Publication: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Caffeine และ Dextromethorphan ที่ระดับความเข้มข้นสูงโดย Human Liver Microsomes
dc.contributor.author | ชรินทร สีด้วง | en_US |
dc.contributor.author | ชัยรัตน์ มานะเสถียรกิจ | en_US |
dc.contributor.author | ชัชวิน ระงับภัย | en_US |
dc.contributor.author | วรวีร์ ไวยวุฒิ | en_US |
dc.contributor.author | Charinthon Seeduang | en_US |
dc.contributor.author | Chairat Manasatienkij | en_US |
dc.contributor.author | Chachawin Rangabphai | en_US |
dc.contributor.author | Worawee Waiyawuth | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชานิติเวชศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | กระทรวงยุติธรรม. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-09-29T02:34:46Z | |
dc.date.available | 2022-09-29T02:34:46Z | |
dc.date.created | 2565-09-29 | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.description.abstract | Dextromethorphan เป็นยาที่มีโครงสร้างเป็นอนุพันธ์ isomer แบบ dextro-rotatory ของยาแก้ปวดกลุ่ม opioid หลังการรับประทานยาในมนุษย์ ยา dextromethorphan จะเกิดปฏิกิริยา demethylation โดยเอนไซม์ cytochrom P450 ทาง CYP2D6 ไปเป็น dextrorphan ในปัจจุบันยา dextromethorphan นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาอาการไอ เนื่องจากมีฤทธิ์ยับยั้งศูนย์การไอ medullary ในสมองส่วนกลาง โดยการใช้ยา dextromethorphan ในช่วงระดับการรักษา ไม่มีผลทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มมีความสุข ลดอาการเจ็บปวด หรือเกิดอาการพิษอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามมีการนำยา dextromethorphan มาใช้ในทางที่ผิดเพื่อหวังผลในการเคลิบเคลิ้มมีความสุข โดยพบว่า การใช้ยา dextromethorphan ที่ขนาดยามากกว่า 360 mg ร่วมกับยาเสพติดอื่น เช่น กระท่อม หรือยานอนหลับ ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มมีความสุขหรือช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ ซึ่งในประเทศไทยพบจำนวนผู้ใช้ยาในทางที่ผิดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบางส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต นอกจากนี้พบว่า นิยมใช้ยา dextromethorphan ร่วมกับ caffeine เนื่องจาก caffeine มีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดอาการสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และสามารถหาซื้อได้ง่าย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบในเครื่องดื่มหลายชนิด โดยในการศึกษานี้จะทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยา dextromethorphan และ caffeine ในหลอดทดลอง โดยสกัด dextromethorphan และเมตาบอไลท์คือ dextrorphan โดยใช้หลักการ solid phased extraction และตรวจวัดปริมาณโดยเทคนิค gas chromatography และ mass spectrometer จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยา dextromethorphan และ caffeine ในหลอดทดลอง พบว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงยา dextromethorphan (0.1 - 5.0 ug/ml) ถูกยับยั้งอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.001) โดย caffeine (10 - 100 ug/ml) แต่ไม่มีผลกับเมตาบอไลท์คือ dextrorphan จึงสรุปได้ว่าพิษวิทยาของการใช้ยาร่วมกันระหว่าง dextromethorphan กับ caffeine ที่ระดับความเข้มข้นสูง อาจส่งผลให้ปริมาณยา dextromethorphan สามารถอยู่ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ยาวนานขึ้น | en_US |
dc.description.abstract | Dextromethorphan is dextro-rotatory isomer of synthetical opioid levorphanol. In humans, it is mainly demethylated into dextrorphan after ingestation, by cytochrome P450 via CYP2D6 activity. Dextromethorphan is clinically used as a cough suppressant and exhibits it effect by depressing the medullary cough center in the mid brain. In therapeutic dosage, the drug has no effect on euphoria, pain relief, and also other unwanted toxicities. Unfortunately, dextromethorphan is presently used as an illicit party drug because of its euphoric effect. Dextromethorphan, when used at a dosage over 360 mg in combination with other creative drugs such as Kratom and other sedative drugs, causes the experiences of euphoria and pain relief. The number of abusers has reportedly been increasing in Thailand, and also has been related to several intoxicated deaths. In Thailand, dextromethorphan has been popularly used in a combination with caffeine because caffeine is normally a component in refreshments. In this study, Dextromethorphan and its main metabolite (dextrorphan) were extracted via in vitro reactions by mixed-mode (cation-exchange and reversed-phase) solid phase extraction and measured by gas chromatography and mass spectrometer. In vitro interaction between dextromethorphan and caffeine was analysed to define its relationship. Metabolization of dextromethorphan (0.1 - 5.0 ug/ml) was significantly inhibited (P < 0.001) by caffeine (10-100 ug/ml) but not for its main metabolite, dextrophan. These results suggest that toxicology of the coexistence of dextromethorphan and a high concentration of caffeine presence produces longer and stronger effects in the human body because the unchanged form of dextromethorphan remains long term while there is a high level of caffeine | en_US |
dc.identifier.citation | รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 36, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2556), 52-64 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-3611 (Print) | |
dc.identifier.issn | 2651-0561 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79720 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม | en_US |
dc.subject | ในหลอดทดลอง | en_US |
dc.subject | Dextromethorphan Dextrorphon In Vitro Experiment | en_US |
dc.title | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Caffeine และ Dextromethorphan ที่ระดับความเข้มข้นสูงโดย Human Liver Microsomes | en_US |
dc.title.alternative | A Study of the in Vitro Interaction between Caffeine and Dextromethorphan at High Concentrations Using Human Liver Microsomes | en_US |
dc.type | Original Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/102064/78988 | en_US |