Publication:
การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลบริการผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ในแผนกผู้ป่วยนอกและหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

dc.contributor.authorศศิธร สุรทานต์นนท์en
dc.contributor.authorภิฤดี ภวนานันท์en
dc.contributor.authorสุคนธา คงศีลen
dc.contributor.authorสุขุม เจียมตนen
dc.date.accessioned2011-01-17T10:07:16Zen
dc.date.accessioned2011-08-26T08:26:14Z
dc.date.accessioned2017-06-27T02:56:04Z
dc.date.available2011-01-17T10:07:16Zen
dc.date.available2011-08-26T08:26:14Z
dc.date.available2017-06-27T02:56:04Z
dc.date.created2554-01-17en
dc.date.issued2552en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลบริการผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ที่แผนกผู้ป่วยนอกและหน่วยปฏิบัติการปฐมภูมิ โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อายุ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 54 คน และที่หน่วยบริการปฐมภูมิจำนวน 36 คน ติดตามผลการรักษาแบบไปข้างหน้า ระยะเวลารักษา 12 สัปดาห์ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2550 - 30 กันยายน พ.ศ.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนทั้งด้านผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ประเมินประสิทธิผลบริการผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง โดยตรวจวัดความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงด้วยเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลต้นทุนด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ประสิทธิผลบริการโดยค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตซิสโตลิกที่ลดลงและเปรียบเทียบอัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลบริการผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงโดยอัตราส่วนต้นทุนต่อหน่วยความดันโลหิตที่ลดลง ผลการศึกษาพบว่า การให้บริการผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่หน่วยบริการปฐมภูมิต้นทุนประสิทธิผลสูงกว่าที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน โดยอัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลบริการผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน โดยอัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลบริการผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตที่แผนกผู้ป่วยนอก เท่ากับ 75.05 บาทต่อมิลลิเมตรปรอทที่ลดลง และที่หน่วยบริการปฐมภูมิเท่ากับ 32.60 บาทต่อมิลลิเมตรปรอทที่ลดลง พบว่าต้นทุนรวมต่อหน่วยบริการผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ที่แผนกผู้ป่วยนอกเท่ากับ 1,223.27 บาท ซึ่งสูงกว่าต้นทุนรวมที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่มีค่าเท่ากับ 444.60 บาท และเมื่อวิเคราะห์ความไวของต้นทุนพบว่าเวลาในการคัดกรองโรคมีอิทธิต่อการเปลี่ยนแปลงต้นทุนบริการ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ การพัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิให้มีขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน จะช่วยลดภาวะต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งด้านผู้ให้บริการและผู้รับบริการนอกจากนี้ยังช่วยลดความแออัดของผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาล อีกทั้งควรเน้นนโยบายด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคมากกว่าการรักษาพยาบาลในทุกกลุ่มอายุ แม้ว่าจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ แต่ในระยะยาวจะเป็นผลดีต่อคุณภาพชีวิตและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลงได้en
dc.description.abstractThis study aims to analyze the cost-effectiveness of Hypertensive Elderly Service in the OPD and the PCU of Hua Hin Hospital, Prachuap Khiri Khan Province. The 12 weeks cohort study from June to September 2007 was designed to evaluate the outcome of hypertensive elderly services at the two settings. By purposive selection of new hypertensive elderly patients age 60 years and above, the study included 54 patients from the OPD and 36 from the PCU. Both provider and patient perspective of cost analysis were taken into account. The provider costs data was collected from hospital records while the patient costs data was collected by interview and structured questionnaire. The effectiveness was measured as the average reduction in the systolic blood pressure. Both cost and outcome data were analyzed using descriptive and analytical statistics. The results showed that hypertensive elderly service at PCU was more cost-effective than the OPD of Hua Hin Hospital. The cost-effectiveness ratio was 75.05 Bt/mmHg for the hypertensive elderly service in the OPD and 32.60 Bt/mmHg for the PCU. The total costs of the OPD were 1,223.27 Baht while the total costs of the PCU was only 444.69 Baht. The sensitivity analysis of the service costs indicated that unit costs vary with the time used for the stage of patient screening. The study suggested that it is necessary to strengthening the capability of PCU in providing chronic care service in order to reduce the burden of costs to the hospital and to the patients. Health promotion and prevention programs should be encouraged and implemented to people of all ages though there is costs incurred from health promotion programs but it is worth in the long run in term of quality of life and reduction in the costs of treatment.
dc.format.extent152342 bytesen
dc.format.mimetypeapplication/pdfen
dc.identifier.citationวารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 1 (2552), 101-110
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2324
dc.language.isothaen
dc.rightsMahidol Universityen
dc.sourceวารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2552 ม.ค.-เม.ย.;39(1):101-110en
dc.subjectต้นทุน-ประสิทธิผลen
dc.subjectการบริการผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงen
dc.subjectแผนกผู้ป่วยนอกen
dc.subjectหน่วยบริการปฐมภูมิen
dc.subjectวารสารสาธารณสุขศาสตร์en
dc.subjectJournal of Public Healthen_US
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลบริการผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ในแผนกผู้ป่วยนอกและหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์en
dc.title.alternativeCost-effectivenese analysis of Hypertensive Elderly Service : Outpatient Department and Primary Care Unit of Hua Hin Hospital in Prachuap Khiri Khan Province, Thailanden
dc.typeArticleen
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-pirudee-2552.pdf
Size:
148.77 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.8 KB
Format:
Plain Text
Description:

Collections