Publication:
ปัจจัยทำนายปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน

dc.contributor.authorลักษณ์ขนิษฐา อรัญกิตติภูมิ
dc.contributor.authorสมสิริ รุ่งอมรรัตน์
dc.contributor.authorอาภาวรรณ หนูคง
dc.contributor.authorLukkhanidtha Arunyakittiphoom
dc.contributor.authorSomsiri Rungamornrat
dc.contributor.authorApawan Nookong
dc.date.accessioned2024-10-04T07:48:27Z
dc.date.available2024-10-04T07:48:27Z
dc.date.created2567-10-04
dc.date.issued2567
dc.date.received2567-04-12
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของเวลาการใช้หน้าจอ ชั่วโมงการนอน พฤติกรรมการเลี้ยงดู 2 รูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงดูแบบสนับสนุนและการเลี้ยงดูแบบไม่เป็นมิตร และความโกลาหลในบ้านต่อปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารของเด็กก่อนวัยเรียน รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดา มารดา หรือผู้ดูแลหลักของเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กก่อนวัยเรียนอายุระหว่าง 3-5 ปี จำนวน 186 คู่ ที่เข้ารับการศึกษาในสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 8 แห่ง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเวลาการใช้หน้าจอ แบบสอบถามชั่วโมงการนอนตอนกลางคืน แบบสอบถามพฤติกรรมการเลี้ยงดู 2 รูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงดูแบบสนับสนุนและการเลี้ยงดูแบบไม่เป็นมิตร แบบสอบถามความโกลาหลในบ้าน และแบบประเมินปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ความโกลาหลในบ้านสามารถทำนายปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน (gif.latex?\beta = .23, p < .01) ส่วนเวลาการใช้หน้าจอ ชั่วโมงการนอนตอนกลางคืน พฤติกรรมการเลี้ยงดูทั้งสองรูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงดูแบบสนับสนุนและการเลี้ยงดูแบบไม่เป็นมิตร ไม่สามารถทำนายปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน (p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ความโกลาหลในบ้านเป็นปัจจัยเพียงเรื่องเดียวที่สามารถทำนายปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียนได้ ดังนั้น พยาบาลเด็กและพยาบาลชุมชนควรร่วมกันวางแผนประเมินความโกลาหลในบ้านในการเยี่ยมบ้านเด็กก่อนวัยเรียน และควรพัฒนากลวิธีในการให้คำแนะนำแก่บิดา มารดา หรือผู้ดูแลหลักในการจัดการความโกลาหลในบ้านเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน
dc.description.abstractPurpose: The purpose of this study was to examine the predictive power of screen time, sleep duration, two types of parenting behavior (supportive parenting and hostile parenting) and household chaos on executive function problems in preschool aged children. Design: A predictive correlational design. Methods: The study sample consisted 186 pairs of parents or primary caregivers and their preschool-aged children (aged 3-5 years) who received services at 8 private nurseries located in Bangkok Metropolitan Region. Subjects were recruited through convenience sampling. Data were collected using a personal information questionnaire, a screen time questionnaire, a sleep duration questionnaire, a parenting questionnaire and a household chaos questionnaire, and the executive function problems questionnaire among preschoolers. The data were analyzed by using descriptive statistic, Pearson correlation and multiple linear regression. Main findings: The findings indicated that household chaos significantly predicted executive function problems. (gif.latex?\beta = .23, p < .01). However, screen time, sleep duration and parenting including supportive parenting and hostile parenting did not predict executive function problems. (p > .05). Conclusion and recommendations: Household Chaos was found to be significantly predictor of executive function problems. Therefore, pediatric and community nurses are encouraged to incorporate assessments of domestic chaos into their preschool home visit plans. Strategies to advise parents or primary caregivers on managing household chaos should be developed to mitigate the risk of executive function problems in preschoolers.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/101448
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการคิดเชิงบริหาร
dc.subjectความโกลาหลในบ้าน
dc.subjectการเลี้ยงดู
dc.subjectเด็กก่อนวัยเรียน
dc.subjectexecutive function
dc.subjecthousehold chaos
dc.subjectparenting
dc.subjectpreschool
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์
dc.subjectJournal of Nursing Science
dc.titleปัจจัยทำนายปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน
dc.title.alternativePredicting Factors of Executive Function Problems in Preschool Aged Children
dc.typeArticle
dcterms.accessRightsopen access
dcterms.dateAccepted2567-06-25
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/268724
oaire.citation.endPage104
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage88
oaire.citation.titleวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2567), 88-104
oaire.citation.volume42
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ns-ar-somsiri-2567-2.pdf
Size:
1015.4 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections