Publication: คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราชที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังระดับเอว ของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนจากความเสื่อม: การศึกษาแบบย้อนหลังและติดตาม
Issued Date
2565
Resource Type
Resource Version
Accepted Manuscript
Language
tha
File Type
application/pdf
ISSN
2350-983x
Journal Title
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
Volume
9
Issue
2
Start Page
147
End Page
170
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2565), 147-170
Suggested Citation
กมลชนก ศิริบัญชาชัย, สุกัญญา จงถาวรสถิตย์, อารีศักดิ์ โชติวิจิตร, Kamolchanok Siribanchachai, Sukanya Chongthawonsatid, Areesak Chotivichit คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราชที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังระดับเอว ของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนจากความเสื่อม: การศึกษาแบบย้อนหลังและติดตาม. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2565), 147-170. 170. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109434
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราชที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังระดับเอว ของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนจากความเสื่อม: การศึกษาแบบย้อนหลังและติดตาม
Abstract
การวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบย้อนหลังและติดตาม เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช ที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังระดับเอวของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนจากความเสื่อม ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังระดับเอวของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนจากความเสื่อม จำนวน 145 ราย จากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และติดตามคุณภาพชีวิตหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยเหล่านั้น จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ผ่านการสอบถามทางโทรศัพท์ ทั้งนี้ ระยะเวลาติดตามผู้ป่วยมีตั้งแต่ 10 เดือน ถึง 6.8 ปี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย และ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบสอบถามคุณภาพชีวิต 5 มิติ (EQ-5D-5L) และ แบบประเมินสภาวะสุขภาพ Visual Analog Scale (VAS) ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวลงขาก่อนผ่าตัด จะมีปัญหาคุณภาพชีวิตในมิติการเคลื่อนไหว, กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ, และมีความวิตกกังวลหรือความซึมเศร้า มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขาก่อนได้รับการผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) ผู้ป่วยที่มีระยะเวลาติดตามผลการรักษา 4 ปีขึ้นไป จะมีปัญหาคุณภาพชีวิตในมิติการเคลื่อนไหว, การดูแลตนเอง, และกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ มากกว่าผู้ป่วยที่มีระยะเวลาติดตามผลการรักษาน้อยกว่า 2 ปี และ 2 ถึง 4 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระยะเวลาติดตามผลการรักษา และ (4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับความรุนแรง grade II และการมีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ แพทย์ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าหลังผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ และภายหลังการรักษา 4 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยอาจมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง ทั้งในมิติการเคลื่อนไหว การดูแลตนเอง และกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ แนะนำให้ผู้ป่วยบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์มาตรฐาน และพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
This research employed a retrospective cohort study to identify factors affecting the quality of life among Siriraj Hospital’s 145 patients undergoing lumbar fusion (L4-L5) for degenerative spondylolisthesis. The researchers collected data of these patients from an electronic medical record (EMR) between January 1, 2014 to December 31, 2019 and followed up their quality of life by phone interview until November 30, 2020. The follow-up period ranges from 10 months to 6.8 years. Instruments used in this research included patients’ medical and health records and the Quality of Life questionnaire which consisted of 2 dimensions: the EQ-5D-5L and the Visual Analog Scale (VAS). The findings of this research revealed that patients who had suffered leg pain symptoms before the surgery reported having extremely low quality of life especially in terms of body mobility, usual activities, pain or discomfort, and anxiety or depression compared with patients who had no leg pain symptoms before the surgery. Next, patients who were followed up for 4 years or more after the surgery reported having extremely low quality of life especially in terms of body mobility, self-care, and usual activities compared with patients who were follow-up for less than 2 years and 2 to 4 years after the surgery. A factor affecting patients’ quality of life was a follow-up treatment duration and factors affecting patients’ health status were the disease severity at grade II and surgical complications. Recommendations of this research include doctors should explain medical matters to patients, especially (1) patients will likely have certain complications after the surgery and (2) patients will likely have low quality of life after 4 years of the surgery, especially in terms of body mobility, self-care, and usual activities. Thus, patients should stretch muscles, maintain a healthy weight, and see their doctors regularly after the surgery.
This research employed a retrospective cohort study to identify factors affecting the quality of life among Siriraj Hospital’s 145 patients undergoing lumbar fusion (L4-L5) for degenerative spondylolisthesis. The researchers collected data of these patients from an electronic medical record (EMR) between January 1, 2014 to December 31, 2019 and followed up their quality of life by phone interview until November 30, 2020. The follow-up period ranges from 10 months to 6.8 years. Instruments used in this research included patients’ medical and health records and the Quality of Life questionnaire which consisted of 2 dimensions: the EQ-5D-5L and the Visual Analog Scale (VAS). The findings of this research revealed that patients who had suffered leg pain symptoms before the surgery reported having extremely low quality of life especially in terms of body mobility, usual activities, pain or discomfort, and anxiety or depression compared with patients who had no leg pain symptoms before the surgery. Next, patients who were followed up for 4 years or more after the surgery reported having extremely low quality of life especially in terms of body mobility, self-care, and usual activities compared with patients who were follow-up for less than 2 years and 2 to 4 years after the surgery. A factor affecting patients’ quality of life was a follow-up treatment duration and factors affecting patients’ health status were the disease severity at grade II and surgical complications. Recommendations of this research include doctors should explain medical matters to patients, especially (1) patients will likely have certain complications after the surgery and (2) patients will likely have low quality of life after 4 years of the surgery, especially in terms of body mobility, self-care, and usual activities. Thus, patients should stretch muscles, maintain a healthy weight, and see their doctors regularly after the surgery.