Publication: ผลการเรียนแบบห้องเรียนกลับทางด้วยเกมเปิดแผ่นป้ายต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลและพฤติกรรมในชั้นเรียนรายวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล
Issued Date
2565
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 3 (ก.ค.- ก.ย. 2565), 105-119
Suggested Citation
นันทกานต์ มณีจักร, เสาวลักษณ์ สุขพัฒนศรีกุล, วรรณฤดี เชาว์อยชัย, พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร, Nantakarn Maneejak, Saowaluck Sukkapathanasrikul, Wanrudee Chaoayachai, Patsamon Khumtaveeporn ผลการเรียนแบบห้องเรียนกลับทางด้วยเกมเปิดแผ่นป้ายต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลและพฤติกรรมในชั้นเรียนรายวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 3 (ก.ค.- ก.ย. 2565), 105-119. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64829
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลการเรียนแบบห้องเรียนกลับทางด้วยเกมเปิดแผ่นป้ายต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลและพฤติกรรมในชั้นเรียนรายวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล
Alternative Title(s)
The Effects of Flipped Classroom with Jeopardy Game-based Learning on Nursing Students’ Learning and In-Class Behaviors in a Fundamental Nursing Course
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมในชั้นเรียน คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน และคะแนนแบบประเมินงานเดี่ยวของนักศึกษาพยาบาลระหว่างกลุ่มห้องเรียนกลับทางด้วยเกมเปิดแผ่นป้ายกับกลุ่มห้องเรียนกลับทางด้วยการถามคำถามในรายวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยเชิงพรรณาเปรียบเทียบ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิในการวิเคราะห์ผล
วิธีดำเนินการวิจัย: นักศึกษาปีการศึกษา 2561 ได้รับการสอนแบบห้องเรียนกลับทางด้วยการถามคำถาม และนักศึกษาปีการศึกษา 2562 แบบห้องเรียนกลับทางด้วยเกมเปิดแผ่นป้าย เลือกตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างมีระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลจากนักศึกษากลุ่มละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมในชั้นเรียนของนักศึกษา แบบทดสอบหลังเรียน และคะแนนงานเดี่ยวของนักศึกษาสองกลุ่มด้วยสถิติการทดสอบแมนวิทนีย์ ยู
ผลการวิจัย: กลุ่มห้องเรียนกลับทางด้วยเกมเปิดแผ่นป้ายมีคะแนนพฤติกรรมในชั้นเรียนมากกว่ากลุ่มห้องเรียนกลับทางด้วยการถามคำถามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนและคะแนนงานเดี่ยว ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน
สรุปและข้อเสนอแนะ: การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลแบบห้องเรียนกลับทางด้วยการใช้เกมเปิดแผ่นป้ายเป็นสื่อช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่งผลให้พฤติกรรมในชั้นเรียนดีขึ้น ควรนำการเรียนการสอนทั้งสองรูปแบบมาใช้ในชั้นเรียนแทนการบรรยายอย่างเดียว และการศึกษาในครั้งต่อไป ควรมีการประเมินความคงอยู่ของความรู้ของนักศึกษาด้วย
Purpose: To compare in-class behaviors scores, post-test scores and individual assignment scores between nursing students participating in the flipped classroom with asking questions and the flipped classroom with Jeopardy game during studying the Fundamental Nursing Course. Design: Descriptive comparative study design via secondary data analysis. Methods: The students in academic year 2018 were taught using the flipped classroom with asking questions and those in academic year 2019 using the flipped classroom with Jeopardy game. Systematic random sampling was conducted to obtain data of 20 students per group, a total of 40 students. Comparison of in-class behaviors scores, post-test scores and individual assignment scores between two groups were analyzed using Mann- Whitney U test. Main findings: The in-class behaviors scores of the flipped classroom with Jeopardy game group were higher than that of the flipped classroom with asking questions group (p < .05). The post-test scores and the individual assignment scores of two groups did not differ. Conclusion and recommendations: The teaching and learning of nursing in the flipped classroom with Jeopardy game helps students to learn through activities and social interactions resulting in better in-class behaviors. Both teaching and learning methods are encouraged to use in class rather than using merely lecture method. For further study, the retention of students' knowledge should also be assessed.
Purpose: To compare in-class behaviors scores, post-test scores and individual assignment scores between nursing students participating in the flipped classroom with asking questions and the flipped classroom with Jeopardy game during studying the Fundamental Nursing Course. Design: Descriptive comparative study design via secondary data analysis. Methods: The students in academic year 2018 were taught using the flipped classroom with asking questions and those in academic year 2019 using the flipped classroom with Jeopardy game. Systematic random sampling was conducted to obtain data of 20 students per group, a total of 40 students. Comparison of in-class behaviors scores, post-test scores and individual assignment scores between two groups were analyzed using Mann- Whitney U test. Main findings: The in-class behaviors scores of the flipped classroom with Jeopardy game group were higher than that of the flipped classroom with asking questions group (p < .05). The post-test scores and the individual assignment scores of two groups did not differ. Conclusion and recommendations: The teaching and learning of nursing in the flipped classroom with Jeopardy game helps students to learn through activities and social interactions resulting in better in-class behaviors. Both teaching and learning methods are encouraged to use in class rather than using merely lecture method. For further study, the retention of students' knowledge should also be assessed.