Publication:
ความรู้และเจตคติของครูที่สอนระดับประถมศึกษากับมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับโรคซนสมาธิสั้น

dc.contributor.authorปรารถนา ชิตพงศ์en_US
dc.contributor.authorปราโมทย์ สุคนิชย์en_US
dc.contributor.authorPratana Chitapongen_US
dc.contributor.authorPramote Sukanichen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2022-09-30T07:31:33Z
dc.date.available2022-09-30T07:31:33Z
dc.date.created2565-09-30
dc.date.issued2555
dc.description.abstractบทนำ: โรคซนสมาธิสั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวเป็นอย่างมาก ครูเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเด็กมารักษาและช่วยเหลือที่โรงเรียน วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างเครื่องมือวัดความรู้และเจตคติของครูต่อนักเรียนที่เป็นโรคซนสมาธิสั้น และเพื่อหาปัจจัยของครูสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีอิทธิพลต่อความรู้และเจตคติต่อนักเรียนที่เป็นโรคซนสมาธิสั้น วิธีการศึกษา: ศึกษาภาคตัดขวางในครูสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความรู้ ด้าน biological และด้าน psychosocial 25 ข้อ และแบบวัดเจตคติ 20 ข้อ ผลการศึกษา: แบบวัดความรู้และเจตคติหลังผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ และปรับปรุงถ้อยคำและตัดข้อที่ไม่เหมาะสมแล้วมีความเที่ยงทั้งฉบับแบบวัดความรู้และแบบวัดเจตคติเท่ากับ 0.39 และ 0.75 ตามลำดับ ในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น พบว่าเพศหญิงมีความรู้มากกว่าเพศชาย ระดับชั้นที่สอนมีความรู้ไม่ต่างกัน ครูอายุน้อยมีความรู้มากกว่าครูอายุมาก จำนวนชั่วโมงที่สอนเด็กที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นมากกว่า มีความรู้มากกว่าครูสอนเด็กที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นหลายคนมีความรู้มากกว่าครูที่ไม่เคยสอน ครูที่ผ่านการอบรมมีความรู้มากกว่าครูที่ไม่ผ่านการอบรม ครูส่วนใหญ่มีความด้าน psychosocial มากกว่า biological ยกเว้นครูที่ผ่านการอบรมแล้วมีความรู้ดีทั้งสองด้าน ในด้านเจตคติพบว่า ระดับชั้นที่สอน เพศ และจำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ โดยรวมไม่มีความแตกต่างกันในด้านระดับเจตคติ โดยกลุ่มครูมีอายุมากขึ้นและกลุ่มครูที่ยังไม่เคยสอนนักเรียนที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นมีระดับเจตคติที่สูงมากกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อย และมีประสบการณ์สอนนักเรียนที่เป็นโรคซนสมาธิสั้น ตามลำดับ โดยความรู้มีความสัมพันธ์ในทางลบกับเจตคติen_US
dc.description.abstractBackground: Attention-Deficit/ Hyperactivity Disorder (ADHD) is a common child psychiatric disorder that has a negative impact not only to the children per se but also to their families and schools. Teachers play an important role in detecting, referring the children to the medical services and also taking care of the success of the students in schools. Objective: To develop an instrument to measure teacher’s knowledge and attitude in ADHD and to identify factors that influence those two mentioned teacher’s aspects. Methods: This cross sectional study included 400 Bangkok teachers which were randomly sampling. The instrument used consists of the 25-items knowledge part (both biological and psychosocial) and the 20-items attitude part. Results: The instrument was validated and then reedited by the specialists. It is reliability on knowledge and attitude were 0.389 and 0.750 respectively. For the knowledge part, the female teachers had a higher score than the male ones, not depending on the grades they were teaching. The younger the teachers are, the higher score they had. The correlation was found between the number of hours they teach the ADHD and the better knowledge about the disorder. The prior training course on ADHD also relates to the teacher’s higher score on both parts. However, most of the teachers did better on the psychosocial knowledge. For the attitude part, sex, grade they were teaching, number of teaching hours were not different in their score among groups. The order and the never teach groups yield higher attitude scores. The knowledge inversely correlated with the attitude. Conclusion: Measurement was quite good to use and knowledge inversely correlated with attitude.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 35, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2555), 103-113en_US
dc.identifier.issn0125-3611 (Print)
dc.identifier.issn2651-0561 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79762
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโรคซนสมาธิสั้นen_US
dc.subjectความรู้ของครูen_US
dc.subjectเจตคติของครูen_US
dc.subjectAttention deficit-hyperactivity disorderen_US
dc.subjectADHDen_US
dc.subjectTeacher’s knowledgeen_US
dc.subjectTeaches attitudeen_US
dc.titleความรู้และเจตคติของครูที่สอนระดับประถมศึกษากับมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับโรคซนสมาธิสั้นen_US
dc.title.alternativeThe Knowledge and Attitude about Attention Deficit Hyperactivity Disorder of Elementary and Secondary School Teachers under Bangkok Metropolitan Administrationen_US
dc.typeOriginal Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/120207/91822

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-pratana-2555.pdf
Size:
6.71 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections