Publication: ปัญหาสุขภาพอนามัยและการเจ็บป่วยของแรงงานสตรีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
Issued Date
2532-07
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารประชากรและสังคม. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (2532), 63-90.
Suggested Citation
กุศล สุนทรธาดา, Kusol Soonthorndhada ปัญหาสุขภาพอนามัยและการเจ็บป่วยของแรงงานสตรีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ. วารสารประชากรและสังคม. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (2532), 63-90.. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2994
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัญหาสุขภาพอนามัยและการเจ็บป่วยของแรงงานสตรีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
Alternative Title(s)
Health problems and illness of female workers in textile industries
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อต้องการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของสตรีที่ทำงานในโรงงานสิ่งทอใน 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอนามัยหรือการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยและการป้องกันความเจ็บป่วย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอาการเจ็บป่วยกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจ อาชีวอนามัยและการพัฒนาอุตสสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย : ผลต่อสุขภาพและเศรษฐกิจสังคมของคนงานย้ายถิ่น ผลจากการสำรวจดังกล่าวพบว่าแรงงงานสตรีเหล่านี้ประมาณร้อยละ 20 ที่ระบุว่าตนมีปัญหาสุขภาพ หรือมีความรู้สึกเจ็บป่วยมากขึ้นหลังจากเข้ามาทำงานในโรงงานสักระยะหนึ่ง โดยฉพาะอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในการทำงานได้แก่ฝุ่นฝ้าย ซึ่งมีผลต่อการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ (เช่น อาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ไอ มีเสมหะ เป็นต้น) และการระคายเคืองตามผิวหนัง เสียงดังของเครื่องจักรที่มีผลต่อระบบการได้ยิน (เช่น อาการปวดหู หูอื้อ และหูตึง เป็นต้น) และแสงที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งฝุ่นฝ้ายซึ่งมีผลต่ออาการทางตา (เช่น อาการแสบตา น้ำตาไหลตลอดวัน และสายตาสั้น เป็นต้น) ผลจากการสอบถามถึงความรู้สึกเจ็บป่วยและการตรวจสุขภาพร่างกายให้ผลที่สอดคล้องกันว่า การเจ็บป่วยดังกล่าวจะมีความถี่สูงขึ้นหรือมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อทำงานในสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ไปนานๆ และผลจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่านอกจากระยะเวลาในการทำงาน ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอีก โดยเฉพาะระดับการศึกษาของสตรี แผนกงานที่ทำอยู่ รวมทั้งทัศนคติเกี่ยวกับปัญหาของเสียงและฝุ่น ทัศนคติเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกัน (เช่น ที่ปิดหูและผ้าปิดจมูก) มีผลต่ออาการเจ็บป่วยดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ
ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าน่าจะจัดให้มีการให้สุขศึกษาในโรงงาน โดยเฉพาะในด้านการป้องกันการเจ็บป่วยจากสิ่งแวดล้อมในการทำงานและการเร่งรัดให้มีงานอาชีวอนามัยในโรงงานอย่างเป็นระบบ