Publication:
ประสิทธิผลของโครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติให้อาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยอาชีวศึกษา

dc.contributor.authorพรรณวิไล ตั้งกุลพานิชย์en_US
dc.contributor.authorณัฐสินี อธินาถรัตนพงศ์en_US
dc.contributor.authorคาฐาวัณฏ์ วงศ์ไชยเสรีen_US
dc.contributor.authorPanvilai Tangkulpanichen_US
dc.contributor.authorNatsinee Athinartrattanapongen_US
dc.contributor.authorKathawan Vongchaisareeen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินen_US
dc.contributor.otherโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ. กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและบริการการแพทย์ฉุกเฉินen_US
dc.date.accessioned2022-07-21T02:39:27Z
dc.date.available2022-07-21T02:39:27Z
dc.date.created2565-07-21
dc.date.issued2565
dc.description.abstractบทนำ: การปฐมพยาบาลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นด้วยการกดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพและการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า ความรวดเร็วและถูกต้องถือเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้พบเห็นเหตุการณ์เป็นคนแรกจึงมีบทบาทอย่างมากในการช่วยชีวิตผู้ป่วย การเผยแพร่องค์ความรู้ควรเริ่มต้นที่สถานศึกษา อาจารย์ในโรงเรียนจึงมีบทบาทสำคัญในการกระจายความรู้สู่นักเรียนและชุมชน วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของอาจารย์ในระดับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยอาชีวศึกษา ก่อนและหลังการอบรมความรู้เรื่องการกู้ชีพขั้นพื้นฐานให้แก่อาจารย์ ในแง่ของความรู้โดยทั่วไปเรื่องการช่วยกู้ชีพ การปฐมพยาบาล และความรู้เรื่องห่วงโซ่การรอดชีวิต วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยแบบไปข้างหน้า โดยอบรมอาจารย์ จำนวน 146 คน ที่เข้าร่วมโครงการในส่วนของการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน การใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ และการปฐมพยาบาลผู้ป่วยสำลักสิ่งแปลกปลอม จากนั้นวัดผลด้วยแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังการอบรม และใช้การวิเคราะห์แบบกลุ่มก่อนและหลังการศึกษา ผลการศึกษา: จากการเก็บข้อมูลอาจารย์ จำนวน 143 คน พบว่าความรู้ของอาจารย์ทั้งด้านการแจ้งเตือนระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การกดหน้าอกกู้ชีพ และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ เพิ่มขึ้นในทุกหัวข้อ (ร้อยละ 27.3, 51.3, และ 82.1; ค่า Adjusted OR 13.81, 19.08, และ 849.47 ตามลำดับ, P < .001) รวมถึงความมั่นใจในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานที่มีการเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 47.6 เป็นร้อยละ 95.8 (Adjusted OR, 31.69; P < .001) สรุป: การฝึกอบรมอาจารย์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยอาชีวศึกษาเรื่องการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน ทำให้ความรู้เรื่องห่วงโซ่การรอดชีวิตเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความมั่นใจในการกู้ชีพและปฐมพยาบาลเบื้องต้นอีกด้วยen_US
dc.description.abstractBackground: Bystander-initiated cardiopulmonary resuscitation (CPR), the automatic external defibrillator (AED), and rapid activation of emergency medical service have major roles in the chain of survival of out-of-hospital cardiac arrest patients. To integrate the basic life support (BLS) knowledge into the high school curriculum, teachers are the key person. Objective: To examine the effectiveness of the BLS training program for high school teachers. Methods: In this prospective study of 146 participants, before and immediately after 2 hours lecture and 3 hours hands-on activity of BLS training program consisting of instruction on CPR, AED, and first aid for foreign body aspiration, written tests were done to assess knowledge while participants’ attitudes were evaluated by a questionnaire survey. Results: A total of 146 participants, BLS knowledge increased in all parts (early activation, chest compression, and defibrillation increased by 27.3%, 51.3%, and 82.1% with adjusted OR 13.81, 19.08, and 849.47, respectively; P < .001), as well as participant’s confidence increased from 47.6% to 95.8% (adjusted OR, 31.69; P < .001). Conclusions: BLS training in high school teachers increased both knowledge of chains of survival and confidence.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 45, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2565), 1-7en_US
dc.identifier.issn0125-3611 (Print)
dc.identifier.issn2651-0561 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72200
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโรen_US
dc.subjectเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติen_US
dc.subjectการกู้ชีพขั้นพื้นฐานen_US
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายen_US
dc.subjectเวชศาสตร์ฉุกเฉินen_US
dc.subjectAutomatic external defibrillatoren_US
dc.subjectBasic life supporten_US
dc.subjectHigh schoolen_US
dc.subjectEmergency medicineen_US
dc.titleประสิทธิผลของโครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติให้อาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยอาชีวศึกษาen_US
dc.title.alternativeEfficacy of Basic Life Support and Automatic External Defibrillator Educational Program for High Schoolen_US
dc.typeOriginal Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/243657/176037

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-panvilai-2565.pdf
Size:
2.32 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections