Publication: ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้า หัวใจชนิดพกพาและส่งคลื่นผ่านระบบโทรศัพท์ เพื่อการวินิจฉัย กรณีผู้ป่วยนอก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Issued Date
2561
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 5, ฉบับที่ (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 61-75
Suggested Citation
อุรศรี อิ่มสมบูรณ์, โสภิตา อารีรอบ, กัญชพร คงช่วย, ธัชพงศ์ งามอุโฆษ, Urasri Imsomboon, Sopita Areerob, Kunchaporn Kongchauy, Tuchapong Ngarmukosy ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้า หัวใจชนิดพกพาและส่งคลื่นผ่านระบบโทรศัพท์ เพื่อการวินิจฉัย กรณีผู้ป่วยนอก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 5, ฉบับที่ (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 61-75. doi:http://doi.org/10.14456/jmu.2018.11 สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44171
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้า หัวใจชนิดพกพาและส่งคลื่นผ่านระบบโทรศัพท์ เพื่อการวินิจฉัย กรณีผู้ป่วยนอก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Alternative Title(s)
The incidence of Cardiac Arrhythmia using trans-telephonic, Portable ECG Recorder in out-patients Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและศึกษาระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยรับเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาจนกระทั่งมีอาการและกดส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เข้ารับบริการในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 117 คน (อายุเฉลี่ย 52.7 ± 17.1 ปี เพศหญิง 64.1%) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและแบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาและส่งคลื่นผ่านระบบโทรศัพท์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจกลับมายังศูนย์รับข้อมูลทั้งสิ้น 387 คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เฉลี่ย 2.88 คลื่นไฟฟ้าหัวใจ/คน (SD = 3.55, Range 0-21) ระยะเวลาเฉลี่ยของการเกิดอาการผิดปกติ 14.56 นาที
(SD = 24.15, Range 1-180) ลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พบมากที่สุดคือ Normal sinus rhythm ร้อยละ 46 และคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ Sinus tachycardia ร้อยละ 43.5 Premature atrial contraction ร้อยละ 17.7 Premature ventricular contraction ร้อยละ 14.3 sinus bradycardia ร้อยละ 11.5 และ Atrial fibrillation ร้อยละ 8.6 อาการที่พบก่อนการส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 5 ลำดับแรกได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว ร้อยละ 94 ใจสั่น/ใจกระตุก ร้อยละ 83.8 เหนื่อย ร้อยละ 51.3 แน่นหน้าอก ร้อยละ 19.6 ใจหวิว ร้อยละ 14.5 ส่วนใหญ่เกิดอาการในขณะนั่งเฉย ๆ ร้อยละ 68.4 นอนหลับ ร้อยละ 55.6 ทำงาน ร้อยละ 25.6 ระยะเวลาเฉลี่ยของผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะตั้งแต่รับเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาจนมีอาการผิดปกติและส่งผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจครั้งแรก เท่ากับ 6.88 วัน (SD = 7.72, Median = 3, Range 0-35) ระยะเวลาเฉลี่ยของผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะตั้งแต่รับเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาจนมีพบผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เท่ากับ 9 วัน (SD = 7.92, Median = 7, Range 1-33) ข้อสรุปจากการวิจัย การใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพามีประโยชน์ในการวินิจฉัยกลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เข้ารับบริการในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก โดยระยะเวลาเฉลี่ยในการวินิจฉัยประมาณ 9 วัน
The objectives of this study were to explore incidence of cardiac arrhythmia using Trans-Telephonic, ECG recorder in out-patients and to explore time to first symptomatic episode. The participants were 117 persons (52.7 ± 17.1 years, 64.1% women) who visited outpatient clinic Ramathibodi hospital and were purposively selected. Research instrument in this study were the personal data questionnaire and the record form of incidence of cardiac arrhythmia using Trans-Telephonic ECG recorder. The results from 387 ECGs (Average 2.88 ECGs/person, SD = 3.55, Range 0 - 21) revealed that normal sinus rhythm was found mostly 46%. Top 5 of cardiac arrhythmias were documented at the time of symptoms: sinus tachycardia 43.5%, premature atrial contraction 17.7%, premature ventricular contraction 14.3%, sinus bradycardia 11.5% and atrial fibrillation 8.6%. Presenting symptom were tachycardia 94% palpitation 83.8% dyspnea 51.3% chest pain 19.6% and syncope 14.5%. Mostly activities during symptom were no activity 68.4%, sleep 55.6% and work 25.6%. The mean time until the first symptomatic episode occurred on average after 6.88 ± 7.72 days (median 3 days). The first documented cardiac arrhythmia occurred on average after 9 ± 7.92 days (median 7 days). Conclusion: Trans-telephonic: portable ECGs recorder is effective in the diagnosis of suspected symptomatic cardiac arrhythmias in outpatient clinic. A diagnosis can usually be achieved within 9 days.
The objectives of this study were to explore incidence of cardiac arrhythmia using Trans-Telephonic, ECG recorder in out-patients and to explore time to first symptomatic episode. The participants were 117 persons (52.7 ± 17.1 years, 64.1% women) who visited outpatient clinic Ramathibodi hospital and were purposively selected. Research instrument in this study were the personal data questionnaire and the record form of incidence of cardiac arrhythmia using Trans-Telephonic ECG recorder. The results from 387 ECGs (Average 2.88 ECGs/person, SD = 3.55, Range 0 - 21) revealed that normal sinus rhythm was found mostly 46%. Top 5 of cardiac arrhythmias were documented at the time of symptoms: sinus tachycardia 43.5%, premature atrial contraction 17.7%, premature ventricular contraction 14.3%, sinus bradycardia 11.5% and atrial fibrillation 8.6%. Presenting symptom were tachycardia 94% palpitation 83.8% dyspnea 51.3% chest pain 19.6% and syncope 14.5%. Mostly activities during symptom were no activity 68.4%, sleep 55.6% and work 25.6%. The mean time until the first symptomatic episode occurred on average after 6.88 ± 7.72 days (median 3 days). The first documented cardiac arrhythmia occurred on average after 9 ± 7.92 days (median 7 days). Conclusion: Trans-telephonic: portable ECGs recorder is effective in the diagnosis of suspected symptomatic cardiac arrhythmias in outpatient clinic. A diagnosis can usually be achieved within 9 days.