Publication: ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคารและกลุ่มอาการเจ็บป่วยของพนักงานในสำนักงานของโรงพยาบาล กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี
dc.contributor.author | จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ | en_US |
dc.contributor.author | ชมภูศักดิ์ พูลเกษ | en_US |
dc.contributor.author | Chompusakdi Pulket | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-21T07:29:24Z | |
dc.date.accessioned | 2017-07-12T07:52:13Z | |
dc.date.available | 2015-09-21T07:29:24Z | |
dc.date.available | 2017-07-12T07:52:13Z | |
dc.date.created | 2558-09-21 | |
dc.date.issued | 2547 | |
dc.description.abstract | คุณภาพอากาศภายในอาคารมีความสำคัญต่อสุขภาพของผู้อาศัยในอาคาร โดยเฉพาะใน โรงพยาบาลซึ่งมีทั้งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ พนักงาน การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะหาความสัมพันธ์ ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคารสำนักงาน และกลุ่มอาการเจ็บป่วยของพนักงานจำนวน 143 คน ที่ ทำงานในสำนักงานของโรงพยาบาล 11 แห่ง ของจังหวัดชลบุรี โดยตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร สำนักงานด้วยดัชนีที่เป็นมลพิษภายในอาคารคือ แบคทีเรีย รา ฝุ่นขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ โอโซน แอมโมเนีย ไอระเหยขององค์ประกอบรวมของ สารอินทรีย์ ฟอร์มาลดีไฮด์ เบนซิน โทลูอีน และไซลีน และสัมภาษณ์กลุ่มอาการเจ็บป่วยของพนักงาน ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ประยุกต์มาจากแบบของ NIOSH ผลการวิจัยพบว่าดัชนีคุณภาพอากาศภายในสำนักงานของโรงพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ แนะนำ ยกเว้นแบคทีเรียในอากาศที่เกินเกณฑ์ทุกสำนักงาน บางสำนักงานมีการปนเปื้อนสารมลพิษเกิน เกณฑ์ที่แนะนำอยู่ 3 ชนิดได้แก่ แอมโมเนีย โทลูอีน และไซลีน กลุ่มพนักงานที่ทำงานในสำนักงานที่มี ไอระเหยขององค์ประกอบรวมของสารอินทรีย์สูงกว่า 0.70 ppm พบกลุ่มอาการทางตาและทางปอดเป็น 2.06 และ 2.23 เท่า ตามลำดับเมื่อเทียบกับกลุ่มพนักงานที่ทำงานในที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า 0.70 ppm กลุ่มพนักงานที่ทำงานในสำนักงานที่มีปริมาณฝุ่นขนาดเล็กสูงกว่า 0.018 mg/m3 และ ไซลีนสูงกว่า 2.00 ppm พบกลุ่มอาการทางตาเป็น 4.81 และ 4.96 เท่า ตามลำดับของกลุ่มพนักงานที่ทำงานในที่มีฝุ่นขนาด เล็กและไซลีนในปริมาณที่ต่ำกว่า กลุ่มพนักงานที่ทำงานในสำนักงานที่มีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สูงกว่า 3.00 ppm พบกลุ่มอาการทางเดินหายใจส่วนต้นเป็น 8.22 เท่าของกลุ่มพนักงานที่ทำงานในที่มี คาร์บอนมอนอกไซด์ต่ำกว่า กลุ่มพนักงานในสำนักงานที่มีแบคทีเรียในอากาศสูงกว่า 2 x103 CFU/m3 พบกลุ่มอาการทางผิวหนังและอาการติดเชื้อเป็น 2.53 และ 2.59 เท่าของพนักงานที่ทำงานในที่มีแบคทีเรีย ในอากาศต่ำกว่า ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการสัมผัสมลพิษในอากาศของพนักงานมีความสัมพันธ์กับ กลุ่มอาการเจ็บป่วย อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านลักษณะงานก็อาจมีอิทธิพลร่วมด้วย จึงควรมีการเฝ้าระวัง คุณภาพอากาศภายในอาคาร โดยเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 34, ฉบับที่ 3 (2547), 180-189 | |
dc.identifier.issn | 0125-1678 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2543 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | คุณภาพอากาศภายในอาคาร | en_US |
dc.subject | โรคที่เกิดจากการทำงานภายในอาคาร | en_US |
dc.subject | Indoor Air Quality | en_US |
dc.subject | Sick Building Syndrome | en_US |
dc.subject | Office Workers | en_US |
dc.subject | Hospital | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.subject | วารสารสาธารณสุขศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Journal of Public Health | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคารและกลุ่มอาการเจ็บป่วยของพนักงานในสำนักงานของโรงพยาบาล กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี | en_US |
dc.title.alternative | Indoor air quality and symptoms related to sick building syndrome of the office workers in the hospitals, Chonburi province | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication |