Publication:
การจำแนกเพศคนไทยด้วยดัชนีฟันเขี้ยว

dc.contributor.authorทวีพงศ์ อารยะพิศิษฐen_US
dc.contributor.authorTawepong Arayapisiten_US
dc.contributor.authorวนิดา ศรีไพโรจน์ธิกูลen_US
dc.contributor.authorWanida Sripairojthikoonen_US
dc.contributor.authorอัศริน ภานุสถิตย์en_US
dc.contributor.authorAkkarin Panusatiden_US
dc.contributor.authorนัยวินิต สมสุขทวีกูลen_US
dc.contributor.authorNaiwinit Somsuktaweekoonen_US
dc.contributor.authorพงศ์สถิต บัณฑิตen_US
dc.contributor.authorPongstit Bunditen_US
dc.contributor.authorนิพิฐ สุภาจารุพันธ์en_US
dc.contributor.authorNipit Supajarupanen_US
dc.contributor.correspondenceทวีพงศ์ อารยะพิศิษฐen_US
dc.contributor.correspondenceTawepong Arayapisiten_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-03-26T09:55:42Z
dc.date.accessioned2017-01-05T06:57:15Z
dc.date.available2015-03-26T09:55:42Z
dc.date.available2017-01-05T06:57:15Z
dc.date.created2015-03-17
dc.date.issued2011-09
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ : ดัชนีฟันเขี้ยวเป็นวิธีทางนิติทันตวิทยาที่ช่วยในการทำนายเพศของศพนิรนาม โดยเปรียบเทียบดัชนีฟันเขี้ยวที่คำนวนจากศพ กับดัชนีฟันเขี้ยวมาตรฐานของประชากรท้องถิ่นนั้น อย่างไรก็ตามยังไม่พบการสร้างดัชนีฟันเขี้ยวมาตรฐานของคนไทย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดัชนีฟันเขี้ยวมาตรฐาน รวมทั้งประเมินความแม่นของดัชนีดังกล่าวในการทำนายเพศคนไทยกลุ่มหนึ่ง วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา : อาสาสมัครคนไทย จำนวน 400 คนเป็นชาย 200 คนและเป็นหญิง 200 คน อายุระหว่าง 18 ถึง 22 ปี ที่มีฟันหน้าบนและล่างที่ขึ้นเต็มที่ ปราศจากรอยผุหรือการบูรณะใดๆ ไม่สึก รวมทั้งมีการเรียงตัวปกติ วัดความกว้างของฟันเขี้ยวทั้ง 4 ซี่ และระยะระหว่างฟันเขี้ยวในขากรรไกรบนและล่างของอาสาสมัครด้วยเวอเนียร์ คาลิเปอร์สชนิดดิจิตอลและแบ่งอาสาสมัครทั้งหมดเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม ข้อมูลของอาสาสมัครกลุ่มแรก (ชาย 100 คน และหญิง 100 คน) ใช้ในการสร้างดัชนีฟันเขี้ยวมาตรฐานของคนไทยตามวิธีการของ Rao และคณะ แล้วนำไปประเมินความแม่นของดัชนีฟันเขี้ยวในอาสาสมัครกลุ่มที่สอง (ชาย 100 คน และหญิง 100 คน)อธิบายดัชนีฟันเขี้ยวมาตรฐานและความแม่นของดัชนีฟันเขี้ยวด้วยสถิติพรรณา รวมทั้งวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างเพศของความกว้างฟันเขี้ยวและระยะระหว่างฟันเขี้ยวด้วยสถิติทดสอบทีที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษา : ความกว้างฟันเขี้ยวทุกซี่ และระยะห่างฟันเขี้ยวในขากรรไกรบนและล่างของเพศชายกว้างกว่าของเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ ดัชนีฟันเขี้ยวมาตรฐานในคนไทยซึ่งคำนวณจากฟันเขี้ยวบนขวา ฟันเขี้ยวบนซ้าย ฟันเขี้ยวล่างขวา และฟันเขี้ยวล่างซ้าย เป็น 0.216, 0.214, 0.257,และ 0.250 ตามลำดับ โดยมีความแม่นของดัชนีฟันเขี้ยวที่คำนวณจากฟันเขี้ยวแต่ละซี่เป็นร้อยละ 53.5, 60.0, 61.5 และ 67.0 ตามลำดับ บทสรุป : ดัชนีฟันเขี้ยวโดยเฉพาะเมื่อคำนวนจากฟันเขี้ยวล่างซ้ายเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำนายเพศศพคนไทยนิรนามได้en_US
dc.description.abstractObjective: Canine index is used as a sex determination in forensic odontology by comparing the individual canine index with standard canine index calculating from the local population. However, the standard canine index in Thai population is not well established. This report was aimed to study on sex identity based on the standard canine index and evaluate its accuracy in a group of Thais Materials and methods: Thai subjects, 200 males and 200 females, aged 18-22 years old who had fully erupted, caries-free, normal and non-worn upper as well as lower anterior teeth with correct dental alignment were selected. Male and female subjects were randomly allocated into 2 groups each. Canine widths and intercanine widths in both jaws were measured using digital vernier calipers. Data from the first group (100 males and 100 females) were used to calculate standard canine index according to Rao et al. Data of another group (100 males and 100 females) was used to assess the accuracy of the previously established standard canine index. Descriptive statistical data were obtained and the potential of sexual dimorphism of the canine and intercanine widths were analyzed by t-test (α=.05). Results: Canine widths and intercanine widths of males were significantly greater than those of female (p<.001). The standard canine indices calculated with upper right, upper left, lower right and lower left canines were 0.216, 0.214, 0.257 and 0.250, respectively. The respective index values showed accuracy for sex determination at 53.5%, 60.0%, 61.5% and 67.0% Conclusion: It was plausible that the canine index from left mandibular canine, in particular, could be applied as an additional method for sex identity in Thai population.
dc.identifier.citationทวีพงศ์ อารยะพิศิษฐ, วนิดา ศรีไพโรจน์ธิกูล, อัศริน ภานุสถิตย์, นัยวินิต สมสุขทวีกูล, พงศ์สถิต บัณฑิต, นิพิฐ สุภาจารุพันธ์. การจำแนกเพศคนไทยด้วยดัชนีฟันเขี้ยว. ว ทันต มหิดล. 2554; 31(3): 141-50.en_US
dc.identifier.issn0125-5614 (printed)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1096
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectดัชนีฟันเขี้ยวen_US
dc.subjectการจำแนกเพศen_US
dc.subjectคนไทยen_US
dc.subjectCanine indexen_US
dc.subjectSexual dimorphismen_US
dc.subjectThaisen_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.subjectวิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล
dc.subjectMahidol Dental Journal
dc.titleการจำแนกเพศคนไทยด้วยดัชนีฟันเขี้ยวen_US
dc.title.alternativeSexual dimorphism in Thais using canine index.en_US
dc.typeArticleen_US
dcterms.dateAccepted2011-12-01
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttp://www.dt.mahidol.ac.th/division/offeducation/education_1_6/data/book/2554/full%20text/MDJ_Vol31_No3.pdf

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
dt-ar-tawepong-2554-1.pdf
Size:
505.89 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description:

Collections