Publication: การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและกิจกรรมทางกายของสตรีที่มีภาวะอ้วนลงพุง โรงพยาบาลสามโก้ จังหวัดอ่างทอง
dc.contributor.author | สุวภัทร คำโตนด | en_US |
dc.contributor.author | ธราดล เก่งการพานิช | en_US |
dc.contributor.author | สุปรียา ตันสกุล | en_US |
dc.contributor.author | มณฑา เก่งการพานิช | en_US |
dc.contributor.author | Suwapat Khamtanot | en_US |
dc.contributor.author | Tharadol Kengganpanich | en_US |
dc.contributor.author | Supreya Tansakul | en_US |
dc.contributor.author | Mondha Kengganpanich | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | จังหวัดอ่างทอง. อำเภอสามโก้. โรงพยาบาลสามโก้ | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-03-18T18:31:52Z | |
dc.date.available | 2021-03-18T18:31:52Z | |
dc.date.created | 2564-03-19 | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.description.abstract | ภาวะอ้วนลงพุง เป็นภาวะเสี่ยงที่สำคัญซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบมาก ในสตรี การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถ ตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและกิจกรรมทางกาย ส่งผลต่อการลดเส้นรอบ เอวและดัชนีมวลกายของสตรีที่มีภาวะอ้วนลงพุง ดำเนินการวิจัยในกลุ่มทดลองจำนวน 21 คน และกลุ่ม เปรียบเทียบจำนวน 22 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถ ตนเองเป็นเวลา 24 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังโปรแกรมด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Paired samples t-test และ Independent’s t-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติ และพฤติกรรมการรับประทานอาหารและกิจกรรมทางกายสูงกว่า ก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเส้นรอบเอว และดัชนีมวลกายลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น การแก้ปัญหาภาวะอ้วนลงพุงของสตรีในชุมชน หน่วยงานสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมสุข ศึกษาไปประยุกต์ โดยการฝึกทักษะรายบุคคลสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การถ่ายทอด ประสบการณ์ผ่านตัวแบบมีชีวิต และการโทรศัพท์กระตุ้น สำหรับการพัฒนาโปรแกรมให้มีประสิทธิผล มากยิ่งขึ้นควรนำแนวคิดแรงสนับสนุนทางสังคมมาประยุกต์ใช้ในประเด็นของการมีส่วนร่วมของสมาชิก ครอบครัวและคนในชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการอาหารหรือผู้จำหน่ายอาหารในชุมชน | en_US |
dc.description.abstract | Abdominal obesity is an important risky condition that can increase the possibility of contracting chronic/non-communicable diseases. This condition was found most among women. This quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of a health education program applying the self-efficacy theory on food consumption behavior and physical activity that could result in the decrease of waistline circumference and body mass index of women with abdominal obesity. The study was organized with 21 women in the experimental group and 22 women in the comparison group. The experimental group participated in the health education program applying the self-efficacy theory for 24 weeks. Data collection was done before and after the program by using a questionnaire, and data analysis was done by computing statistics in regard to frequency, percentage, arithmetic mean, paired samples t-test, and independent t-test. The results showed that after the experimentation, significantly higher mean scores of perceived selfefficacy, expectations of the benefits of performing correct behaviors, food consumption behavior, and physical activity were found among the experimental group compared with the mean scores among the comparison group. These conditions resulted in significant decreases of waistline circumference and body mass index of the experimental group compared with before the experimentation and the comparison group. Thus, in order to solve the problem regarding women with abdominal obesity in the community, public health organizations can apply this type of health education program to training women individually, enhancing learning through direct experiences, disseminating experiences through live models, and reminding by telephone. In order to increase the effectiveness of the program, the concept of social support should be applied in order to have family members and community people participating in the program including the participation of people who cook food or sell food in the community. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 36, ฉบับที่ 124 (พ.ค.- ส.ค. 2556), 30-44 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/61320 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การรับรู้ความสามารถตนเอง | en_US |
dc.subject | การรับประทานอาหาร | en_US |
dc.subject | กิจกรรมทางกาย | en_US |
dc.subject | สตรีอ้วนลงพุง | en_US |
dc.subject | Self-Efficacy | en_US |
dc.subject | Food consumption | en_US |
dc.subject | Physical activity | en_US |
dc.subject | Women with abdominal obesity | en_US |
dc.title | การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและกิจกรรมทางกายของสตรีที่มีภาวะอ้วนลงพุง โรงพยาบาลสามโก้ จังหวัดอ่างทอง | en_US |
dc.title.alternative | The Application of the Self-Efficacy Theory on Food Consumption Consumption Behabior and Physical Activity Among Women with Abdominal Obesity, Samko Hospital, Angthong Province | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/view/174472 |