Publication: ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะการเฝ้าระวังตนเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
dc.contributor.author | กิตติยา มหาวิริโยทัย | en_US |
dc.contributor.author | ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ | en_US |
dc.contributor.author | อัจฉริยา พ่วงแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | Kittiya Mahaviriyotai | en_US |
dc.contributor.author | Doungrut Wattanakitkrileart | en_US |
dc.contributor.author | Autchariya Poungkaew | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-04-20T03:14:20Z | |
dc.date.available | 2021-04-20T03:14:20Z | |
dc.date.created | 2564-04-20 | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะการเฝ้าระวังตนเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 64 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว NYHA Functional class I-III มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและสามารถใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ได้ โดยทำการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 ราย ระหว่างการทดลอง กลุ่มตัวอย่างถอนตัวออกจากการวิจัยกลุ่มละ 1 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะการเฝ้าระวังตนเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน 2563 ประเมินผลพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวยูโรเปี้ยน วิเคราะห์เปรียบเทียบผลพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้สถิติการทดสอบทีแบบสองกลุ่มอิสระ และแบบสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน ผลการวิจัย: หลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะการเฝ้าระวังตนเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์มีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (t = 9.67, p < .01) และพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -7.13 , p < .01) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการให้ข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะการเฝ้าระวังตนเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีพฤติกรรมการดูแลตนเองมากขึ้นได้ ดังนั้น พยาบาลควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้นต่อไป | en_US |
dc.description.abstract | Purpose: To examine the effect of information provision, motivation, and self-monitoring skill program through LINE application on self-care behaviors in heart failure patients. Design: A randomized controlled trial. Methods: The participants were 64 patients with heart failure aged 18 years and above who received medical care at the OPD of a tertiary level hospital in Bangkok. The participants had NYHA functional class I-III, smartphones, and ability to use the LINE application. Simple random assignment was used to assign into the experimental (n = 32) and control groups (n = 32). One participant in each group withdrew from the study. The control group received regular care. The experimental group received information provision, motivation, and self-monitoring skill program through LINE application from February to June 2020. Evaluation of self-care behaviors was evaluated using the European Heart Failure Self-care Behavior Scale (EHFScBS-9). Data were analyzed using independent t-test and paired t-test. Main findings: At posttest, the self-care behavior scores in the experimental group were significantly higher than that at pre-test (t = 9.67, p < .01). The experimental group had higher self-care scores, compared to the control group with statistical significance (t = -7.13, p < .01). Conclusion and recommendations: According to the findings, information provision, motivation, and self-monitoring skill program through LINE application promoted patients to develop self-care behaviors. Therefore, nurses should apply this program to promote better self-care behaviors among patients with heart failure. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มี.ค. 2564), 47-63 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/61980 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ภาวะหัวใจล้มเหลว | en_US |
dc.subject | โปรแกรมการให้ข้อมูล | en_US |
dc.subject | แอปพลิเคชันไลน์ | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการดูแลตนเอง | en_US |
dc.subject | ทักษะการเฝ้าระวังตนเอง | en_US |
dc.subject | heart failure | en_US |
dc.subject | information provision program | en_US |
dc.subject | LINE application | en_US |
dc.subject | self-care behaviors, | en_US |
dc.subject | self-monitoring skill | en_US |
dc.subject | วารสารพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Journal of Nursing Science | en_US |
dc.subject | Nursing Science Journal of Thailand | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะการเฝ้าระวังตนเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว | en_US |
dc.title.alternative | The Effect of Information Provision, Motivation, and Self-monitoring Skill Program through LINE Application on Self-care Behaviors in Patients with Heart Failure | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/244777 |