Publication:
ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการฉีดอินซูลินด้วยตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวานของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จังหวัดนครปฐม

dc.contributor.authorชนมน เจนจิรวัฒน์en_US
dc.contributor.authorธราดล เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorมณฑา เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorศรัณญา เบญจกุลen_US
dc.contributor.authorChanamon Jenjirawaten_US
dc.contributor.authorTharadol Kengganpanichen_US
dc.contributor.authorMondha Kengganpanichen_US
dc.contributor.authorSarunya Benjakulen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2019-10-22T03:09:37Z
dc.date.available2019-10-22T03:09:37Z
dc.date.created2562-10-22
dc.date.issued2560
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสง่ เสริมการฉีดอินซูลินด้วยตนเองในผู้ที่เป็น เบาหวานต่อความรู้เกี่ยวกับการฉีดอินซูลิน การรับรู้ความสามารถของตนเองในการฉีดอินซูลิน ความ คาดหวังผลดีของการฉีดอินซูลินที่ถูกต้อง และพฤติกรรมการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง ก่อนและหลังเข้าร่วม โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็นเบาหวานของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จังหวัดนครปฐม ที่แพทย์ มีคำสั่งการรักษาให้ฉีดอินซูลินเป็นครั้งแรกจำนวน 22 ราย กลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม สุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โปรแกรมส่งเสริมการฉีดอินซูลินด้วยตนเองนี้พัฒนาโดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความ สามารถของตนเอง ประกอบการใช้คู่มือการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง จัดกิจกรรม 7 ครั้ง ต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ เริ่มด้วยการให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและการฉีดอินซูลิน การสร้างความเชื่อมั่น ความคาดหวังผลดี ของการฉีดอินซูลินที่ถูกต้องและโทรศัพท์ติดตาม 4 ครั้ง เพื่อส่งเสริมความมั่นใจและร่วมแก้ไขปัญหา และนัดติดตามที่โรงพยาบาล 2 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 4 เพื่อประเมินการฉีดอินซูลิน สะท้อน ความสำเร็จของตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกพฤติกรรมการฉีดอินซูลิน และ การตรวจตำแหน่งฉีดอินซูลิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สถิติที สถิติ Wilcoxon signed-rank test ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการฉีดอินซูลิน การรับรู้ความสามารถตนเองในการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง และความคาดหวังในผลดีของการฉีดอินซูลิน ที่ถูกต้องสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการฉีด อินซูลินด้วยตนเองในสัปดาห์ที่ 4 สูงกว่าสัปดาห์ที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนน เฉลี่ยพฤติกรรมการฉีดอินซูลินด้วยตนเองหลังการเข้าร่วมโปรแกรมกับค่าคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด พบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดอินซูลินนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดที่ไม่รุนแรง ไม่พบภาวะช็อกหรือไม่รู้สึกตัว ร้อยละ 18.18 และทุกรายสามารถแก้ไขปัญหาน้ำตาลต่ำได้ถูกต้อง ผลการตรวจร่างกายไม่พบก้อนไขมันจากการสะสม ของอินซูลินจากการฉีดซ้ำตำแหน่งเดิมต่อเนื่อง ดังนั้น โปรแกรมการส่งเสริมการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง ประกอบด้วย การใช้คู่มือการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง การจัดทำแนวปฏิบัติการสอนฉีดอินซูลิน และการ โทรศัพท์ติดตามในงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานและจากการใช้อินซูลิน ที่อาจเกิดในผู้ที่เป็นเบาหวานได้en_US
dc.description.abstractThis quasi-experimental research aimed to examine the effects of a self-insulin administration promoting program among persons with diabetes on knowledge about insulin injection, perceived self-efficacy for insulin injection, outcome expectation of benefits of self- insulin administration, and self- insulin injection behavior before and after the program. A one-group pretest-posttest design was employed. Purposive sampling was used to select a sample of 22 diabetes persons who were prescribed self-insulin injection for the first time in Golden Jubilee Medical Center, Nakorn Pathom Province. The Self-Efficacy theory was applied to develop a program consisting of 7 consecutive sessions and the program lasted for 4 weeks by individual sessions. The program started with giving diabetes knowledge, building self-efficacy for self-insulin administration, and perceived outcome expectation, then follow up by telephone for 4 times to promote self-efficacy, and for solving problems. Then, the follow up at the hospital was conducted for 2 times at the first week and the fourth week for insulin injection evaluation, and reflection of mastery experiences. Data were collected using an interviewing schedule, recording insulin injection behavior form, and checking the injection site. Data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test, Wilcoxon signed-rank test, and one sample t-test. After participating the program for 4 weeks, the experimental group had significantly higher scores of knowledge about insulin injection, perceived self-efficacy for insulin injection, and outcome-expectation of benefits of insulin injection, and had significantly higher scores of self-insulin injection behavior than those at the first week . When comparing self-insulin injection behavior, the results showed that the mean score after the program was significantly higher than the mean criterion score. In regard to complication prevention behavior from insulin injection, 18.18 % of the experimental group had no severe hypoglycemia (palpitation, sweating), shock nor unconsciousness and all of them could solve the problem of hypoglycemia satisfactorily. In addition, insulin-induced lipodystrophy was not found at the injection sites. Thus, this intervention program including a handbook and practice guidelines of self-insulin injection, and telephone follow-up among persons with diabetes should be used to prevent possible complications related to diabetes and insulin treatment.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 23, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560), 229-241en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47938
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการรับรู้ความสามารถตนเองen_US
dc.subjectการฉีดอินซูลินด้วยตนเองen_US
dc.subjectความรู้en_US
dc.subjectผู้ที่เป็นเบาหวานen_US
dc.subjectPerceived Self-Efficacyen_US
dc.subjectInsulin administrationen_US
dc.subjectKnowledgeen_US
dc.subjectPersons with diabetesen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการส่งเสริมการฉีดอินซูลินด้วยตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวานของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จังหวัดนครปฐมen_US
dc.title.alternativeEffects of a Self-Insulin Administration Promoting Program among Persons with Diabetes in Golden Jubilee Medical Center, Nakhon Pathom Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/73019/79308

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-tharadol-2560.pdf
Size:
926.24 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections