Publication: กระบวนการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่ง
dc.contributor.author | ณัฐภัทร เรืองบุญ | |
dc.contributor.author | ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน | |
dc.contributor.author | ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล | |
dc.contributor.author | Nutthapat Ruangboon | |
dc.contributor.author | Dhanyaporn Phothikawin | |
dc.contributor.author | Preeyanun Promsukkul | |
dc.date.accessioned | 2025-05-19T08:43:51Z | |
dc.date.available | 2025-05-19T08:43:51Z | |
dc.date.created | 2568-05-19 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติของผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่ง ศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการบรรเลงและสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Study) โดยศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยาแนวการตีความ (InterpretativePhenomenology) กําหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเลงขลุ่ย 7 ท่าน โดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation)ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 ท่าน มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่ง กระบวนการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคในการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่งที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ ประกอบด้วย หลักการถ่ายทอดความรู้ วิธีการในการถ่ายทอดความรู้สําหรับเด็กและวิธีสําหรับผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ ขั้นตอนในการถ่ายทอดความรู้และจิตวิทยาในการสอน นอกจากนี้พบเทคนิคที่ใช้ในการบรรเลง ได้แก่ การนั่งและท่าทาง การจับขลุ่ย การใช้ลม การเลือกใช้ระบบนิ้ว การคัดเลือกขลุ่ย และการคัดเลือกบทเพลง ซึ่งได้พบปรากฏการณ์ที่สะท้อนความหมาย ดังนี้ ภูมิหลังของกระบวนการถ่ายทอดความรู้ พบว่าผู้เชี่ยวชาญนําประสบการณ์ในอดีตมาปรับใช้ในการสอนขลุ่ย พัฒนาการจากขลุ่ยไทยสู่ขลุ่ยไทยคีย์สากล พบว่าขลุ่ยมีการพัฒนาเรื่องวัสดุอุปกรณ์และเรื่องระบบเสียง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับเทคนิคการบรรเลงขลุ่ย พบการปรับเทคนิคให้เหมาะสมกับการบรรเลงในบทเพลงไทยลูกทุ่ง การดํารงชีพของคนขลุ่ยในปัจจุบัน พบว่าคนขลุ่ยในปัจจุบันสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น นักดนตรีในห้องบันทึกเสียง นักสร้างสรรค์เนื้อหา และการเรียนรู้ในยุคใหม่พบว่าการเรียนดนตรีไทยสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อออนไลน์ที่มีเนื้อหาที่ครบถ้วน การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วยบทที่ 1 ประวัติของผู้เชี่ยวชาญ บทที่ 2 กระบวนการถ่ายทอดความรู้ บทที่ 3 เทคนิคการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่ง | |
dc.description.abstract | This research aims to: (1) examine the biographical backgrounds of Khlui experts in Thai country songs; (2) explore knowledge transmission in Khlui playing Thai country songs; and (3) create an educational e-book on Khlui. The study employed a qualitative approach, specifically interpretative phenomenology, and purposive sampling to select seven recognized Khlui performance experts. Data was collected through in-depth interviews and participant observation. The research findings reveal that all seven Khlui experts who specialized in Thai country songs showcased remarkable expertise and extensive experience, earning recognition for their contributions to Khlui performances. The study details the knowledge and technique transfer process, covering principles, methods for different age groups, steps, and psychological aspects. The study identifies various Khlui playing techniques, such as seating, posture, handling, airflow, finger system selection, and Khlui selection. The study highlights phenomena such as the historical evolution of Khlui-Thai, contemporary livelihood conditions for Khlui players, and adaptations to modern learning methods. The electronic book includes (1) the biographical backgrounds of Khlui experts in Thai country songs; (2) the transmission of knowledge for performing Khlui in Thai country songs; and (3) playing techniques for playing Khlui for Thai country songs style. | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Mahidol Music Journal. ปีที่ 7, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2567), 54-71 | |
dc.identifier.issn | 2774-132X (Online) | |
dc.identifier.issn | 2586-9973 (Print) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/110225 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | Knowledge Transmission Process | |
dc.subject | Technique for Playing Khlui | |
dc.subject | Thai Country Songs | |
dc.subject | กระบวนการถ่ายทอดความรู้ | |
dc.subject | เทคนิคการบรรเลงขลุ่ย | |
dc.subject | บทเพลงไทยลูกทุ่ง | |
dc.title | กระบวนการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่ง | |
dc.title.alternative | THE TRANSMISSION PROCESS OF KNOWLEDGE AND TECHNIQUE FOR PLAYING KHLUI IN THAI COUNTRY SONGS | |
dc.type | Article | |
dcterms.accessRights | open access | |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mmj/article/view/271240/184890 | |
oaire.citation.endPage | 71 | |
oaire.citation.issue | 2 | |
oaire.citation.startPage | 54 | |
oaire.citation.title | Mahidol Music Journal | |
oaire.citation.volume | 7 | |
oaire.version | Accepted Manuscript | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ |
Files
Original bundle
1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
- Name:
- ms-ar-dhanyapo-2567-1.pdf
- Size:
- 578.22 KB
- Format:
- Adobe Portable Document Format