Publication:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน

dc.contributor.authorวันวิสาข์ ศรีรุ้งen_US
dc.contributor.authorวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิชen_US
dc.contributor.authorศรัณยา โฆสิตะมงคลen_US
dc.contributor.authorWanwisa Srirungen_US
dc.contributor.authorWimolrat Puwarawuttipaniten_US
dc.contributor.authorSarunya Koositamongkolen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2022-03-29T11:59:21Z
dc.date.available2022-03-29T11:59:21Z
dc.date.created2565-03-29
dc.date.issued2565
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของความหวัง แรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพ การสนับสนุนจากครอบครัว และความเหนื่อยล้าต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตันทั้งเพศหญิงและเพศชายมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มารับการตรวจติดตามการรักษาหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ณ แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันประสาทวิทยา ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 128 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความหวัง แบบวัดแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพ แบบประเมินการสนับสนุนจากครอบครัว แบบประเมินความเหนื่อยล้า และแบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย: การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 62.58 ปี (SD = 9.14) ร้อยละ 97.7 มีพฤติกรรมการจัดการตนเองอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X} = 92.77, SD = 6.37) ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความแปรผันของพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตันได้ร้อยละ 44.4 (R2 = .44) โดยแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพ การสนับสนุนจากครอบครัวและความหวังเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญ (gif.latex?\beta = .41, p < .001, gif.latex?\beta = .24, p < .01, gif.latex?\beta = .19, p < .05) ตามลำดับ ส่วนความเหนื่อยล้ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่สามารถทำนายได้ สรุปและข้อเสนอแนะ: ความหวัง แรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการสนับสนุนจากครอบครัวมีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน ดังนั้น ทีมสุขภาพควรตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความหวังและแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตลอดจนครอบครัวของผู้ป่วยควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรแกรม การให้กำลังใจในการดูแลผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังการเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตันen_US
dc.description.abstractPurpose: To study the influence of hope, rehabilitation motivation, family support, and fatigue on self-management behavior among ischemic stroke patients. Design: Correlational predictive research. Methods: The sample was comprised of 128 ischemic stroke patients, both males and females, aged 18 years or older who came for a follow-up appointment after discharge at the out-patient department, Prasat Neurological Institute between March and May, 2020. The questionnaires included the demographic characteristics, the Herth Hope Index, Stroke Rehabilitation Motivation Scale, Family Support Questionnaires, Fatigue Severity Scale, and Self-management Behavior questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis. Main findings: An average age of the sample was 62.58 years old (SD = 9.14), and 97.7% of them had self-management behaviors at a high level (gif.latex?\bar{X} = 92.76, SD = 6.37). All of the independent variables explained 44.4% of the variance in self-management behavior (R2 = .44). The factors significantly influencing self-management behavior were motivation for rehabilitation, family support, and hope (gif.latex?\beta = .41, p < .001, gif.latex?\beta = .24, p < .01 and gif.latex?\beta = .19, p < .05) respectively. Even though fatigue did not demonstrate the prediction, the significant correlation with self-management behavior was found. Conclusion and recommendations: Hope, motivation for rehabilitation, and family support could affect self-management behavior. Thus, it is recommended that healthcare team should be aware of the importance of building hope and motivation for rehabilitation. Families should be engaged in a program development and encouragement for promoting self-management behavior of the patients, consequently leading to good quality of life after ischemic stroke.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2565), 108-123en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64419
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectครอบครัวen_US
dc.subjectความหวังen_US
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตันen_US
dc.subjectแรงจูงใจ พฤติกรรมการจัดการตนเองen_US
dc.subjectfamilyen_US
dc.subjecthopeen_US
dc.subjectischemic strokeen_US
dc.subjectmotivationen_US
dc.subjectself-management behavioren_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตันen_US
dc.title.alternativeFactors Influencing Self-management Behaviors among Ischemic Stroke Patientsen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/249113

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-wimolrat-2565.pdf
Size:
1.61 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections