MS-Article
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/21
Browse
Recent Submissions
Publication Open Access การใช้เรื่องราวทางสังคมผ่านการเล่านิทานร่วมกับสถานการณ์จำลอง เพื่อพัฒนาทักษะการรอคอยในเด็กที่มีภาวะออทิซึม(2566) วาสนา วงค์เสน; นัทธี เชียงชะนา; ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล; Wasana Wongsen; Natee Chiengchana; Teerasak Srisurakulการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เรื่องราวทางสังคมผ่านการเล่านิทานร่วมกับสถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาทักษะการรอคอยในเด็กที่มีภาวะออทิซึม อายุ 7 ปี เพศหญิง จำนวน 1 คน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยกรณีศึกษากรณีเดี่ยว รูปแบบ ABAB ประกอบด้วย การเก็บข้อมูลในระยะเส้นฐาน (A) และการใช้เรื่องราวทางสังคมผ่านการเล่านิทานร่วมกับสถานการณ์จำลอง (B) ดำเนินการทดลองจำนวนทั้งหมด 12 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบคัดเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยและประเมินทักษะพื้นฐาน (2) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และ (3) แบบประเมินทักษะการรอคอย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์กราฟแสดงผลการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการรอคอย ผลการวิจัย พบว่า ในระยะเส้นฐาน (A1) มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการรอคอย 0.83 คะแนน ต่อมาระยะการใช้เรื่องราวทางสังคมผ่านการเล่านิทานร่วมกับสถานการณ์จำลอง (B1) มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการรอคอยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.26 คะแนน เมื่อประเมินในระยะเส้นฐาน (A2) อีกครั้ง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการรอคอยเพิ่มขึ้นเป็น 1.45 คะเนน และในระยะที่มีการใช้เรื่องราวทางสังคมผ่านการเล่านิทานร่วมกับสถานการณ์จำลอง (B2) มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการรอคอยเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.79 คะแนน สรุปได้ว่า การใช้เรื่องราวทางสังคมผ่านการเล่านิทานร่วมกับสถานการณ์จำลองสามารถช่วยส่งเสริมทักษะการรอคอยในเด็กที่มีภาวะออทิซึมได้Publication Open Access ผลของดนตรีบำบัดรูปแบบเสมือนจริงที่มีต่อทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม: การวิจัยกรณีศึกษาเดี่ยว(2566) ธีร์ดา รูปสุวรรณ; นัทธี เชียงชะนา; อำไพ บูรณประพฤกษ์; Teeda Rupsuwan; Natee Chiengchana; Ampai Buranaprapukการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของดนตรีบำบัดรูปแบบเสมือนจริงที่มีต่อทักษะการคิดเชิงบริหาร 5 ด้าน ประกอบด้วยความจำเพื่อการใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง การยืดหยุ่นความคิด การควบคุมอารมณ์ และการวางแผน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยกรณีศึกษาเดี่ยวแบบผสมระหว่างการวิจัยแบบ ABA Single-Case Design และ Qualitative Single-Case Design ในเด็กที่มีภาวะออทิสซึม กิจกรรมดนตรีบำบัดออนไลน์จัดขึ้นทั้งสิ้น 8 ครั้งสำหรับเด็กชายที่มีภาวะออทิสซึมอายุ 5 ปีและมารดา เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลได้แก่ แบบประเมินพัฒนาการด้านความคิดเชิงบริหาร (MU.EF-101) และแบบประเมินปัญหาพฤติกรรมด้านความคิดเชิงบริหาร (MU.EF-102) คะแนนของทักษะการคิดเชิงบริหารถูกวิเคราะห์โดยใช้กราฟ แบบบันทึกการสังเกต และแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองถูกนำมาใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็ก ผลวิจัยพบว่า ในช่วง Baseline A1 คะแนนเฉลี่ยของพัฒนาการด้านความคิดเชิงบริหารจาก MU.EF-101 เท่ากับ 94.50 และคะแนนเฉลี่ยของปัญหาพฤติกรรมด้านความคิดเชิงบริหารจาก MU.EF-102 เท่ากับ 60 ระหว่างช่วงบำบัด คะแนน MU.EF-101 เพิ่มมากขึ้นจนถึง 111 และคะแนน MU.EF-102 ลดลงจนถึง 38.5 ในช่วง Baseline A2 คะแนนเฉลี่ยของ MU.EF-101 เท่ากับ 112.50 และ MU.EF-102 เท่ากับ 34.67 จากผลวิจัยสรุปได้ว่า ดนตรีบำบัดรูปแบบเสมือนจริงมีผลต่อการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารในเด็กที่มีภาวะออทิสซึมPublication Open Access ผลของกิจกรรมดนตรีบำบัดตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในผู้สูงอายุ(2566) ธเนศพล อุบลรัตน์; นัทธี เชียงชะนา; นิอร เตรัตนชัย; Thanetpon Ubonrat; Natee Chiengchana; Nion Tayrattanachaiการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับทักษะสังคมของผู้สูงอายุ ก่อน ระหว่าง และหลังการทำกิจกรรมดนตรีบำบัดตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จากสถาบันผู้สูงอายุแมคเคน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรมดนตรีบำบัดแบบกลุ่ม จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 40-45 นาที เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ กิจกรรมดนตรีบำบัดตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมทักทาย 2) กิจกรรมเข้าจังหวะ 3) กิจกรรมร้องเพลง 4) กิจกรรมเล่นเครื่องดนตรีเป็นกลุ่ม และ 5) กิจกรรมอำลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบประเมินการทำดนตรีบำบัดรายบุคคลด้านทักษะทางสังคม และ 3) แบบสังเกตการณ์ระหว่างกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทักษะทางสังคมในผู้สูงอายุ ก่อน ระหว่าง และหลังการร่วมกิจกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมดนตรีบำบัดตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ สามารถช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมในผู้สูงอายุได้ จากการประเมินทักษะด้านสังคมรายด้านและโดยภาพรวม พบว่า ทักษะสังคมจำนวน 11 ด้าน จากทั้งหมด 12 ด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยทักษะทางสังคมภาพรวมหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีบำบัดมีระดับสูงขึ้น เมื่อเทียบกับก่อน และระหว่างการร่วมกิจกรรมดนตรีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Publication Open Access Overcoming The Difficulties Faced by Unperformed Thai Operas in The Modern Era(2022) Fueanglada Prawang Carlson; เฟื่องลดา ประวัง คาร์ลสัน; Mahidol University. College of MusicThroughout history there have been a number of operas written by Thai composers. Sadly, five of these Thai operas remain unperformed to this day. Rather than abandoning these cancelled works to history, there is the potential to learn from their failures as a means to assist future Thai opera productions. This academic article is focused on overcoming the issues that these unperformed operas endured. Four key reasons emerged for their failure, these being culture, politics, popularity and financial support. These obstacles were not easy to remedy at the time, however, could we now utilise modern technology to overcome such hurdles? This led to the question of whether future operas could avoid this dreaded unperformed status by outlining modern solutions to these past problems. This investigation is vital, with many young Thai composers eager to produce operas. By highlighting the challenges that unperformed operas have faced, and offering counter measures, the hope is for future generations to attune their own creative process to evade these barriers.Publication Open Access Performance Practice of “Kanf Kao Gin Gluy” for Piano Four Hands by Wiwat Suthiyam(2022) Sornsuang Tangsinmonkong; ศรสรวง ตั้งสินมั่นคง; Mahidol University. College of Music. Piano Department“Kang Kao Gin Gluay” is a popular Thai traditional tune which had a long historical background since the Ayutthaya Kingdom. Wiwat Suthiyam, a Thai contemporary composer, brought this famous tune to compose theme and variations for piano four hands in the style of significant famous 20th century composers such as Witold Lutosławski, Olivier Messiaen, Sergei Prokofiev, Francis Poulenc, Sergei Rachmaninoff, and Dmitri Shostakovich. This composition has become essential for pianists and advanced students who are interested in playing various compositional styles in one piece. To play this composition distinctively, it requires not only musical interpretation but also technical and ensemble skills. This article will go through the composition background and focus on performance practice in each variation as well as significant aspects in each variation including character, form, compositional style, pedal, rhythmic complexity, articulations, dynamics, melody, harmony, ensemble, texture and technique will be pointed out and suggestion for practicing will be given.Publication Open Access ชุดกิจกรรมดนตรีเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนวัดด่านสำโรง(2564) ชาธิษากมณฐ์ ธิติกุลธรณ์; ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน; ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล; Chathisakamon Thitikultorn; Dhanyaporn Phothikawin; Preeyanun Promsukkul; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์การวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสารนิพนธ์ เรื่อง “ชุดกิจกรรมดนตรีเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนวัดด่านสำโรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมดนตรีเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนวัดด่านสำโรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ทั้งก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ดนตรี โดยชุดกิจกรรมดนตรีเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนวัดด่านสำโรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนวัดด่านสำโรง ปีการศึกษา 2563 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมดนตรีเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน (3) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติ t-test dependent ด้วยโปรแกรม excel ผลการวิจัย พบว่า (1) การสร้างชุดกิจกรรมดนตรีเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ได้ศึกษาหลักสูตรปฐมวัยการศึกษา พุทธศักราช 2560 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมโยงไปกับทักษะทางดนตรีทั้ง 6 ทักษะ แล้วนำมาทำการสร้างชุดกิจกรรมและแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมตามลำดับขั้น ทั้ง 6 กิจกรรม ได้แก่ (1.1) กิจกรรมเสียงและการค้นพบ (1.2) กิจกรรมโด เร มี ฮัมเป็นเพลง (1.3) กิจกรรมมาเล่นกันเถอะ มาขยับกันเถอะ (1.4) กิจกรรมรถบัสแห่งจินตนาการ (1.5) กิจกรรมพยางค์จังหวะ (1.6) กิจกรรมนิทานเพลงสร้างสรรค์ (2) ผลการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ทั้งก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ดนตรี โดยชุดกิจกรรมดนตรีเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Publication Open Access การวิเคราะห์และแนวทางการฝึกซ้อมเพื่อการแสดง บทประพันธ์ “โหมโรงพระปรางค์สามยอด” สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม(2565) วิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ; อภิวัฒน์ สุริยศ; Viskamol Chaiwanichsiri; Apiwat Suriyos; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์; มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บทประพันธ์ “โหมโรงพระปรางค์สามยอด” เป็นผลงานประพันธ์เพลงสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม ประพันธ์โดย วิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากหนึ่งในสถานที่สำคัญในจังหวัดลพบุรี ได้แก่ พระปรางค์สามยอด ในการสร้างสรรค์ผลงานนี้ผู้ประพันธ์ได้นำองค์ประกอบทางวัฒนธรรมดนตรีของไทยมาใช้ ได้แก่ ทำนอง “ระบำลพบุรี” อันเป็นบทเพลงประจำจังหวัดลพบุรีและทำนอง “ลิงกับเสือ” ที่สื่อความหมายแทนลิง อันเป็นสัตว์เอกลักษณ์ประจำจังหวัดลพบุรี อีกทั้งได้นำเทคนิค “เหลื่อม” ในดนตรีไทย มาใช้ในการสร้างสรรค์บทเพลง นอกจากนี้ผู้ประพันธ์ได้นำเทคนิคการพัฒนาทำนองดนตรี การเขียนแนวทำนองสอดประสาน และเรียบเรียงเสียงประสานในรูปแบบตะวันตกมาใช้ เพื่อสร้างสีสันให้บทประพันธ์มีความงดงามมากยิ่งขึ้น บทความชิ้นนี้มุ่งวิเคราะห์โครงสร้างและทำนอง ตลอดจนการนำเสนอแนวทางการฝึกซ้อมในจุดที่สำคัญ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้นำบทเพลงไปแสดงและผู้ที่สนใจการประพันธ์เพลงที่มีกลิ่นอายความเป็นวัฒนธรรมไทยต่อไปPublication Open Access วิธีการบำบัดทางดนตรี: การวิเคราะห์เนื้อหาจากงานวิจัย(2558) นัทธี เชียงชะนา; สมชัย ตระการรุ่ง; Natee Chiengchana; Somchai Trakranrung; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาวิชาดนตรีศึกษา; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา. ภาควิชาหูหนวกศึกษาการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาด้านวิธีการบำบัดทางดนตรีจากงานวิจัยทางดนตรีบำบัดในประเทศไทย งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์มีจำนวนทั้งหมด 65 เรื่อง เป็นงานวิจัยที่เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2528 – 2553 จากสถาบันการศึกษา 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกสาระด้านวิธีการบำบัดทางดนตรี จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เพื่อจำแนกและจัดหมวดหมู่สาระจากงานวิจัย ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า รูปแบบวิธีการบำบัดทางดนตรีที่ใช้มากที่สุด คือ กิจกรรมการฟังดนตรี (ร้อยละ 55.4) รองลงมาคือ กิจกรรมดนตรีที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการฟัง การร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรี การเคลื่อนไหว และการสร้างสรรค์ (ร้อยละ 10.8) กิจกรรมดนตรีดังกล่าวใช้บำบัดผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมากที่สุด (ร้อยละ 23.1) โดยส่วนใหญ่เน้นองค์ประกอบดนตรีด้านอัตราจังหวะเป็นหลักในการบำบัด (ร้อยละ 13.8) สำหรับทักษะดนตรีที่ใช้มากที่สุดในการบำบัดคือ ทักษะการฟัง (ร้อยละ 67.7) โดยส่วนใหญ่เป็นการฟังผ่านดนตรีบันทึก (ร้อยละ 70.8) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อบำบัดความเจ็บปวดมากที่สุด (ร้อยละ 20) รองลงมาใช้ลดความวิตกกังวล (ร้อยละ 16.9) ในด้านการสรุปผลที่ได้จากการบำบัดทางดนตรี พบว่า ผลการวิจัยส่วนใหญ่มีความสอดคล้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย (ร้อยละ 69.2) แสดงให้เห็นว่าดนตรีมีประสิทธิผลต่อการบำบัดและการส่งเสริมสุขภาพPublication Metadata only การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโสตทักษะในระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษา หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2563) พิมตะวัน ลาภวณิชย์; พิมลมาศ พร้อมสุขกุล; ชาลินี สุริยนเปล่งแสง; ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาวิชาดนตรีศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาโสตทักษะในระดับอุดมศึกษาใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอน 2) ด้านวิธีการสอน 3) ด้านเนื้อหาสาระการเรียนการสอน 4) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล โดยศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตการสอนแบบไม่มีส่วนร่วม จากอาจารย์ผู้สอนรายวิชาการฝึกโสตและการอ่านโน้ต จำนวน 3 คน ตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 3 คน และหัวหน้ารายวิชาการฝึกโสตและการอ่านโน้ต จำนวน 1 คน ผลวิจัยพบว่า 1) ด้านการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอน กำหนดโดยหัวหน้ารายวิชา ผู้สอน 2 คน เน้นการสอนเรื่องเสียงประสาน ผู้สอน 1 คน เน้นการสอนในทุกเรื่อง 2) ด้านวิธีการสอน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ ใช้วิธีการสอนแบบผสมผสาน คือ การบรรยาย การสาธิตและการปฏิบัติ 3) ด้านเนื้อหาสาระในการเรียนการสอน เป็นไปตามคำอธิบายวิชาและเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ มีการนัดหมายเพิ่มเติมให้แก่ผู้เรียนในหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจหรือยังปฏิบัติได้ไม่ดี 4) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนและกิจกรรมขึ้นอยู่กับผู้สอนแต่ละคน และมีเปียโนเป็นสื่อการสอนอยู่เสมอ 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล การวัดผลจะเป็นการเก็บคะแนนและมีการแบ่งสัดส่วนคะแนนอย่างชัดเจน มีการวัดผลทั้งระหว่างเรียนและหลังเรียนและมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวัดผล โดยจากการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนและผู้เรียน ได้ให้ข้อเสนอแนะเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนว่า ควรกำหนดจุดประสงค์อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้สอนปฏิบัติตามได้ถูกต้องและเป็นทิศทางเดียวกันและควรมีการประชุมร่วมกันอยู่เสมอ ควรใช้วิธีการสอนแบบผสมผสาน คือ การบรรยาย การสาธิต การปฏิบัติ ควรจัดเวลาในการสอนเสริมในหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจหรือยังปฏิบัติได้ไม่ดี ผู้สอนควรใช้เปียโนเป็นสื่อการสอนและมีสื่อการสอนเพิ่มเติม เช่น สื่อทางเทคโนโลยี และควรมอบหมายการบ้านให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ การวัดผลควรแบ่งสัดส่วนของคะแนนชัดเจนPublication Open Access การพัฒนาแบบฝึกเพื่่อการบรรเลงเดี่่ยวขิมเพลงลาวแพน(2564) กันตภน เรืองลั่น; ณัฐชยา นัจจนาวากุล; กานต์ยุุพา จิตติวัฒนา; Kantapol Ruanglun; Nachaya Natchanawakul; Karnyupha Jittivadhna; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาดนตรีศึกษา; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาการศึกษาทั่วไปการวิจัยเรื่องการพัฒนาแบบฝึกเพื่อการบรรเลงเดี่ยวขิมเพลงลาวแพน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีขอบเขตการสร้างแบบฝึกเพื่อใช้สำหรับเพลงลาวแพน ทางศาสตราจารย์ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ เท่านั้นจากการศึกษาพบว่า เดี่ยวขิมเพลงลาวแพน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เพลงลาวแพนใหญ่ และซุ้มลาวแพนใช้หน้าทับลาว ในอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียวเพลงลาวแพนเป็นเพลงที่มีท่วงทำนองกระชับสนุกสนานมีการใช้เสียงกระทบซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเสียงแคนเมื่อนำมาสร้างเป็นทางเดี่ยวขิมจึงพบว่าสามารถเลียนแบบเสียงประสานในแคนได้เป็นอย่างดี พบเทคนิคการบรรเลงจำนวน 12 เทคนิค ซึ่งแบ่งออกเป็นเทคนิคการสร้างเสียงประสาน เทคนิคการตีเก็บ เทคนิคการกรอเสียง และเทคนิคการสร้างเสียงพิเศษเฉพาะ ซึ่งเมื่อนำมาพัฒนาสามารถสร้างแบบฝึกได้ 26 แบบฝึก ลาวแพนเป็นเพลงเดี่ยวสูงที่ต้องอาศัยทักษะการบรรเลงเฉพาะตน แบบฝึกที่สร้างขึ้นจึงมุ่งเน้นการฝึกฝนเทคนิคต่างๆ โดยถอดโครงสร้างรูปแบบ ท่วงทำนองของเพลงลาวแพนมาใช้ในการสร้างแบบฝึกด้วยกลุ่มเสียงสำคัญของเพลง คือ ฟ ซ ล x ด ร x เป็นพื้นฐานในการสร้างแบบฝึก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคุ้นเคยกับกลุ่มเสียงนอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบฝึกที่ไล่เรียงจากง่ายไปยากมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน มุ่งฝึกทักษะด้านจังหวะ ความแม่นยำและรสมือของผู้เรียนPublication Open Access การใช้เนื้อเพลงเพื่อการสื่อสารทางการตลาดผ่านสื่่อสังคมออนไลน์ ของธุุรกิจค่ายเพลงในประเทศไทย กรณีศึกษาเฟซบุ๊กแฟนเพจ(2564) เพียงรำไพ สิทธิโสภณ; ตรีทิพ บุญแย้ม; อำไพ บูรณประพฤกษ; Piangrumpai Sitthisopon; Treetip Boonyam; Ampai Buranaprapuk; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาธุรกิจดนตรี; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาดนตรีวิทยาการวิจัยการใช้เนื้อเพลงเพื่อการสื่อสารทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของธุรกิจค่ายเพลงในประเทศไทย กรณีศึกษาเฟซบุ๊กแผนเพจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดของสาร (messages) ที่มีเนื้อเพลงประกอบ ศึกษาวัตถุประสงค์การเผยแพร่สารที่มีเนื้อเพลงประกอบ รวมถึงการตอบสนองกลับของผู้รับสารที่มีเนื้อเพลงประกอบจากการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กแฟนเพจของธุรกิจค่ายเพลงในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้ได้แนวทางในการจัดทำและพัฒนาสารที่ใช้เนื้อเพลงเพื่อการสื่อสารทางการตลาดแก่ผู้ประกอบการธุรกิจค่ายเพลงและธุรกิจด้านดนตรี โดยผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารทำการเก็บข้อมูลสารที่มีเนื้อเพลงประกอบที่เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กแฟนเพจของธุรกิจค่ายเพลงย้อนหลังเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งได้แก่ ค่ายเพลงวอทเดอะ ดัก และค่ายเพลงสไปร์ซซี่ดิสก์ และบันทึกข้อมูลลงตารางที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ในการจัดทำเอกสารที่ใช้เนื้อเพลงประกอบนั้น ควรเลือกใช้วิธีการเผยแพร่รูปภาพควบคู่กับคำบรรยายโพสต์ โดยใส่เนื้อเพลงในรูปภาพหรือคำบรรยายโพสต์เป็นหลัก ซึ่งควรเป็นภาพจากมิวสิกวิดีโอและภาพที่จัดทำขึ้นมาใหม่ที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเพลงที่ใช้เผยแพร่โดยไม่ควรใช้ภาพหลายๆ ภาพต่อการเผยแพร่สาร1 ครั้งในส่วนของเนื้อเพลงควรเลือกใช้เนื้อเพลงจากท่อน Verse ท่อน Chorusหรือท่อน Bridge เพียง 1 ท่อน ในการจัดทำสาร ไม่ควรใส่เนื้อเลงจากหลากหลายท่อนเพลง หรือใส่เนื้อเพลงจากทั้งเพลงร่วมกันในสารเดียว ทั้งยังไม่ควรใส่เนื้อเพลงที่มีจำนวนมากกว่า 4 บรรทัดหรือมากกว่า 30 พยางค์ รวมถึงไม่ควรใช้เนื้อเพลงจากหลากหลายเพลงหรือหลากหลายศิลปินร่วมกันต่อการเผยแพร่สาร 1 ครั้งPublication Open Access Exploring Twelve-Tone Techniques: Anton Webern’s Variations for Piano, Op. 27(2019) Duangruthai Pokaratsiri; ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ; Mahidol University. College of MusicVariations for Piano, Op. 27 is the only major solo piano repertoire by Anton Webern. The composition consists of three movements composed with twelve-tone technique with total serialism in term of pitch, dynamics, and articulation. The piece also displays Webern late musical style, outlined by the use of few chords, disjunct intervals, grace notes, and hand-crossing. In spite of the use of twelve-tone technique, the piece display composer’s approach in classical form of theme and variation in the third movement and the contrapuntal style of canon in the second movement. All three movements of Variations for Piano, Op. 27 are based on one basic tone row: E-F-C#-Eb-C-D-G#-A-Bb-F#-G-B. In this article, the treatment of twelve-tone technique in each of the movement will be discussed as well as the musical structure, style, and interesting elements.Publication Open Access การเรียนการสอนการขับร้องประสานเสียง โรงเรียนบ้านเทอดไทย(2563) ช่อลดา สุุริยะโยธิน; Chorlada Suriyayothin; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาวิชาการขับร้องและละครเพลงบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่่อนำเสนอความรู้เบื้องต้นของการขับร้องประสานเสียงการร้องเพลง การเปล่งเสียง และหลักการสร้างวงขับร้องประสานเสียงที่มีคุณภาพ กลุ่มลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มนักเรียนที่่เป็นคณะนักร้องประสานเสียงฝั่งประถมศึกษาของโรงเรียนจากการลงพื้้นที่่พบว่า นักเรียน บางคนไม่สามารถออกเสียงในการขับร้องรวมถึงการออกเสียงภาษาไทยได้อย่างชัดเจน นักเรียนบางคนยังไม่ เข้าใจจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนการขับร้องประสานเสียง และบทเรียนมาตรฐานบางบทไม่สามารถใช้เพื่อ สื่อถึงอารมณ์ของเพลงบางเพลงได้ จากการสังเกตและวิเคราะห์ถึงปัญหาแล้ว ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาบทเรียนและกิจกรรม การขับร้องประสานเสียง ดังนี้้ การเลือกใช้แบบฝึกหัดเพื่อการเปล่งเสียงขับร้อง แบบฝึกหัดในการนำ เสียงสระ มาใช้ในการฝึกเปล่งเสียงภาษาไทย และกระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจจุดมุ่งหมายในการฝึกซ้อม ผลที่ได้ทำให้วงขับร้อง ประสานเสียงของโรงเรียนแห่งนี้มีคุณภาพที่ดีขึ้น นอกจากนั้นแล้วการขับร้องประสานเสียงนี้้เป็นกิจกรรมที่พัฒนา ทักษะการเปล่งเสียงของนักเรียนและปรับปรุุงทักษะการประยุุกต์และเลือกแบบฝึกหัดในการสอนของครูผู้สอน ให้สอดคล้องกับอารมณ์ของเพลงให้ดีขึ้นPublication Open Access ความเป็นครูต้นแบบด้านดนตรีไทยของครูชยุดี วสวานนท์(2564) อนุกููล แว่นประโคน; ณัฐชยา นัจจนาวากุุล; Anukul Vanprakhon; Nachaya Natchanawakul; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาวิชาดนตรีศึกษา; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของคุณครูชยุุดี วสวานนท์ และศึกษา ความเป็นครูต้นแบบทางด้านดนตรีไทย โดยการวิจัยเชิงคุุณภาพ จากการศึกษาพบว่า ประสบการณ์และอัต ลักษณ์ความเป็นครูดนตรีของครูชยุดี วสวานนท์นั้น เกิดจากการหล่อหลอมมาจากบิดา คือ คุณพ่อพยนต์ ว สวานนท์ โดยได้รับการบ่มเพาะความเป็นนักดนตรีที่มีฝีมือขั้นสููง จนเป็นผู้มีความเป็นเลิศทางด้านการตีขิม ซึ่่ง เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเป็นครููต้นแบบทางด้านดนตรีไทย พบว่าท่านเป็นผู้มีลักษณะความเป็นครูู 3 ด้าน คือ 1. ความรู้ท่านเป็นผู้มีความรอบรู้มีความสามารถทางด้านการตีขิมในขั้นสููง มีทักษะและเทคนิคที่เป็น แบบอย่างเฉพาะของตนเอง สามารถสร้างสรรค์ทางบรรเลงขิมให้มีความโดดเด่นได้ อีกทั้งท่านยังเป็นผู้นำในการ ผู้ อนุรักษ์ มีความรอบรู้ สามารถถอธิบายองค์ความรู้ได้อย่างชัดเจน 2. คุุณธรรม จริยธรรม ท่านมีความวิริยะอุตุ สาหะ มีความขยันหมั่นเพียร ประหยัดเสียสละ อดทนและมีความเชื่่อมั่นในตนเอง เป็นผู้มีคุุณธรรมสููง เป็นแบบอย่่าง ในการทำความดีมีความกตัญญููกตเวทีและทำนุุบำรุุงพระพุุทธศาสนา มีความรัก ความห่วงใยและปรารถนาดี ต่อศิษย์ มีความสมถะและรักสันโดษ มีมารยาทดีอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาลเทศะ ให้ความสำคัญกับเรื่่องระเบียบ วินัย ท่านได้สร้างลููกศิษย์ทั้งเรื่่องความตรงต่อเวลา การฝึกซ้อม และเน้นย้ำเรื่่องธรรมเนียมปฏิบัติมารยาทของ การเป็นนักดนตรีที่่่ดี 3. ทักษะท่านเป็นผู้มีความสามารถทางด้านศิลปะขั้นสููง มีทักษะและเทคนิคการถ่ายทอด ที่เป็นแบบอย่างเฉพาะของตนเอง โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นความแตกต่างระหว่างบุุคคล ช่วงวัย และพื้้นฐานความรู้ท่านใช้ศิลปะการสอนโดยใช้แรงเสริมด้านบวกในการกระตุ้นผู้เรียน ให้มีกำลังใจ ใช้กระบวนการสอนโดยการแบ่งกลุ่ม โดยครููจะเป็นผู้คัดเลือกผู้นำในแต่ละกลุ่มทำหน้าที่ช่วยสอน ภายใต้การดููแลของครููอีกขั้นหนึ่่ง นอกจากนั้นยังใช้กระบวนการสอนแบบเพื่่อนช่วยเพื่อน พี่ ช่วยน้อง ส่งผลให้ เกิดปฏิสัมพันธ์ที่่ดีระหว่างลููกศิษย์ต่างวัย คุุณลักษณะทั้ง 3 ประการ ถููกพัฒนามาจนกลายเป็นลักษณะนิสัยและ สั่งสมเป็นประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการหล่อหลอมให้ท่านเป็นครููต้นแบบด้านดนตรีไทยมาจนทุุกวันนี้Publication Open Access Selected Didactic works for Keyboards by Johann Sebastian Bach(2019) Onpavee Nitisingkarin; อรปวีณ์ นิติศฤงคาริน; Mahidol University. College of MusicJ.S. Bach is known as the great organist and composer in Baroque period. There are many compositions he composed for a commission, leisure, church, and many more. However, it could be seen as well that one genre of his composition that lends a huge impact to musicians in the next generations until today, is the pedagogical work. This document provides a discussion about selected didactic repertoire by Johann Sebastian Bach. There is a discussion about J.S. Bach’s pedagogical method which led to the reason why he would write a piece of music to make a connection between such technical or musical issues and the actual composed music. The selected repertoire illustrated in this paper are the first, three Clavierbüchlein for Wilhelm Friedemann Bach, and the other two for Anna Magdalena Bach. The second selected set are, Aufrichtige Anleitung or two-part and three-part inventions and eventually, the third selected set is The Well-tempered Clavier. The general information about each works as well as historical background and significant information regarding to specific pieces such as sinfonia no. 1, 6, and 11 in the selected set are also provided in this paper. This document also examined historical line of some musical genre, for example, an emergence of prelude and fugue as well as the development of this genre from then until these days. This document will help expanding the understanding of Bach’s didactic works especially in the keyboard pedagogy area.Publication Open Access การจัดกิจกรรมการสอนดนตรีไทยสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรม: กรณีศึกษาโรงเรียนดนตรีบ้านเก่งขิม(2562) กฎพร ไกรมงคลประชา; ตรีทิพ บุญแย้ม; Kotporn Kraimongkolpracha; Treetip Boonyam; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาธุรกิจดนตรีานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการสอนดนตรีไทยและพฤติกรรมของ เด็กดาวน์ซินโดรมที่เข้าร่วมกับการจัดกิจกรรมทางดนตรีของโรงเรียนดนตรีบ้านเก่งขิม โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบศึกษาเฉพาะกรณี ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการสอนดนตรีไทยสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรมของโรงเรียนดนตรีบ้าน เก่งขิมมี 3 รูปแบบ คือ การสอนแบบเน้นการฟังและการร้องเพลง การสอนแบบเน้นการเคลื่อนไหวและการก ล้าแสดงออกร่วมกับกิจกรรมทางดนตรี และการสอนแบบเน้นการเลียนแบบและทำซ้ำ ผลคือ ผู้ที่เป็นกรณีศึกษา ได้รับการพัฒนาทักษะสำคัญ ได้แก่ ทักษะทางอารมณ์ มีแรงจูงใจในการเรียนที่ดี ทักษะทางสังคม มีความกล้า แสดงออก และเกิดการเรียนรู้ทักษะทางด้านดนตรี ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้ที่เป็นกรณีศึกษาเป็นไปในทางที่ดี ช่วงของสมาธิในการจดจ่อยาวนานมากขึ้น มีความสุขในการปฏิบัติเครื่องดนตรีขิม อีกทั้งดนตรียังช่วยแก้ไข ปัญหาความบกพร่องด้านร่างกายและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดPublication Open Access การรับมือกับความไม่แน่นอนของคนดนตรี: กรณีศึกษาปัญหาในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคระบาด COVID-19 ในประเทศไทย(2563) ตรีทิพ บุุญแย้ม; Treetip Boonyam; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาธุรกิจดนตรีผู้ประกอบอาชีพในธุุรกิจดนตรีได้รับผลกระทบอย่างมากต่อการระบาดของโรคระบาด COVID-19 เนื่องจาก ในประเทศไทยเองมีการออก พรก.ฉุุกเฉิน เพื่่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคด้วยการงดการชุุมนุุมของคน จำนวนมาก ส่งผลต่อการประกอบอาชีพด้้านดนตรีต่อเนื่่องมาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา และมี แนวโน้มว่าอาชีพนี้จะได้รับการผ่อนปรนเป็นอาชีพสุุดท้าย ผลการสำรวจเบื้องต้นด้วยแบบสำรวจผ่าน Google form กับผู้ประกอบอาชีพดนตรีในประเทศไทยพบว่า ผู้ประกอบอาชีพนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยรายได้ หายไปกว่าร้อยละ 50 จากรายได้เดิมที่เป็นอยู่ และพบว่านักดนตรีหรือนักร้องได้รับผลกระทบมากที่่สุด ในขณะ ที่ครููสอนดนตรีได้รับผลกระทบน้อยที่่สุุด การปรับตัวของผู้ประกอบอาชีพนี้คือการใช้เงินเก็บและการประกอบ อาชีพเสริม ในขณะที่กว่าร้อยละ 50 รู้สึกไม่สามารถทนต่อสถานการณ์เช่นนี้ได้อีกต่อไป ในบทความนี้ผู้เขียน นำ เสนอวิธีการรับมือของผู้ประกอบอาชีพดนตรีในต่างประเทศ และแนวทางการเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่ แน่นอนต่อไปในอนาคตด้วยทฤษฎี I-ADAPT ให้แก่ผู้ประกอบอาชีพในธุุรกิจดนตรีPublication Open Access การศึกษากลวิธีในการสอนกีตาร์คลาสสิกผ่านเครือข่ายยูทูบ: กรณีศึกษาบทเพลง Romance de amor(2561) ดวงกมล ชัยวาสี; ตรีทิพ บุญแย้ม; ภาวัต อุปถัมภ์เชื้อ; Duangkamol Chaiwase; Treetip Boonyam; Pawat Ouppathumchua; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. สาขาธุรกิจดนตรีการวิจัยเรื่องการศึกษากลวิธีในการสอนกีตาร์คลาสสิกผ่านเครือข่ายยูทูบ กรณีศึกษาบทเพลง Romance de amor มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ในคลิปวีดิโอ รวมถึงศึกษากลวิธีในการ ดำเนินการสอนดนตรีในคลิปวีดิโอผ่านเครือข่ายยูทูบ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ คลิปวิดีโอการสอนกีตาร์คลาสสิก เพลง Romance de amor บนเครือข่ายยูทูบ ที่สามารถสืบค้นได้ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 จำนวนทั้ง สิ้น 21 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบบันทึก โดยการสังเกตและจดบันทึกเพื่อหารูปแบบและกลวิธีในการ สอนกีตาร์คลาสสิกผ่านเครือข่ายยูทูบ ผลการวิจัยพบว่า สามารถแยกกลุ่มคลิปวิดีโอการสอนกีตาร์คลาสสิกผ่าน เครือข่ายยูทูบกรณีศึกษาบทเพลง Romance de amor ได้โดยการวิเคราะห์ความถี่และใช้อัตราส่วนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มียอดผู้เข้าชมด้วยค่าเฉลี่ยระดับหลักหมื่นครั้งต่อเดือน กลุ่มที่มียอดผู้เข้าชมด้วยค่าเฉลี่ยระดับหลัก พันครั้งต่อเดือน กลุ่มที่มียอดผู้เข้าชมด้วยค่าเฉลี่ยระดับหลักร้อยครั้งต่อเดือน และกลุ่มที่มียอดผู้เข้าชมด้วยค่าเฉลี่ย ระดับหลักสิบครั้งต่อเดือน ทั้งนี้กลุ่มที่มียอดผู้เข้าชมด้วยค่าเฉลี่ยระดับหลักหมื่นครั้งต่อเดือนนั้นจะมีองค์ประกอบ ที่สำคัญ ได้แก่ 1) ภาพและเสียงคมชัด ได้ยินการดีดโน้ตตัวแรกและมีเสียงที่ชัดเจน 2) การใช้เทคนิคการสอนที่ หลากหลาย โดยนิยมแสดงเพลงก่อนเริ่มการสอน และสอนเฉพาะท่อนเพลงที่ได้รับความนิยม และ 3) การจัดภาพ หลักและพื้นหลังของผู้สอน โดยผู้สอนจะสวมเสื้อผ้าและใช้ภาพพื้นหลังเป็นสีดำ เพื่อทำให้มือของผู้สอนและกีตาร์ มีความเด่นชัดมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่มียอดผู้เข้าชมด้วยค่าเฉลี่ยระดับหลักร้อยครั้งต่อเดือน ถึงระดับหลักสิบครั้ง ต่อเดือนนั้น จะมีภาพและเสียงที่ไม่คมชัด ไม่มีการแสดงเพลงก่อนเริ่มการสอน ใช้ท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง ผู้สอนจะสวม เสื้อผ้าและใช้ภาพพื้นหลังเป็นสีอ่อนหรือมีลวดลายPublication Open Access Like Minds in Variations: Clara Schumann’s Variations on a Theme by Robert Schumann, op. 20(2020) Eri Nakagawa; Mahidol University. College of MusicRobert and Clara Schumann are known as an eminent musician couple in thenineteenth century. Beginning in 1853, the couple developed a close professional and personal friendship with Johannes Brahms. The author has been fascinated by the lives and works of the three magnificent musicians, and performed a recital including three sets of variations by the three composers: Clara Schumann’s Variations on a Theme by Robert Schumann, op. 20; Robert Schumann’s Theme and Variations in E-flat major, WoO 24; and Brahms’s Variations on a Theme by Robert Schumann, op. 9. All three sets were written in the period from 1853 to 1854; all reflect the beautiful relationships among the three musicians: mutual adoration of Robert and Clara Schumann, profound friendship between Clara and Brahms, Robert Schu mann’s enthusiastic admiration of Brahms, and Brahms’s sincere respect for Robert Schumann. This article focuses on Clara’s Variations op. 20, a set of seven variations written in May and June 1853, dedicated to her husband for his 43rd birthday. Discussions include the origin of the theme, Robert Schumann’s Bunte Blätter (Colored Leaves) op. 99; the implication of “Clara’s motives” in his theme; and an allusion to her earlier composition, Romance variée op. 3 into the final variation, which was inserted in Brahms’s Variations op. 9 first and then suggested to Clara to do the same for her own variations.Publication Open Access การศึกษาเชิงดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์ : ปี่อ้อของกลุ่มชนชาวเขมรถิ่นไทยจังหวัดสุรินทร์(2561) อนรรฆ จรัณยานนท์; Anak Charanyananda; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. ภาควิชาดนตรีวิทยาการวิจัยเรื่อง ดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์ของเครื่องดนตรีปี่อ้อในสังคมวัฒนธรรมกลุ่มชนชาวเขมรถิ่นไทยจังหวัด สุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดุริยางศาสตร์ชาติพันธุ์ ในด้านบริบททางสังคมวัฒนธรรม และ เครื่องดนตรีวิทยา ของเครื่องดนตรีปี่อ้อ รวมทั้งด้านดนตรีเชิงระบบ วิธีดำเนินการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทาง ดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์ และ เก็บรวบรวมข้อมูลหลักโดยใช้การสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลคุณภาพ และ การสังเกต เหตุการณ์ ในการออกศึกษาพื้นที่ภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า ปี่อ้อ (Pi-oo) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องเป่าลิ้นเดี่ยว ที่ใช้ในสังคมวัฒธรรมชาวเขมร ถิ่นไทย จังหวัดสุรินทร์ พบในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอปราสาท ปรากฏอยู่ในวงดนตรีพื้นบ้านกันตรึมมายาวนาน ทำหน้าที่เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงทำนองหลักในวง และทำนองประดับการขับร้อง วัสดุที่ใช้ทำแบ่งออกเป็นไผ่รวก ทำส่วนลำตัว และไม้อ้อ ทำลิ้นปี่แบบบีบดัดประกบ มีช่วงเสียงกว้าง 1 ช่วงทบ ใช้โน้ตหลักคือ F A♭ B♭ C D♭ E♭ เทคนิคการบรรเลงจะมีการบังคับริมฝีปากควบคุมความสั่นสะเทือน เสียงปี่อ้อมีลักษณะทุ้มต่ำเป็นการสร้างสมดุล กับเสียงซอตรัวที่ให้เสียงสูง การเป่าระบายลมทำให้ปี่อ้อมีเสียงดังต่อเนื่อง ปรากฏเป็นเสียงหึ่ง (Drone) ในขณะที่ ทำนองเพลงดำเนินไป รายละเอียดของเทคนิคประดับประดา การใช้ Wavering tone, trill เป็นคู่ 2-3, Turn, โน้ต สะบัด, ประ, กูลล์ การใช้งานในสังคมวัฒนธรรมชาวเขมรถิ่นไทย มีทั้งงานกิจกรรมสังคมที่เป็นมงคลและอวมงคล รวมทั้งการใช้ดนตรีประกอบพิธีรักษาไข้