Publication:
อิทธิพลของความวิตกกังวล การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

dc.contributor.authorรัชนีพร ภัทรปกรณ์en_US
dc.contributor.authorRachaneeporn Pattharapakornen_US
dc.contributor.authorจงจิต เสน่หาen_US
dc.contributor.authorChongjit Sanehaen_US
dc.contributor.authorวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิชen_US
dc.contributor.authorWimolrat Puwarawuttipaniten_US
dc.contributor.authorยงชัย นิละนนท์en_US
dc.contributor.authorYongchai Nilanonten_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลen_US
dc.date.accessioned2018-08-03T07:35:15Z
dc.date.available2018-08-03T07:35:15Z
dc.date.created2561-07-03
dc.date.issued2557
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอํานาจการทํานายของความวิตกกังวล การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทํานาย วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลหลักที่เป็นญาติของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ให้การดูแลผู้ป่วยมาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายหลังผู้ป่วยจําหน่ายออกจากโรงพยาบาล จํานวน 78 ราย เก็บข้อมูลที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความวิตกกังวล การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 85.9 มีอายุเฉลี่ย 51.69 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับดีร้อยละ 89.7 และการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับดีร้อยละ 71.8 มากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีความวิตกกังวลในระดับน้อยร้อยละ 57.7 และได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลางร้อยละ 60.3 และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพ (β = .39, p < .01) ความวิตกกังวล (β = - .23, p < .05) และการสนับสนุนทางสังคม (β = .21, p < .05) สามารถทํานายพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยตัวแปรทุกตัวสามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ดูแลได้ร้อยละ 40.7 (R2= .41, p < .001). สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและทีมสุขภาพควรมีการประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ ความวิตกกังวล และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแล เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ภาวะสุขภาพ ลดความวิตกกังวลของผู้ดูแล และให้การสนับสนุนทางสังคมที่เป็นประโยชน์ในการดูแลตนเองที่เหมาะสมกับผู้ดูแล ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ดูแลมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นen_US
dc.description.abstractPurpose: To study the influences of anxiety, perceived health status and social support on self-care behaviors of stroke caregivers. Design: A correlational predictive design.Methods: The sample comprised seventy-eight primary family caregivers of stroke patients who had provided care for patients at least one month after discharge. Data were collected at the outpatient department of Siriraj hospital by using questionnaires about personal information, anxiety, perceived health status, perceived social support and self-care behaviors of stroke caregivers. The data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis.Main findings: Most of the subjects were females (85.9%) with a mean age of 51.69 years old. Most of the sample (89.7%) had good self-care behaviors and 71.8% had good perceived health status. More than half of the sample (60.3%) had moderate social support and mild anxiety (57.7%). Multiple regression showed that anxiety, perceived health status, perceived social support jointly explained 40.7% of variance in self-care behaviors of stroke caregivers (R2 = .41, p < .001). Predictive factors of self-care behaviors of stroke caregivers were perceived health status (β = .39, p < .01), anxiety (β = - .23, p < .05) and social support (β = .21, p < .05).Conclusion and recommendations: Nurses and health care team should assess perceived health status, anxiety of caregiver and social support. These information will help nurse to promote perceived health status, reducing anxiety, and providing informational social support in order to increase self-care behaviors of stroke caregivers.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 32, ฉบับที่ 2 ( เม.ย. - มิ.ย. 2557), 52-61en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/21928
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectความวิตกกังวลen_US
dc.subjectการรับรู้ภาวะสุขภาพen_US
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.subjectพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.titleอิทธิพลของความวิตกกังวล การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.title.alternativeThe Influences of Anxiety, Perceived Health Status and Social Support on Self-care Behaviors of Stroke Caregiversen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-chongjit-2557.pdf
Size:
215.81 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections