Publication: กระบวนการเรียนรู้โดยสังเกตจากตัวแบบเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพในนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
Issued Date
2550
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 30, ฉบับที่ 106 (พ.ค.- ส.ค. 2550), 1-16
Suggested Citation
จักรกฤษณ์ พลราชม, สุปรียา ตันสกุล, ธราดล เก่งการพานิช, ตุ๋ย ยังน้อย กระบวนการเรียนรู้โดยสังเกตจากตัวแบบเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพในนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร. วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 30, ฉบับที่ 106 (พ.ค.- ส.ค. 2550), 1-16. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64565
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
กระบวนการเรียนรู้โดยสังเกตจากตัวแบบเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพในนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
Alternative Title(s)
Observational Learning by Modeling on Dental Health Care Behaviors Among Primary School Students in Khoksrisuphan District, Sakonnakhon Province
Abstract
โรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ยังคงเป็นปัญหาด้าน
ทันตสุขภาพในประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการทางด้านทันตสุขภาพสำหรับทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงการดูแลทันตสุขภาพที่ถูกต้องในนักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อลดอุบัติการณ์
การเกิดโรคในช่องปาก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล
ของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาสังคม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยการ
สังเกตจากตัวแบบ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในเขตอำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 84 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 42 คน
กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทันตสุขภาพศึกษาที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
แบบบันทึกปริมาณคราบจุลินทรีย์ และแบบประเมินทักษะการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มตัวอย่าง
ด้วยสถิติ Paired Samples t-test เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ด้วยสถิติ Independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงความรู้เกี่ยวกับ
ทันตสุขภาพ เจตคติต่อการดูแลทันตสุขภาพ และการปฏิบัติตัวในการดูแลทันตสุขภาพที่ดีขึ้น
กว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ส่วนปริมาณ
คราบจุลินทรีย์ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนลดลงกว่าก่อนการทดลอง และแตกต่างจากกลุ่ม
เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) จากผลการวิจัยแสดงว่า กระบวนการเรียนรู้
โดยการสังเกตจากตัวแบบ มีผลทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลง ความรู้เกี่ยวกับ
ทันตสุขภาพ เจตคติต่อการดูแลทันตสุขภาพ การปฏิบัติตัวในการดูแลทันตสุขภาพ และปริมาณคราบ
จุลินทรีย์ที่ดีขึ้น
Dental caries and gingivitis in primary school students remains a major dental health problem in Thailand. It is necessary to carry out dental health measures for establishing good oral hygiene practice in primary school students to reduce the incidence of dental caries and gingivitis. This study was a quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of a dental health education program applying Social Cognitive Theory on the concept of observational learning by modeling for dental health care behaviors of primary school students in grade 6. The study sample was comprised of 84 students from Khoksrisuphan district, Sakonnakhon province. There were 42 students in both experimental group and comparison group. The experimental group received dental health education. Data was collected through self-administered questionnaires, the dental plaque record form and a practice skill assessment form. Statistical analysis was done by using percentage, mean, standard deviation, paired sample t-test and independent t-test The results of the study revealed that after the experiment, the experimental group’s knowledge regarding dental health, attitude toward dental health care and dental health practice was statistically and significantly increased. The mean score of dental plaque was statistically and significantly decreased. These results show that the observational learning by modeling was effective in developing knowledge regarding dental health, attitude toward dental health care, dental health practice and dental plaque in primary school students to dental health care behaviors
Dental caries and gingivitis in primary school students remains a major dental health problem in Thailand. It is necessary to carry out dental health measures for establishing good oral hygiene practice in primary school students to reduce the incidence of dental caries and gingivitis. This study was a quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of a dental health education program applying Social Cognitive Theory on the concept of observational learning by modeling for dental health care behaviors of primary school students in grade 6. The study sample was comprised of 84 students from Khoksrisuphan district, Sakonnakhon province. There were 42 students in both experimental group and comparison group. The experimental group received dental health education. Data was collected through self-administered questionnaires, the dental plaque record form and a practice skill assessment form. Statistical analysis was done by using percentage, mean, standard deviation, paired sample t-test and independent t-test The results of the study revealed that after the experiment, the experimental group’s knowledge regarding dental health, attitude toward dental health care and dental health practice was statistically and significantly increased. The mean score of dental plaque was statistically and significantly decreased. These results show that the observational learning by modeling was effective in developing knowledge regarding dental health, attitude toward dental health care, dental health practice and dental plaque in primary school students to dental health care behaviors