Publication: การบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจในเด็กอายุ 1 ปี
Issued Date
2548
Resource Type
Language
tha
ISSN
1905-1387
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (2548), 1-9
Suggested Citation
ศิริกุล อิศรานุรักษ์, ลัดดา เหมาะสุวรรณ, จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ การบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจในเด็กอายุ 1 ปี. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (2548), 1-9. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2026
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจในเด็กอายุ 1 ปี
Other Contributor(s)
Abstract
เด็กอายุ 1 ปี มีความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจได้ง่าย เนื่องจากยังไม่สามารถ
คิดตัดสินใจหรือประเมินอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองได้ ผู้เลี้ยงดูจึงต้องเฝ้าระวัง
ดูแลอย่างใกล้ชดิ เพราะผลที่ตามมาอาจรุนแรง จนก่อให้เกิดความพิการอย่างถาวร หรือเสียชีวติ ได้
โครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทย ซึ่งได้ติดตามศึกษาการเจริญเติบโต และพัฒนาการเด็ก
ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ โดยการสัมภาษณ์
ผู้เลี้ยงดูหลักของเด็ก เมื่อเด็กมีอายุ 1 ปี ผลการศึกษาพบว่า จากเด็กทั้งหมด 4,096 คน
การบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจที่พบบ่อยที่สุด คือ การถูกของมีคมบาด (ร้อยละ 11.3) รองลงมาคือ
การพลักตกจากที่สูง (ร้อยละ 6.5) และถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ร้อยละ 4.1) เมื่อวิเคราะห์ในแต่ละ
พื้นที่ พบว่าการบาดเจ็บจากการถูกของมีคม เป็นการบาดเจ็บลำดับแรกของทุกพื้นที่ และการบาดเจ็บ
3 ลำดับแรก ทั้งเพศชาย และเพศหญิงเป็นลักษณะอย่างเดียวกัน คือ การถูกของมีคมบาด
การพลัดตกจากที่สูง และการถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แต่เพศชายจะมีสัดส่วนของเด็กที่ได้รับการ
บาดเจ็บ โดยไม่ตั้งใจมากกว่าเด็กเพศหญิง นอกจากนั้นลักษณะการบาดเจ็บ 3 ลำดับแรก
เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ว่าผู้เลี้ยงดูหลักของเด็กจะเป็นใคร ได้แก่ การถูกของมีคมบาด การพลัดตก
จากที่สูง และการถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ซึ่งเมื่อสอบถามสิ่งของต่างๆ ในบ้านหรือรอบบ้าน
ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจในเด็ก ดังกล่าวข้างต้น พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของ
ครอบครัว มีของมีคม และหนึ่งในสามมีเตาไฟ
การบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจในเด็กวัย 1 ปี มักเกิดจากในบ้านหรือรอบๆ บริเวณบ้าน มีสิ่งแวดล้อม
ที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ตลอดจนการขาดความเอาใจใส่ดูแล และความไม่เข้าใจพัฒนาการเด็กของ
ผู้เลี้ยงดู อาจส่งผลกระทบรุนแรงโดยไม่คาดคิดได้ การไม่ประมาท และไม่มองข้ามความปลอดภัย
จึงเป็นสิ่งที่ต้องรณรงค์ และปลูกฝังให้มากขึ้น