Publication:
แหล่งความเครียด วิธีการเผชิญความเครียด และผลลัพธ์การเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก

dc.contributor.authorมณฑา ลิ้มทองกุลen_US
dc.contributor.authorสุภาพ อารีเอื้อen_US
dc.contributor.authorMontha Limthongkulen_US
dc.contributor.authorSuparb Aree-Ueen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2020-02-20T03:38:18Z
dc.date.available2020-02-20T03:38:18Z
dc.date.created2563-02-20
dc.date.issued2552
dc.description.abstractงานวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งความเครียด วิธีการเผชิญ ความเครียด และผลลัพธ์การเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ในการฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก โดยใช้ทฤษฎีความเครียดและการเผชิญปัญหาของลาซารัสและโฟล์คแมน เป็นกรอบแนวคิดใน การศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของรัฐ จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงานครั้งแรก 3) แบบวัดวิธีการเผชิญความเครียดขณะขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลในคลินิกและ 4) แบบสอบถาม ความวิตกกังวล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองทั้งหมด วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายหาจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุที่ทำให้นักศึกษาเกิดความเครียดได้แก่ 1) การขาดทักษะในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล 2) สัมพันธภาพและการสื่อสาร 3) สิ่งแวดล้อมบนหอผู้ป่วย 4) การขาดความรู้ 5) ลักษณะ การนิเทศงานของอาจารย์ 6) การจัดการเรียนการสอน และ 7) ปัญหาสุขภาพ เมื่อเกิดความเครียด นักศึกษาใช้วิธีการเผชิญความเครียดทั้งด้านการเผชิญหน้ากับปัญหา ด้านการบรรเทาความ รู้สึกเครียด และด้านการจัดการกับอารมณ์ โดยใช้ด้านการเผชิญหน้ากับปัญหามากที่สุด ส่วนผลลัพธ์ จากการเผชิญความเครียด หรือความวิตกกังวล พบว่านักศึกษามีความรู้สึกวิตกกังวลในระดับปานกลาง ผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นแนวทางสำคัญสำหรับการจัดการศึกษาด้านการพยาบาล ในการหาวิธีการ ที่จะช่วยนักศึกษาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลครั้งแรกไม่เกิดความเครียด หรือขจัดแหล่งความเครียด ของนักศึกษา รวมทั้งการส่งเสริมวิธีการเผชิญความเครียดอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยลดความวิตก กังวลของนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนคลินิกครั้งแรกen_US
dc.description.abstractThis descriptive study aimed to assess sources of stress, coping strategies, and outcomes among nursing students during their initial practice. The Lazarus stress, appraisal, and coping model was employed to guide the study. The participants of the study were 108 sophomore-nursing students studying at a government university. The tools used in the study included: 1) the Demographic Data Questionnaire, 2) the Opened End of Stress Questionnaire, 3) the Coping Strategies Questionnaire, and 4) the Anxiety Questionnaire. After completing their initial clinical practice, the participants were asked to complete all questionnaires by themselves. Data were statistically analyzed by using descriptive statistics including percentage, mean, and standard deviation. Results revealed that the students perceived stressful experiences on sources of stress, which could be categorized as follows: 1) lack of professional nursing skills; 2) lack of communication skills; 3) new environment; 4) inadequate knowledge; 5) role of clinical teachers; 6) teaching-learning methods; and 7) health problems. The confrontive coping strategy was most commonly used, followed by palliative and emotive strategies. With regard to outcomes of coping strategy use, the students felt anxiety as a moderate level. This study suggests that nursing educators need to develop strategies to help students overcome their stress during their initial clinical practice or minimize students’ sources of stress. Additionally, the availability of student counseling service, peer learners, and preceptorship may be helpful for promoting adaptive coping and decreasing anxiety.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2552), 192-205en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/52535
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectแหล่งความเครียดen_US
dc.subjectวิธีการเผชิญความเครียดen_US
dc.subjectผลลัพธ์การเผชิญความเครียดen_US
dc.subjectการฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรกen_US
dc.subjectSources of stressen_US
dc.subjectCoping strategiesen_US
dc.subjectCoping outcomesen_US
dc.subjectInitial clinical practiceen_US
dc.titleแหล่งความเครียด วิธีการเผชิญความเครียด และผลลัพธ์การเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรกen_US
dc.title.alternativeSources of Stress, Coping Strategies, and Outcomes among Nursing Students during their Initial Practiceen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-montha-2552.pdf
Size:
226 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections