Publication: ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29, ฉบับที่ 4 (ต.ค. - ธ.ค. 2554), 54-60
Suggested Citation
สมฤดี เลิศงามมงคลกุล, Somrude Lerdngammongkolkul, ไข่มุกข์ วิเชียรเจริญ, Kaimook Wichiencharoen, อาภาวรรณ หนูคง, Apawan Nookong ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29, ฉบับที่ 4 (ต.ค. - ธ.ค. 2554), 54-60. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/8733
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ
Alternative Title(s)
The Effect of a Supportive - educative Nursing Program on Maternal Behavior in Care for Children with Acute Respiratory Infection
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีการดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจซึ่งรับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จํานวน 47 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจํานวน 23 ราย ซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองจํานวน 24 รายได้รับโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นระบบสนับสนุนและให้ความรู้ โดยผู้วิจัยพบกับมารดาวันละครั้งเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันนาน 2 วันมอบคู่มือการดูแลบุตรโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจและโทรศัพท์เยี่ยมติดตามอาการ 1 ครั้งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ คํานวณค่าร้อยละ ค่าไคร์สแควร์และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย: หลังการใช้โปรแกรมการพยาบาลที่เน้นระบบสนับสนุนและให้ความรู้แก่มารดาพบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลบุตรของมารดาในกลุ่มทดลองสูงกว่ามารดาในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t = -11.13, p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ:โปรแกรมการพยาบาลที่เน้นระบบสนับสนุนและให้ความรู้มีผลช่วยให้มารดามีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจการเริ่มโปรแกรมตั้งแต่วันแรกรับเข้าในโรงพยาบาลมีความสำคัญมาก เนื่องจากการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพยาบาลและมารดาตั้งแต่แรกรับจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และความมั่นใจในการดูแลบุตรอย่างต่อเนื่อง
Purpose: Effect of a supportive-educative nursing program on maternal behavior in care for children with acute respiratory infection.Design: Quasi-experimental research.Methods: The sample comprised 47 mothers who had children aged less than five years with acute respiratory infection. These children were admitted to Pediatric Departments at Prapokklao Hospital. The 23 mothers in the control group received routine nursing care and the 24 mothers in the experimental group received the supportive-educative nursing program consisting of 2-day meetings with the researcher, distribution of a booklet of the care for children with acute respiratory infection, and a telephone follow-up after the meeting. Data were collected by using a maternal care behavior questionnaire and analyzed using frequency, percentage, chi-square, and t-test.Main findings: The mean scores of maternal care behavior in the experimental group were significantly higher than that in the control group (t = -11.13, p < .001)Conclusion and recommendations: The supportive-educative nursing program effectively improved maternal behavior in care for children with acute respiratory infection. It is very important to implement the program on the first day of the admission. Good relationship between nurses and mothers built on the first day will help enhance continuous learning and confidence in providing care.
Purpose: Effect of a supportive-educative nursing program on maternal behavior in care for children with acute respiratory infection.Design: Quasi-experimental research.Methods: The sample comprised 47 mothers who had children aged less than five years with acute respiratory infection. These children were admitted to Pediatric Departments at Prapokklao Hospital. The 23 mothers in the control group received routine nursing care and the 24 mothers in the experimental group received the supportive-educative nursing program consisting of 2-day meetings with the researcher, distribution of a booklet of the care for children with acute respiratory infection, and a telephone follow-up after the meeting. Data were collected by using a maternal care behavior questionnaire and analyzed using frequency, percentage, chi-square, and t-test.Main findings: The mean scores of maternal care behavior in the experimental group were significantly higher than that in the control group (t = -11.13, p < .001)Conclusion and recommendations: The supportive-educative nursing program effectively improved maternal behavior in care for children with acute respiratory infection. It is very important to implement the program on the first day of the admission. Good relationship between nurses and mothers built on the first day will help enhance continuous learning and confidence in providing care.