องในเชิงรุก รวมถึงปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ที่
ต้องการศึกษาได้ ส่วนแนวทางการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของศูนย์คือ การให้
ศูนย์จัดอบรมเก็บค่าลงทะเบียนได้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ผู้บริหารที่รับผิดชอบ
การบริหารความเสี่ยงควรมองเหตุการณ์ความเสี่ยงทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นใน
อนาคตด้วย และควรให้ความสำคัญกับปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกที่อาจจะส่ง
ผลกระทบถึงความเสี่ยงทางการเงิน นอกจากนี้ การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
ควรได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จะ
ได้รับประสิทธิผลมากกว่าให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ
This research's objectives were studied the Faculty of Social Sciences and Humanities' financial risks, levels of financial risks, and to offer suggestions for managing these risks. Data were collected through in-depth interviews with fifteen responsible administrators responsible for the Faculty's risk management. Findings showed that the Faculty's risks as a whole included inadequate budgets for implementing projects in annual action plans, revenue budgets insufficient for annual expenses, decreasing profits from accumulated savings, reimbursement requests not in accordance with regulations, delayed return of advanced money, and payment mistakes. A financial risk that Centers under the Faculty faced was insufficient financial support from the Budget Bureau while Departments had risks from their academic programs' unstable financial status and inadequate incomes to run their operations. In addition, a risk from an external factor was discovered. That is, the database system, MUERP, was frequently changed. The Faculty's financial risks could be classified into three levels, moderate, low and very low. Suggestions for the Faculty's financial risks management ranged from meetings to create mutual understanding about the Faculty's financial status, a requirement of one- or two-year advanced planning for activities and projects, permission for the Centers to collect registration fees and a push for Departments to publicize and improve their programs in response to needs. It is recommended that administrators in charge of financial risk management should consider possible future risks, internal and external factors affecting financial risks. In addition, the risk management should be under mutual responsibility from all units under the Faculty rather than a single unit.
This research's objectives were studied the Faculty of Social Sciences and Humanities' financial risks, levels of financial risks, and to offer suggestions for managing these risks. Data were collected through in-depth interviews with fifteen responsible administrators responsible for the Faculty's risk management. Findings showed that the Faculty's risks as a whole included inadequate budgets for implementing projects in annual action plans, revenue budgets insufficient for annual expenses, decreasing profits from accumulated savings, reimbursement requests not in accordance with regulations, delayed return of advanced money, and payment mistakes. A financial risk that Centers under the Faculty faced was insufficient financial support from the Budget Bureau while Departments had risks from their academic programs' unstable financial status and inadequate incomes to run their operations. In addition, a risk from an external factor was discovered. That is, the database system, MUERP, was frequently changed. The Faculty's financial risks could be classified into three levels, moderate, low and very low. Suggestions for the Faculty's financial risks management ranged from meetings to create mutual understanding about the Faculty's financial status, a requirement of one- or two-year advanced planning for activities and projects, permission for the Centers to collect registration fees and a push for Departments to publicize and improve their programs in response to needs. It is recommended that administrators in charge of financial risk management should consider possible future risks, internal and external factors affecting financial risks. In addition, the risk management should be under mutual responsibility from all units under the Faculty rather than a single unit.