Publication:
ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความพร้อมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแล

dc.contributor.authorนันทกาญจน์ ปักษีen_US
dc.contributor.authorยุพาพิน ศิรโพธิ์งามen_US
dc.contributor.authorสุปรีดา มั่นคงen_US
dc.contributor.authorสิริรัตน์ ลีลาจรัสen_US
dc.contributor.authorNuntakarn Pakseeen_US
dc.contributor.authorYupapin Sirapo-ngamen_US
dc.contributor.authorSupreeda Monkongen_US
dc.contributor.authorSirirat Leelacharasen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีen_US
dc.date.accessioned2019-10-24T04:14:39Z
dc.date.available2019-10-24T04:14:39Z
dc.date.created2562-10-24
dc.date.issued2559
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความพร้อมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแล โดยใช้กรอบแนวคิดของรูปแบบการดูแล ตามระยะเปลี่ยนผ่านของเนเลอร์ และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ ที่กำหนด จัดเข้าเป็นผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล กลุ่มควบคุม 30 คู่ และกลุ่มทดลอง 30 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบประเมินสมรรถภาพทางสมอง และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย 2) เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาล สู่บ้าน คู่มือการดูแลผู้ป่วย และการดูแลตนเองของญาติผู้ดูแล และแผนการสอน และ 3) เครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของญาติผู้ดูแลและผู้ป่วย แบบประเมินความพร้อม ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแล และแบบบันทึกการติดตาม เยี่ยมบ้านและทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สถิติไคสแควร์ และสถิติที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความพร้อมในการดูแล ความเครียด และความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลในบริการที่ได้รับ ในระยะ 1 เดือนหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ คะแนนการปรับตัวของญาติผู้ดูแลในระยะ 1 เดือนหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ระหว่าง กลมุ่ ควบคมุ และกลุ่มทดลองไมแตกต่างกัน โปรแกรมการดูแลสามารถนำมาปรับใช้กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับญาติผู้ดูแล และติดตามประเมินความเครียดและ การปรับตัวหลังจำหน่าย 1 เดือนอย่างต่อเนื่องen_US
dc.description.abstractThis study was a quasi-experimental study aiming to explore the effect of the transitional care program for stroke patients and family caregivers during the transitional period from hospital to home on caregivers’ preparedness, stress, adaptation, and satisfaction. This program was developed based on the conceptual framework of Transitional Care Model by Naylor combined with reviewing the literature review. The sample were purposively selected. Participants comprised 60 pairs of patients and their family caregivers that were equally divided into control and experimental groups. The control group received usual nursing care provided by nurses in a hospital and the experimental group received usual nursing care plus the transitional care program. Research instruments consisted of: 1) screening instruments including the Set Test and the Barthel Index of Activities of Daily Living; 2) the experimental instruments including the Transitional Care Program for stroke patients and family caregivers during the transitional period from hospital to home, a caregivers’ handbook, and a lesson plan for teaching patients and caregivers; and 3) the instruments for collecting data including a questionnaire on demographic data, the assessment tools of family caregivers’ preparedness, stress, adaptation, satisfaction and a record form for home visits and telephone contact. Data were analyzed using descriptive statistics, chi-square and t-test. The results showed that the mean scores of family caregivers’ preparedness, stress and satisfaction in the experimental group one month after discharge was higher than those in the control group. The mean scores of adaptation of family caregivers in the experimental and control groups one month after discharge were not statistically significant different. This program can be applied for preparing caregivers of stroke patients and continuity assessment regarding stress and adaptation after one month are needed.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 22, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2559), 65-80en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47952
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านen_US
dc.subjectญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.subjectความพร้อมen_US
dc.subjectความเครียดen_US
dc.subjectการปรับตัวen_US
dc.subjectTransitional careen_US
dc.subjectStroke caregiveren_US
dc.subjectPreparednessen_US
dc.subjectStressen_US
dc.subjectAdaptationen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความพร้อมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแลen_US
dc.title.alternativeEffects of a Transitional Care Program for Stroke Patients and Family Caregivers on Caregiver’s Preparedness, Stress, Adaptation, and Satisfactionen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/49410/53295

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-yupapin-2559.pdf
Size:
601.36 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections