Publication: การออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการ
Issued Date
2558
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 11, ฉบับที่ 14 (2558), 71-84
Suggested Citation
ศรีสุดา ภู่แย้ม, เจนจิรา เจนจิตรวาณิช, ธรรม จตุนาม การออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการ. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 11, ฉบับที่ 14 (2558), 71-84. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1031
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการ
Alternative Title(s)
Toilet Design for Persons with Visual Disability
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการทางการ
เห็นให้มีความเหมาะสมและปลอดภัยต่อการใช้งาน 2) เพื่อออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการทางการเห็นที่
มีความเหมาะสมและปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ กลุ่มคนสายตาเลือนรางและกลุ่มคนตาบอดสนิท
จากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนตาบอดชาวอีสาน ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด และ
ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้ห้องน้ำสาธารณะมาอย่างน้อย 2 แห่ง สามารถใช้ชีวิตร่วมกับสังคมภายนอก และเดินทางได้ด้วยตนเองโดยใช้ไม้เท้าขาวจำนวนทั้งหมด 50 คน เครื่องมือที่
ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยการสัมภาษณ์, แบบสัมภาษณ์ใน
ประเด็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานในปัจจุบันและความต้องการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการ
สังเกต ด้านการสัมผัส ด้านการเคลื่อนไหว และแบบบันทึกการสังเกต พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของคนตา
บอด และมีการจดบันทึกการสังเกตเพื่อนำผลที่ได้มาทำการออกแบบห้องน้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการออกแบบห้องน้ำสาหรับคนพิการทางการเห็น ให้มีความ
เหมาะสมและมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ศึกษาจากความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 ด้าน
คือ ด้านการสังเกต ด้านการสัมผัส และด้านการเคลื่อนไหว เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านการสังเกต
สุขภัณฑ์ที่ต้องการใช้งานเป็นแบบนั่งราบ อ่างล้างหน้าที่ต้องการใช้งานเป็นแบบมีเคาน์เตอร์ โถปัสสาวะชาย
ส่วนใหญ่ที่ต้องการใช้งาน (เฉพาะเพศชาย 29 คน) เป็นแบบแขวนผนัง ด้านการสัมผัส ลักษณะพื้นที่
ต้องการใช้งานเป็นแบบขรุขระ ลักษณะผนังที่ต้องการใช้งานมีทั้งแบบเรียบและแบบขรุขระ ลักษณะฝ้าเพดาน
ที่ต้องการใช้งานเป็นแบบสูงโปร่ง ลักษณะประตูที่ต้องการใช้งานเป็นแบบบานเปิดเข้า ด้านการเคลื่อนไหว
ขนาดพื้นที่ห้องน้ำที่ต้องการใช้งาน (เปรียบเทียบจากการเคลื่อนไหว) คือ มีพื้นที่ให้ก้าว 2 – 3 ก้าว 2) นำ
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาความต้องการของกลุ่มตัวอย่างมาใช้เพื่อการออกแบบห้องน้ำสาหรับคนพิการ
ทางการเห็น ผลที่ได้คือแนวทางการออกแบบแต่ละองค์ประกอบของงานสถาปัตยกรรม และแบบ
ก่อสร้างสาหรับห้องน้ำเดี่ยวจำนวน 3 รูปแบบ คือ แบบห้องน้ำรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบห้องน้ำรูปร่าง
สี่เหลี่ยมจตุรัส และแบบห้องน้ำรูปร่างตัวแอล ที่มีความเหมาะสมและมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน
(ทดสอบการแทรก Abstract ภาษาอื่น แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ไม่แสดงผลในหน้าแรก)The purposes of this research were: 1) To study the guideline to design appropriate and safe toilet for persons with visual disability and 2) To design appropriate and safe toilet for the use of persons with visual disability. The sample of the study comprised of 50 low vision and blind persons at the Thailand Association of the Blind, the Issan Blind Association, the Center for Rehabilitation of the Blind, and the area near the Victory Monument who used at least two of public toilets facilities and can lead their life in society and travel independently using white canes. The data was collected using a survey instrument by interviewing the sample group regarding current toilet usage behavior and needs. The survey was divided into three sections: observations, tactile/touch and movement. The data was recorded in the observation forms in the respective areas. This data was analyzed to make recommendations for toilet design. The study found that: 1) The guideline to design appropriate and safe toilets for persons with visual disability were viewed by the participants with respect to recognition, touch and movement. Regarding recognition, respondents desired flat-seated toilets and sink basins with counters. The most popular men’s urinals from 29 male participants were installed on walls. Regarding touch, course area surfaces were preferred; while fine and course surfaced walls were desired. Stalls with high walls were preferred, as well as with inward-swinging doors. Regarding movement, the total preferred spacing was between 2 and 3 steps in the toilet. 2) Data of the sample is useful for toilet design for persons with visual disability for each architectural element of the facilities constructed in three patterns: square, rectangular and L-Shaped. These three designs were appropriate and safe for the users.
(ทดสอบการแทรก Abstract ภาษาอื่น แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ไม่แสดงผลในหน้าแรก)The purposes of this research were: 1) To study the guideline to design appropriate and safe toilet for persons with visual disability and 2) To design appropriate and safe toilet for the use of persons with visual disability. The sample of the study comprised of 50 low vision and blind persons at the Thailand Association of the Blind, the Issan Blind Association, the Center for Rehabilitation of the Blind, and the area near the Victory Monument who used at least two of public toilets facilities and can lead their life in society and travel independently using white canes. The data was collected using a survey instrument by interviewing the sample group regarding current toilet usage behavior and needs. The survey was divided into three sections: observations, tactile/touch and movement. The data was recorded in the observation forms in the respective areas. This data was analyzed to make recommendations for toilet design. The study found that: 1) The guideline to design appropriate and safe toilets for persons with visual disability were viewed by the participants with respect to recognition, touch and movement. Regarding recognition, respondents desired flat-seated toilets and sink basins with counters. The most popular men’s urinals from 29 male participants were installed on walls. Regarding touch, course area surfaces were preferred; while fine and course surfaced walls were desired. Stalls with high walls were preferred, as well as with inward-swinging doors. Regarding movement, the total preferred spacing was between 2 and 3 steps in the toilet. 2) Data of the sample is useful for toilet design for persons with visual disability for each architectural element of the facilities constructed in three patterns: square, rectangular and L-Shaped. These three designs were appropriate and safe for the users.