Publication: การประเมินความพึงพอใจในประสิทธิภาพของการให้บริการด้านการวิจัยทางออร์โธปิดิกส์
Issued Date
2563
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 43, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 41-50
Suggested Citation
เยาวเรศ แตงโสภา, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, ชนิกา อังสนันท์สุข, Yaowaret Tangsopa, Patarawan Woratanarat การประเมินความพึงพอใจในประสิทธิภาพของการให้บริการด้านการวิจัยทางออร์โธปิดิกส์. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 43, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 41-50. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72236
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การประเมินความพึงพอใจในประสิทธิภาพของการให้บริการด้านการวิจัยทางออร์โธปิดิกส์
Alternative Title(s)
Satisfactory Assessment for Performance of Orthopaedic Research Service
Other Contributor(s)
Abstract
บทนำ: การให้บริการวิจัยทางออร์โธปิดิกส์ต้องได้รับการประเมินประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความพึงพอใจประสิทธิภาพบริการวิจัยทางออร์โธปิดิกส์
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวางในกลุ่มอาจารย์ แพทย์ประจำบ้านต่อยอด แพทย์ประจำบ้าน และเจ้าหน้าที่ที่รับบริการวิจัยทางออร์โธปิดิกส์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 คัดผู้รับบริการที่ขาดข้อมูลออก เก็บคุณลักษณะ ได้แก่ เพศ การศึกษาสูงสุด ประเภทการจ้าง และตำแหน่ง ประเมินความพึงพอใจประสิทธิภาพการให้บริการวิจัยด้วยแบบสอบถาม 23 ข้อ 8 ด้าน ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความสามารถ ความพากเพียร การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิสัมพันธ์ การให้บริการและผลิตภาพ
ผลการศึกษา: ผู้รับบริการตอบแบบสอบถาม จำนวน 80 คน เป็นเพศชาย จำนวน 61 คน (ร้อยละ 76.25) และแพทย์ประจำบ้าน จำนวน 56 คน (ร้อยละ 70.00) ผู้รับบริการพึงพอใจระดับดีถึงดีมากในการให้บริการร้อยละ 95.30 ความพากเพียรร้อยละ 94.80 ปฏิสัมพันธ์ร้อยละ 94.75 การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมร้อยละ 94.60 ผลิตภาพร้อยละ 94.50 ความรับผิดชอบร้อยละ 94.13 ความสามารถร้อยละ 94.13 และความคิดสร้างสรรค์ร้อยละ 93.80 โดยไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะไม่สัมพันธ์กับความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญ
สรุป: ผู้รับบริการมากกว่าร้อยละ 93 พึงพอใจในการให้บริการวิจัยทางออร์โธปิดิกส์ในระดับดีถึงดีมาก การพัฒนาความรับผิดชอบ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์อาจยกระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ
Background: Orthopaedic research service needs to be evaluated its effectiveness. Objective: To assess customer satisfaction of effectiveness in orthopaedic research service. Methods: A cross-sectional study was conducted among staffs, residents, fellows, and officers who used orthopaedic research service between June 2018 and June 2019. Customers who provided incomplete data were excluded. Baseline characteristics such as gender, highest education, types of employment, and positions were collected. Satisfaction of effectiveness of research service was assessed using the 23-item questionnaire with 8 dimensions; responsibilities, competency, diligence, public interests, creativity, communication, service mind, and productivity. Results: From 80 participated customers, there were 61 males (76.25%), and 56 residents (70%). Customers satisfied at a good-excellent level in service mind (95.30%), diligence (94.80%), communication (94.75%), public interests (94.60%), productivity (94.50%), responsibility (94.13%), competency (94.13%), and creativity (93.80%). Baseline characteristics were not significantly associated with satisfaction. Conclusions: Customers satisfied orthopaedic research service at the good-excellent level more than 93%. Improvement of responsibility, competency, and creativity may increase customer satisfaction.
Background: Orthopaedic research service needs to be evaluated its effectiveness. Objective: To assess customer satisfaction of effectiveness in orthopaedic research service. Methods: A cross-sectional study was conducted among staffs, residents, fellows, and officers who used orthopaedic research service between June 2018 and June 2019. Customers who provided incomplete data were excluded. Baseline characteristics such as gender, highest education, types of employment, and positions were collected. Satisfaction of effectiveness of research service was assessed using the 23-item questionnaire with 8 dimensions; responsibilities, competency, diligence, public interests, creativity, communication, service mind, and productivity. Results: From 80 participated customers, there were 61 males (76.25%), and 56 residents (70%). Customers satisfied at a good-excellent level in service mind (95.30%), diligence (94.80%), communication (94.75%), public interests (94.60%), productivity (94.50%), responsibility (94.13%), competency (94.13%), and creativity (93.80%). Baseline characteristics were not significantly associated with satisfaction. Conclusions: Customers satisfied orthopaedic research service at the good-excellent level more than 93%. Improvement of responsibility, competency, and creativity may increase customer satisfaction.