Publication: ความแม่นยำของการวัดความกว้างของเนื้อเยื่อหน้ากระดูกต้นคอในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอ
Issued Date
2560
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2560), 16-24
Suggested Citation
อุเทน ปานดี, ศุภฤกษ์ วิทิตสิริ, พิชญา ทองโพธิ์, ธีรารัตน์ ทัศนปิติกูล, Uthen Pandee, Suparerk Vitsiri, Pichaya Thongpo, Teerarat Tassanapitikul ความแม่นยำของการวัดความกว้างของเนื้อเยื่อหน้ากระดูกต้นคอในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอ. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2560), 16-24. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79577
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความแม่นยำของการวัดความกว้างของเนื้อเยื่อหน้ากระดูกต้นคอในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอ
Alternative Title(s)
Validity of Prevertebral Soft Tissue Measurement in Cervical Spine Injury Patient
Abstract
บทนำ: การถ่ายภาพรังสีที่กระดูกต้นคอ เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอ การวัดความหนาของเนื้อเยื่อกระดูกต้นคอเป็นสิ่งที่ช่วยในการคัดกรองนี้ในห้องฉุกเฉิน ซึ่งเกณฑ์ในการวัดความหนาจะมีหลายเกณฑ์ซึ่งมีความแตกต่างกันหลายตำรา แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำของเกณฑ์แต่ละเกณฑ์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำของเกณฑ์การวัดความกว้างของเนื้อเยื่อหน้ากระดูกต้นคอในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอ
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง ผู้ป่วยอายุมากกว่า 15 ปี มาตรวจที่ห้องฉุกเฉินด้วยอาการที่สงสัยการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2548 ถึง 31 สิงหาคม 2554 โดยทำการวัดความกว้างของเนื้อเยื่อหน้ากระดูกต้นคอของภาพถ่ายรังสีของกระดูกต้นคอ ตั้งแต่กระดูกต้นคอระดับชิ้นที่ 2 ถึงระดับชิ้นที่ 7 แล้วนำมาเปรียบเทียบกับผลการวินิจฉัยสุดท้ายที่ได้จากผลอ่านเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อเปรียบเทียบความแม่นยำในแต่ละเกณฑ์การวัด
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยในการศึกษา 127 ราย เป็นเพศชาย 94 ราย (ร้อยละ 74) มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยสุดท้ายว่ามีการบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอ 56 ราย (ร้อยละ 44) เมื่อเปรียบเทียบค่าความไวและค่าความจำเพาะของเกณฑ์ต่าง ๆ พบว่า เกณฑ์แม่นยำที่สุด ได้แก่ เกณฑ์ความหนาของเนื้อเยื่อหน้ากระดูกต้นคอระดับชิ้นที่ 3 หนามากกว่า 5 มิลลิเมตร โดยมีค่าความไวร้อยละ 73 ค่าความจำเพาะร้อยละ 49 และมีพื้นที่ใต้กราฟ 0.72 ตามลำดับ
สรุป: การวัดความหนาของเนื้อเยื่อหน้ากระดูกต้นคอยังมีความแม่นยำที่ไม่มากนักในการที่จะช่วยวินิจฉัยการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอ จากการศึกษานี้พบว่า เกณฑ์การวินิจฉัยความหนาของเนื้อเยื่อหน้ากระดูกต้นคอระดับชิ้นที่ 3 มากกว่า 5 มิลลิเมตร เป็นเกณฑ์ที่มีความไวมากที่สุด ซึ่งอาจจะนำไปใช้ในการช่วยคัดกรองได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลที่ได้ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยในการวินิจฉัย ควรพิจารณาตรวจเพิ่มเติม เช่น เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยต่อไป
Background: Cervical radiographs were the initial screening in patients who present with blunt cervical spine (C-spine) injury. The cervical prevertebral soft tissue measurement generally used as screening test in Emergency Department (ED). Many criterias were mentioned in the literatures but the comparison of the validity of the measurements wasn’t concluded. Objective: To compare validity of cervical prevertebral soft tissue measurement criteria in C-spine injury patients. Methods: Retrospective reviewed of cervical radiographs measurement patient who suspected C-spine injury from January 2005 to August 2011. The prevertebral soft tissue thickness were measure from C2 to C7 according to criteria from literatures then compared with the final diagnosis by computerize tomography (CT) scan. The results were applied for validation of the criteria. Results: There were 127 patients in this study. Ninety four (74%) were male. Fifty six (44.1%) patients had c-spine fracture in final diagnosis. The measurement criteria of prevertebral soft tissue C3 > 5 mm, showed the most valid predictability tool, by specificity 73%, sensitivity 49% and area under the receiver operating characteristics (AOC) curve was 0.72 respectively. Conclusion: Measurement of prevertebral soft tissue has fair ability to detect C-spine injury. Our study suggests the criteria of C3 prevertebral soft tissue > 5 mm has high sensitivity and may be consider to be used as screening test. However, patients whom c-spine injury are suspected should have further investigation especially CT-scan to finalize diagnosis.
Background: Cervical radiographs were the initial screening in patients who present with blunt cervical spine (C-spine) injury. The cervical prevertebral soft tissue measurement generally used as screening test in Emergency Department (ED). Many criterias were mentioned in the literatures but the comparison of the validity of the measurements wasn’t concluded. Objective: To compare validity of cervical prevertebral soft tissue measurement criteria in C-spine injury patients. Methods: Retrospective reviewed of cervical radiographs measurement patient who suspected C-spine injury from January 2005 to August 2011. The prevertebral soft tissue thickness were measure from C2 to C7 according to criteria from literatures then compared with the final diagnosis by computerize tomography (CT) scan. The results were applied for validation of the criteria. Results: There were 127 patients in this study. Ninety four (74%) were male. Fifty six (44.1%) patients had c-spine fracture in final diagnosis. The measurement criteria of prevertebral soft tissue C3 > 5 mm, showed the most valid predictability tool, by specificity 73%, sensitivity 49% and area under the receiver operating characteristics (AOC) curve was 0.72 respectively. Conclusion: Measurement of prevertebral soft tissue has fair ability to detect C-spine injury. Our study suggests the criteria of C3 prevertebral soft tissue > 5 mm has high sensitivity and may be consider to be used as screening test. However, patients whom c-spine injury are suspected should have further investigation especially CT-scan to finalize diagnosis.