Publication:
การตัดสินใจมีบุตรของหญิงที่เป็นพาหะโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน

dc.contributor.authorวราภรณ์ ขุนอินทร์en_US
dc.contributor.authorทิพยวิมล ทิมอรุณen_US
dc.contributor.authorไกรฤกษ์ ทวีเชื้อen_US
dc.contributor.authorดุษฎี เจริญพิภพen_US
dc.contributor.authorชนินทร์ ลิ่มวงศ์en_US
dc.contributor.authorดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุลen_US
dc.contributor.authorWaraphorn Khuninen_US
dc.contributor.authorThipwimon Tim-aroonen_US
dc.contributor.authorKrailerk Taweechueen_US
dc.contributor.authorDussadee Charoenpipopen_US
dc.contributor.authorChanin Limwongseen_US
dc.contributor.authorDuangrurdee Wattanasirichaigoonen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์. หน่วยเวชพันธุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2019-12-13T06:16:38Z
dc.date.available2019-12-13T06:16:38Z
dc.date.created2562-12-13
dc.date.issued2556
dc.description.abstractโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน (Duchenne muscular dystrophy: DMD) เป็นโรคพันธุกรรม ที่มีความรุนแรงและมีการถ่ายทอดผ่านทางโครโมโซมเอ็กซ์แบบยีนด้อย การวิจัยนี้เป็นการวิจัย เชิงพรรณนา เพื่อศึกษาการตัดสินใจมีบุตรของหญิงที่เป็นพาหะโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดา หรือญาติเพศหญิงฝ่ายมารดาที่เป็นพาหะของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลรามาธิบดีระหว่างปี พ.ศ. 2548–2553 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยตรงและ/หรือทางโทรศัพท์แนวคำถามที่ใช้ สัมภาษณ์ครอบคลุม 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การยอมรับหรือปฏิเสธการตั้งครรภ์ 2) การยอมรับ หรือปฏิเสธการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ และ 3) การเลือกยุติการตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์ต่อ หากพบว่าทารกในครรภ์เป็นโรค พร้อมทั้งเหตุผลของการตัดสินใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า หญิงที่เป็นพาหะจำนวน 5 ใน 8 ราย ต้องการมีบุตร จำนวนลดลง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (7 ราย) ยอมรับหรือต้องการตั้งครรภ์ และถ้าตั้งครรภ์แล้ว ต้องการได้รับการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด ซึ่งหากพบว่าทารกในครรภ์เป็นโรค กลุ่มตัวอย่าง 6 ใน 7 รายจะเลือกยุติการตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างมีปฏิกิริยาตอบสนอง ได้แก่ ความรู้สึกช็อค ความรู้สึกผิด การโทษตนเอง การหลีกเลี่ยงและการปรับตัว ซึ่งอารมณ์และความรู้สึกเหล่านี้จะกลับไปกลับมา ปัจจัยที่กี่ยวข้องกับปฏิกิริยาตอบสนองและการตัดสินใจมีบุตร ได้แก่ การศึกษา ค่านิยม ความเชื่อ ประสบการณ์การมีบุตรหรือญาติเป็นโรคมาก่อน ข้อมูลที่รับรู้ อารมณ์และความรู้สึกในขณะนั้น ปฏิกิริยาจากคนรอบข้างและคนในครอบครัวและบริบททางสังคม การช่วยเหลือทางการแพทย์ และสภาวะการตั้งครรภ์ในขณะนั้น ปฏิกิริยาตอบสนองร่วมกับปัจจัยมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมีบุตร และการตัดสินใจนั้นเป็นพลวัตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ผลจากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าการรู้ ภาวะพาหะของโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชนจะเป็นประโยชน์ต่อการให้ทางเลือกแก่ครอบครัวใน การป้องกันการเกิดโรคนี้ซํ้าอีกen_US
dc.description.abstractDuchenne muscular dystrophy (DMD) is a severe X-linked recessive disorder. The objective of this descriptive study was to explore the decision-making on having a child of female carriers of DMD and factors influencing that decision-making. The decision-making theory was used as the conceptual framework. Purposive sampling was used to recruit a sample of 8 female carriers of DMD at the Outpatient Department, Ramathibodi Hospital, Thailand, from 2006-2012. Data collection was conducted using semi-in-depth interview in person and/or through telephone. The interview guide focused on three questions: 1) acceptance or decline a pregnancy, 2) acceptance or decline prenatal diagnosis, and 3) termination of pregnancy or continuation of pregnancy, in the case of confirmed affected fetus. Data were analyzed using descriptive satistics and content analysis. Results showed that 5/8 participants wanted to decrease the number of children. Most of the sample (7/8) accepted pregnancy, and if they became pregnant, all of them wanted to have prenatal diagnosis. If the fetus was found to be DMD-affected, most (6/7) chose to terminate the pregnancy. When the sample learned that they were carrier, they had emotional reactions, including shock, guilt, self-blaming, avoidance, and adaptation. Factors that were perceived as the influences on their decision-making in having a child included the level of education, value and belief, experience with affected children, information perceived, emotional and feeling at that time, reactions from friends and family members, social status, medical helps, and current pregnancy status. The decision making was dynamic. The decision at a specific time depended on the emotional status at that time and related factors described above. Results of this study indicated that knowing the carrier status is beneficial to the affected families in terms of providing informed choices in prevention of reoccurrence of DMD.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 19, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2556), 206-220en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48381
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderหน่วยเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการมีบุตรen_US
dc.subjectการตัดสินใจen_US
dc.subjectโรคพันธุกรรมen_US
dc.subjectพาหะen_US
dc.subjectโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชนen_US
dc.subjectHaving a childen_US
dc.subjectDecision makingen_US
dc.subjectGenetic disorderen_US
dc.subjectCarrieren_US
dc.subjectDuchenne muscular dystrophyen_US
dc.titleการตัดสินใจมีบุตรของหญิงที่เป็นพาหะโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชนen_US
dc.title.alternativeDecision-Making on Having a Child of Female Carriers of Duchenne Muscular Dystrophyen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/15586/14281

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-waraphor-2556.pdf
Size:
587.78 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections