Publication: การสร้างและทดสอบเครื่องมือประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาการช่วยเหลือทางจิตใจจากบุคลากรทางสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล
dc.contributor.author | วไลลักษณ์ พุ่มพวง | en_US |
dc.contributor.author | Walailak Pumpuang | en_US |
dc.contributor.author | อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | Acharaphon Seeherunwong | en_US |
dc.contributor.author | นพพร ว่องสิริมาศ | en_US |
dc.contributor.author | Nopporn Vongsirimas | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-08-10T08:55:22Z | |
dc.date.available | 2018-08-10T08:55:22Z | |
dc.date.created | 2561-08-10 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างและทดสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาการช่วยเหลือทางจิตใจจากบุคลากรทางสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งสร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรม รูปแบบการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือ วิธีดำเนินการวิจัย: แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะพัฒนาเครื่องมือ และระยะทดสอบคุณภาพเครื่องมือกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่มีระดับคะแนนจากการคัดกรองด้วยแบบประเมินความทุกข์ทางจิตใจ ความเครียด ซึมเศร้าและวิตกกังวลอย่างน้อย 1 ด้านสูงกว่าปกติ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน ตอบแบบสอบถามปลายเปิดเพื่อวิเคราะห์ความเชื่อเกี่ยวข้องกับบททัศนคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ในการควบคุมพฤติกรรมในการนำไปสร้างแบบสอบถาม ระยะนี้วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน ตอบแบบสอบถามที่สร้างขึ้น นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการหาอำนาจจำแนกจากความแตกต่างของตัวแปรระหว่างกลุ่ม คะแนนสูง และกลุ่มคะแนนต่ำโดยใช้สถิติ t-test และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยการทดสอบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ผลการวิจัย : พบว่า แบบสอบถามที่สร้างขึ้นนี้ จำนวน 50 มี ข้อคำถามที่ใช้ได้จำนวน 41 ข้อ ลักษณะคำตอบเป็นมาตรวัดแบบ 2 ขั้วแบ่งเป็น 7 ระดับ ประกอบด้วยข้อคำถามความตั้งใจในการทำพฤติกรรมจำนวน 3 ข้อ ทัศนคติต่อพฤติกรรมจำนวน 19 ข้อ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงจำนวน 11 ข้อ และการรับรู้ในการควบคุมพฤติกรรมจำนวน 8 ข้อ ความเชื่อมั่นขอแบบสอบถามอยู่ระหว่าง .65 - .96 สรุปและข้อเสนอแนะ: การศึกษาครั้งนี้เป็นหลักฐานในการนำทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรมมาใช้สร้างแบบสอบถามในการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การแสวงหาการช่วยเหลือทางจิตใจจากบุคลากรทางสุขภาพจิตอย่างไรก็ ตามแบบสอบถามนี้เป็นเครื่องมือใหม่ในบริบทของนักศึกษาพยาบาล อาจารย์และบุคคลากรทางสุขภาพจิต ควรได้มีการทดสอบคุณภาพของเครื่องมือซาํ้ ก่อนนำไปใช้ | en_US |
dc.description.abstract | Purpose: This study aimed to develop and test the quality of a developed questionnaire based on the theory of planned behavior to measure factors related to professional psychological help seeking behavior of nursing students. Design: This study was a methodological study. Methods: This study consisted of 2 phases, developing a questionnaire and testing the quality of the questionnaire. The subjects were 1st- 4th nursing students in academic year 2013 from one Faculty of Nursing, Bangkok who screened with the Depression Anxiety Stress Scale questionnaire and had a least 1 aspart of the questionnaire above normal level. Phase 1, 100 subjects completed the open-ended questionnaire for analysing salient beliefs related to attitudes toward behavior, subjective norm, and perceived behavioral control to develop a questionnaire. Content analysis was used for this phase. Phase 2, 70 subjects answered the developed questionnaire. Item analysis with t-test between the high and the low score groups and internal consistency were performed. Main findings: The results found that there were 41 items from 50 items indicated statistic significantly. The questionnaire, a rating scale with 2 poles and 7 point scale, consisted of 19 items for measuring attitude variable, 11 items for measuring subjective norm, 8 items for measuring behavioral control, and 3 items for measuring intention. The reliabilities with Cronbach’s alpha coefficient of each aspect were between .65 - .96 Conclusion and recommendations: This study provided evidence of developing a questionnaire based on the theory of planned behavior for measuring factors related to seek such help. However, this questionnaire in a new measurement for nursing student context. Before using this questionnaire, nurse educators and mental health professionals should repeat testing the quality of the questionnaire. | en_US |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 33, ฉบับที่ 4 (ต.ค - ธ.ค. 2558), 86-102 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/22573 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การสร้างแบบสอบถาม | en_US |
dc.subject | แบบวัดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหา | en_US |
dc.subject | การช่วยเหลือทางจิตใจ | en_US |
dc.subject | ทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรม | en_US |
dc.subject | นักศึกษาพยาบาล | en_US |
dc.subject | วารสารพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.subject | Journal of Nursing Science | en_US |
dc.title | การสร้างและทดสอบเครื่องมือประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาการช่วยเหลือทางจิตใจจากบุคลากรทางสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล | en_US |
dc.title.alternative | Developing and Testing of an Instrument Assessing Factors Related to Professional Psychological Help Seeking Behavior of Nursing Students | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/55092 |