Publication:
ความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองอายุ และความสามารถในการมองเห็นในการทำนายพฤติกรรมในการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

dc.contributor.authorชลธิรา เรียงคําen_US
dc.contributor.authorChontira Riangkamen_US
dc.contributor.authorดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศen_US
dc.contributor.authorDoungrut Wattanakitkrilearten_US
dc.contributor.authorอัครเดช เกตุฉ่ำen_US
dc.contributor.authorAkadet Ketchamen_US
dc.contributor.authorอภิรดี ศรีวิจิตรกมลen_US
dc.contributor.authorApiradee Sriwijitkamolen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลen_US
dc.date.accessioned2018-08-31T07:42:53Z
dc.date.available2018-08-31T07:42:53Z
dc.date.created2561
dc.date.issued2559
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง อายุ และความสามารถในการมองเห็น ในการทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 95 คน ที่เข้ารับการรักษาในแผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีการรับรู้ดี สามารถสื่อสาร อ่านภาษาไทย และคำนวณได้มีผลค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) ครั้งล่าสุดไม่เกิน 6 เดือน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง และพฤติกรรมในการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 58.34 (SD = 11.38) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสามารถในการมองเห็นอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 86.1 มีค่าเฉลี่ยคะแนนของความแตกฉานทางสุขภาพขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับสูง (X = 13.23, SD = 4.21) ส่วนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (X = 63.62, SD = 9.95 และ X = 67.88, SD = 12.72 ตามลำดับ) มีเพียงระดับความแตกฉานทางสุขภาพ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมในการดูแลตนเอง (r = .68, p < .05 และ r = .42, p < .05 ตามลำดับ) และทั้งสองปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .55, F(4, 90) = 27.37, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ทีมบุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญในการพัฒนาระดับความแตกฉานทางสุขภาพ และสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแล และบรรลุเป้าหมายการควบคุมโรคเบาหวานต่อไปen_US
dc.description.abstractPurpose: To examine the prediction of health literacy, self-efficacy, age and visual acuity on self-care behaviors of patients with type 2 diabetes. Design: A correlation predictive design. Methods: The sample included 95 patients with type 2 diabetes in medical out-patient department at tertiary hospital who are age over 18 years old, good oriented, be able to communicate, be able to read Thai language and calculation, had latest HbA1C result within 6 months. Instruments were divided into 4 parts including demographic data, health literacy, self-efficacy and self-care behaviors. Data were analyzed by using descriptive statistics, and multiple regression analysis. Main findings: The average age of samples was 58.34 (SD = 11.378). Majority of samples had normal visual acuity (86%). The mean functional health scores of samples were in high level (X = 13.23, SD = 4.21). However, the mean of self-efficacy literacy and self-care behaviors scores of those samples was only in moderate level (X = 63.62, SD = 9.95 and X = 67.88, SD = 12.73 respectively). Only health literacy and self-efficacy had statistically significant positive correlations with self-care behaviors (r = .68, p < .05 and r = .42, p < .05 respectively and also together predicted self-care behaviors (R2 = .55, F(4, 90) = 27.37, p < .05). Conclusion and recommendations: Healthcare providers should pay attention to improve both health literacy and self-efficacy levels of diabetes type 2 people aims to promote self-care behaviors and also leads to achieve diabetes control.en_US
dc.description.sponsorshipรายงานการวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก China Medical Board of New York Inc. (CMB)en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 34, ฉบับที่ 4 (ต.ค - ธ.ค 2559), 35 - 46en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/25247
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectความแตกฉานด้านสุขภาพen_US
dc.subjectการรับรู้สมรรถนะแห่งตนen_US
dc.subjectความสามารถในการมองเห็นen_US
dc.subjectพฤติกรรมการดูแลตนเองen_US
dc.subjectผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2en_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.titleความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองอายุ และความสามารถในการมองเห็นในการทำนายพฤติกรรมในการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2en_US
dc.title.alternativeHealth Literacy, Self-Efficacy, Age and Visual Acuity Predicting on Self-Care Behaviors in Patients with Type 2 Diabetesen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/78671

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-chontira-2559.pdf
Size:
202.82 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections