Publication:
ปัจจัยทํานายความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสในเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี

dc.contributor.authorมลฤดี ยืนยาวen_US
dc.contributor.authorMonrudee Yuenyawen_US
dc.contributor.authorวัลยา ธรรมพนิชวัฒน์en_US
dc.contributor.authorWanlaya Thampanichawaten_US
dc.contributor.authorอาภาวรรณ หนูคงen_US
dc.contributor.authorApawan Nookongen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2018-06-11T09:09:59Z
dc.date.available2018-06-11T09:09:59Z
dc.date.created2561-06-11
dc.date.issued2555
dc.description.abstractวัตถุประสงค์:ศึกษาอํานาจการทํานายของความรู้เกี่ยวกับยาต้านไวรัส สิ่งช่วยเตือนความจํา และอาการซึมเศร้าของเด็กและรายได้ของครอบครัว ต่อความต่อเนื่องสม่ําเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสในเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี รูปแบบการวิจัย:การวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี อายุ 7-15 ปี ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และมารับบริการที่คลินิกโรคติดเชื้อ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลชัยภูมิ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และโรงพยาบาลสุรินทร์ จํานวน 132 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.7) รับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 95 ความรู้เกี่ยวกับยาต้านไวรัสเพียงตัวเดียวที่สามารถทํานายความต่อเนื่องสม่ําเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = .048) โดยกลุ่มที่มีความรู้มากเกี่ยวกับยาต้านไวรัส จะมีความต่อเนื่องสม่ําเสมอในการรับประทานยาเป็น 2.372 เท่าของกลุ่มที่มีความรู้น้อยเกี่ยวกับยาต้านไวรัสสรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาสนับสนุนถึงความจําเป็นที่ต้องมีการให้ความรู้เกี่ยวกับยาต้านไวรัสแก่เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นย้ําให้เด็กทราบว่า ถึงแม้ว่าร่างกายจะแข็งแรงขึ้นภายหลังได้รับการรักษาทางยามาระยะหนึ่งก็ตามก็ไม่ควรหยุดรับประทานยา เพราะจะทําให้เชื้อมีการดื้อยา ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง และเกิดการเจ็บป่วยง่ายen_US
dc.description.abstractPurpose: To determine the predictive power of children’s knowledge about antiretroviralmedication, reminder, and depression and family income on adherence to antiretroviral medication in children with HIV infection.Design: Descriptive research (cross-sectional study).Methods: Participants were 132 children with HIV infection who were 7-15 years old and came to receive antiretroviral treatment at the infectious disease clinics in Maharat Nakhon Rachasima hospital,Surin hospital, Buriram hospital, and Chaiyaphum hospital. Data were collected using interviews andquestionnaires. Descriptive statistics and logistic regression were used for data analysis.Main findings: Most participants (97.7%) had good medication adherence (≥ 95%). Knowledgeabout antiretroviral medication was the only significant predictor of medication adherence in childrenwith HIV infection (p = .048). Children with more knowledge about antiretroviral medication betteradhered to antiretroviral medication (2.372 times) than those with less knowledge about antiretroviralmedication.Conclusion and recommendations: The study findings suggest that an educational program to enhance knowledge about antiretroviral medication is essential for children with HIV infection.Particularly, the adherence to antiretroviral medication must be emphasized. Though they becomehealthy upon taking the medications for a period of time, they should not stop their medicationsbecause it may cause drug-resistance and failure of the immune system, thus making them susceptible to illness.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยบางส่วนจากสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และได้นําเสนอโปสเตอร์ในการเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ในการประชุมวิชาการ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าและสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก วันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐมen_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 30, ฉบับที่ 4 (ต.ค. - ธ.ค. 2555), 80-89en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/15267
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectยาต้านไวรัสen_US
dc.subjectเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีen_US
dc.subjectความรู้en_US
dc.subjectความต่อเนื่องสม่ําเสมอในการรับประทานยาen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.titleปัจจัยทํานายความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสในเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีen_US
dc.title.alternativePredictors of Adherence to Antiretroviral Medication in Children with HIV Infectionen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/10545

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-wanlaya-2555.pdf
Size:
186.38 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections