Publication: การทบทวนงานวิจัยด้านสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ: บทเรียนจากบทความวิจัยต้นฉบับและวิทยานิพนธ์ระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2560
dc.contributor.author | สุวรรณา มูเก็ม | en_US |
dc.contributor.author | ศรัณญา เบญจกุล | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-16T09:16:05Z | |
dc.date.available | 2022-07-16T09:16:05Z | |
dc.date.created | 2565-07-16 | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเอกสารครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนงานวิจัยด้านสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพผ่านบทความวิจัยต้นฉบับและวิทยานิพนธ์ที่เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2560 ดำเนินการวิจัยโดยการสืบค้นเอกสารตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวนทั้งสิ้น 76 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 61.8 ของเอกสารที่ได้รับการสืบค้นเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์เป็นบทความวิจัยในวารสารในฐานข้อมูล TCI เมื่อวิเคราะห์การประยุกต์ใช้แนวคิด/ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ พบว่า (1) ในงานวิจัย 1 เรื่อง มีการประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์มากกว่า 1 แนวคิดและทฤษฎี (2) งานวิจัยส่วนใหญ่ประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีระดับบุคคลโดยพบการประยุกต์ใช้สูงสุด คือ ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง และ (3) ผลของงานวิจัยซึ่งประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ในการออกแบบกิจกรรมหรือโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ ส่วนใหญ่นำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่มาจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้น ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยด้านสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในอนาคต จึงควรให้ความสำคัญในการเพิ่มประเด็นการประเมินผลกิจกรรมในแง่ประสิทธิผลและความคุ้มค่า การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีระดับชุมชน และการวิจัยด้านนวัตกรรมและสื่อดิจิทัลเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ | en_US |
dc.description.abstract | This documentary research aimed to review original research articles and thesis in health education and health promotion published between 2011 to 2017. 76 articles following the criteria were collected and reviewed. Data analysis was done by using descriptive statistics in regard to frequency and percentage. The results showed that 61.8% of documentary review was an original research article published in journals indexed in TCI. As performed an analysis of the application of concept/ theories in behavioral sciences, the results revealed that (1) more than one of concept/ theories were applied in one research, (2) most of documentary review applied the concept/ theories at individual level, especially the Self-efficacy theory, (3) most of documentary review applied to solve the health problems, especially those caused by the NCDs. Thus, future research in health education and health promotion should focus on the evaluating effectiveness of intervention programs, applying the community-level concept/ theories and move on innovation research and online digital media for health behavior modification. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 44, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2564), 60-74 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72150 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | สุขศึกษา | en_US |
dc.subject | ส่งเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | พฤติกรรม | en_US |
dc.subject | แนวคิดและทฤษฎี | en_US |
dc.title | การทบทวนงานวิจัยด้านสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ: บทเรียนจากบทความวิจัยต้นฉบับและวิทยานิพนธ์ระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2560 | en_US |
dc.title.alternative | Documentary Research on Health Education and Health Promotion: Lesson learned from original research articles and master thesis during 2011 to 2017 | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/view/249559 |