Publication:
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล กับพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว

dc.contributor.authorน้ำฝน แว้นแคว้นen_US
dc.contributor.authorอรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์en_US
dc.contributor.authorวนิดา เสนะสุทธิพันธุ์en_US
dc.contributor.authorNamphon Waencwaenen_US
dc.contributor.authorArunrat Srichantaraniten_US
dc.contributor.authorWanida Sanasuttipunen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2021-04-20T03:12:31Z
dc.date.available2021-04-20T03:12:31Z
dc.date.created2564-04-20
dc.date.issued2564
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวของผู้ดูแล รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงความสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียววัย 0-5 ปี ที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดหัวใจและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 75 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว (แบ่งเป็น 2 แบบ คือ สำหรับผู้ดูแลเด็กที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี และที่มีอายุมากกว่า 1 ปี) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวของผู้ดูแลอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 82.00, SD = 8.79) การรับรู้ภาวะสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวของผู้ดูแล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .43, p < .001), (rs = .446, p < .001) ตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวของผู้ดูแลอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล คือ การรับรู้ภาวะสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ ดังนั้น พยาบาลควรพัฒนาคุณภาพและกระบวนการให้ข้อมูล ส่งเสริมให้ผู้ดูแลรับรู้ภาวะสุขภาพ และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยการสนับสนุนให้ผู้ดูแลเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการแพทย์ได้ง่าย เช่น แอปพลิเคชันไลน์ เว็บไซต์ของโรงพยาบาล เป็นต้น เพื่อส่งเสริมคุณภาพการดูแลให้เด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวให้มีสุขภาพดี และพร้อมที่จะได้รับการผ่าตัดหัวใจen_US
dc.description.abstractPurpose: To examine the relationship between health perception, health literacy and caring behavior of caregivers of children with acyanotic congenital heart disease. Design: Descriptive correlational study. Methods: The study samples included 75 caregivers of children with acyanotic congenital heart disease aged birth to 5 years, being followed-up at three hospitals in Bangkok, and not yet having undergone cardiac surgery. The sample was selected by convenience sampling. Questionnaires used for collecting data included 1) demographic data form 2) health perception questionnaire, 3) health literacy questionnaire and 4) care of children with acyanotic congenital heart disease questionnaire (which was divided into two forms: for caregivers of children age ≤ 1 year old and for caregivers of children age > 1 year old). Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s rank order correlation. Main findings: The results of the study showed that caring behavior of caregivers of children with acyanotic congenital heart disease was at a high level (gif.latex?\bar{X} = 82.00, SD = 8.79). Health perception and health literacy of caregivers were significantly and positively correlated with caring behavior of caregivers of children with acyanotic congenital heart disease (rs = .43, p < .001, (rs = .45, p < .001 respectively). Conclusion and recommendations: According to the study findings, caregivers had a high level of caring behavior; and their caring behavior was correlated with health perception and health literacy. Therefore, nurses should improve quality and process of giving information, promote health perception and health literacy by providing easily access medical information such as the application line, and hospital website in order to enhance of the quality of care by caregivers which would assist these children to be healthy and ready for cardiac surgery.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มี.ค. 2563), 26-39en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/61979
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโรคหัวใจพิการเเต่กำเนิดชนิดไม่เขียวen_US
dc.subjectพฤติกรรมการดูแลen_US
dc.subjectความรอบรู้ด้านสุขภาพen_US
dc.subjectการรับรู้en_US
dc.subjectacyanotic congenital heart diseaseen_US
dc.subjectare behavioren_US
dc.subjecthealth literacyen_US
dc.subjectperceptionen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล กับพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวen_US
dc.title.alternativeThe Relationship between Health Perception, Health Literacy, and Caring Behavior of Caregivers of Children with Acyanotic Congenital Heart Diseaseen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/243153

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-arunrat-2563.pdf
Size:
600.92 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections