Publication: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแปรงสีฟันใช้งาน 4 สัปดาห์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด
Accepted Date
2013-03-12
Issued Date
2013-01
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-5614 (printed)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
จุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ, วิกุล วิสาลเสสถ์, กนกวรรณ พัฒนไพรสณฑ์. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแปรงสีฟันใช้งาน 4 สัปดาห์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนแบบส่องกราด. ว ทันต มหิดล. 2556; 33(1): 8-18.
Suggested Citation
จุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ, Julalux Kasetsuwan, วิกุล วิสาลเสสถ์, Wikul Visalseth, กนกวรรณ พัฒนไพรสณฑ์, Kanokwan Pattanapraison ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแปรงสีฟันใช้งาน 4 สัปดาห์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด. จุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ, วิกุล วิสาลเสสถ์, กนกวรรณ พัฒนไพรสณฑ์. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแปรงสีฟันใช้งาน 4 สัปดาห์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนแบบส่องกราด. ว ทันต มหิดล. 2556; 33(1): 8-18.. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1117
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแปรงสีฟันใช้งาน 4 สัปดาห์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด
Alternative Title(s)
Studied the change of used toothbrushes 4 weeks by SEM.
Corresponding Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบความบาน ดัชนีความบานและการเปลี่ยนแปลงของปลายขนแปรงสีฟันหลังการใช้ 4 สัปดาห์ ศึกษาเปรียบเทียบแปรงสีฟันมาตรฐานขนนุ่มปลายมนของกรมอนามัย (A) กับ แปรงสีฟันขนนุ่มปลายเรียวแหลมผสมปลายตัด 3 ชนิด (B, C, D)
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: อาสาสมัคร 120 คน แบ่ง เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน สุ่มแบ่งเป็นกลุ่มแปรงสีฟันขนนุ่มปลายเรียวแหลมผสมปลายตัด 3 กลุ่ม และกลุ่มแปรงสีฟันมาตรฐานขนนุ่มปลายมนของกรมอนามัย 1 กลุ่ม ให้อาสาสมัครใช้แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และวิธีการแปรงฟันที่กำหนด ทุกวันๆละ 2 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ จากนั้นสุ่มเก็บตัวอย่างแปรงสีฟันชนิดละ 5 ด้าม นำแปรงสีฟันทั้ง 4 ชนิดมาประเมินระดับความบานของแปรงสีฟัน ดัชนีความบาน และนำมาตรวจดูปลายขนแปรงที่เปลี่ยนแปลงโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่กำลังขยาย 150 เท่า
ผลการศึกษา: เมื่อพิจารณาระดับความบานพบว่าแปรงสีฟันใช้งานแล้วทั้ง 4 ชนิดส่วนมากมีความบานที่ระดับ 1 เมื่อพิจารณาดัชนีความบานพบว่า ทั้ง 4 ชนิดมีค่าเฉลี่ยดัชนีความบานเพิ่มขึ้นและแตกต่างจาก กลุ่มที่ยังไม่ได้ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปลายขนแปรงมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในแต่ละชนิดคือ ปลายมนของแปรงสีฟันมาตรฐานกลุ่ม A เปลี่ยนโดยสูญเสียความมนร้อยละ 77 ส่วนแปรงสีฟันขนนุ่มปลายเรียวแหลมผสม
ปลายตัด 3 ชนิด กลุ่ม B, C และ D มีการเปลี่ยนแปลง ปลายตัดขอบมุมตัดจะมนไม่เรียบเป็นร้อยละ 65, 77 และ 60 ส่วนปลายเรียวแหลมสูญเสียความเรียวแหลมร้อยละ 60, 58และ 66 ตามลำดับ
บทสรุป: แปรงสีฟันทั้ง 4 กลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงทั้งลักษณะการบานและปลายขนแปรงทุกกลุ่มเมื่อใช้ไป 4 สัปดาห์
Objective: The purpose of this study was to compare the splaying, wearing index and changes of used -toothbrush for 4 weeks. The study was tested a control toothbrush (A), the standard toothbrush of Department of Health, Thailand and of 3 different types of soft toothbrushes (B, C, D) with slim mixed cut ends bristle. Material and Methods: One hundred and twenty volunteers were divided into 4 groups of 30 volunteers. The volunteers were randomly divided into 3 groups of slim mixed cut ends bristle and one with the standard toothbrush. Volunteers were informed to use the same toothbrush, toothpaste and method of brushing twice a day for 4 weeks. After that, the 5 toothbrushes from each type were random collected for wear rating, wear index and SEM. Result: For wear rating, the almost of toothbrushes were level 1. Wear index of all used toothbrushes were higher significant than unused toothbrushes. The most changed of bristle ends of standard toothbrush(A) were flat to oblique ends 77%. For 3 types of slim mixed cut ends bristle in group B, C and D: the most changed were cut ends changed to round ends and no flat 65%, 77% and 60%. And slim ends changed to disappear slim were 60%, 58% and 66% respectively. Conclusion: The 4 types of used toothbrushes were changed both in wear and bristle ends at 4 weeks.
Objective: The purpose of this study was to compare the splaying, wearing index and changes of used -toothbrush for 4 weeks. The study was tested a control toothbrush (A), the standard toothbrush of Department of Health, Thailand and of 3 different types of soft toothbrushes (B, C, D) with slim mixed cut ends bristle. Material and Methods: One hundred and twenty volunteers were divided into 4 groups of 30 volunteers. The volunteers were randomly divided into 3 groups of slim mixed cut ends bristle and one with the standard toothbrush. Volunteers were informed to use the same toothbrush, toothpaste and method of brushing twice a day for 4 weeks. After that, the 5 toothbrushes from each type were random collected for wear rating, wear index and SEM. Result: For wear rating, the almost of toothbrushes were level 1. Wear index of all used toothbrushes were higher significant than unused toothbrushes. The most changed of bristle ends of standard toothbrush(A) were flat to oblique ends 77%. For 3 types of slim mixed cut ends bristle in group B, C and D: the most changed were cut ends changed to round ends and no flat 65%, 77% and 60%. And slim ends changed to disappear slim were 60%, 58% and 66% respectively. Conclusion: The 4 types of used toothbrushes were changed both in wear and bristle ends at 4 weeks.