Publication: ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา
Issued Date
2557
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-1678
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 44, ฉบับที่ 1 (2557), 30-45
Suggested Citation
วิไลพร พุทธวงศ์, วิริณธิ์ กิตติพิชัย, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, Wirin Kittipichai, Tassanee Silawan, Chokchai Munsawaengsup ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 44, ฉบับที่ 1 (2557), 30-45. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2461
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา
Alternative Title(s)
Cerebrovascular disease risk factors among hypertensive patients in Phayao province
Corresponding Author(s)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบ Case control Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 300 คน ที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลพะเยาและโรงพยาบาลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา กลุ่มศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองร่วมด้วย 100 คน กลุ่มเปรียบเทียบเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ไม่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง 200 คน การเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างตามแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทางด้านชีวสังคม ประวัติการเจ็บป่วย และพฤติกรรมสุขภาพ และคัดลอกผลตรวจทางห้องปฏิบัติการจากเวชระเบียน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Binary Logistic Regression พบว่า ปัจจัยที่ทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ Systolic BP ≥160 mmHg มีประวัติทางพันธุกรรม Diastolic BP ≥ 100 mmHg พฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม พฤติกรรมการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ LDL-Cholesterol ≥ 100 mg/dL การดื่มแอลกอฮอล์หนักหรือเสี่ยง และ Triglyceride ≥ 150 mg/dL ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรกำหนดให้ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยในการเฝ้าระวังการมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระยะ 2 ขึ้นไป และควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
The purpose of this case-control study was to determine cerebrovascular disease risk factors among hypertensive patients in Phayao province. Subjects were 300 hypertensive patients in Phayao and Dokkhamtai Hospitals. Cases were 100 hypertensive patients with cerebrovascular disease compared to 200 controls who were hypertensive patients without cerebrovascular disease. Data were collected from subjects by questionnaire interview which included general information,
illness information, health behaviors, and laboratory data. Data were were systolic BP ≥ 160 mmHg, having family member(s) with cerebrovascular disease, diastolic BP ≥ 100 mmHg, inappropriate food-consumption behavior, irregular exercise
behavior, LDL-cholesterol ≥ 100 mg/dL, heavy or hazardous alcohol drinking, and triglycerides ≥ 150 mg/dL. Based on these results, the above mentioned factors should be used in risk surveillance of cerebrovascular disease
among stage-two hypertensive patients. Additionally, activities to promote awareness of and positive changes in health behaviors should be supported. analyzed by Binary Logistic Regression. The results showed 8 factors as predictors of cerebrovascular disease in hypertensive patients. These factors