Publication:
ปัจจัยทำนายความกดดันทางจิตใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

dc.contributor.authorลาวัณย์ ตุ่นทองen_US
dc.contributor.authorLawan Toontongen_US
dc.contributor.authorดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศen_US
dc.contributor.authorDoungrut Wattanakitkrilearten_US
dc.contributor.authorคนึงนิจ พงศ์ถาวรกมลen_US
dc.contributor.authorKanaungnit Pongthavornkamolen_US
dc.contributor.authorเจริญ ชูโชติถาวรen_US
dc.contributor.authorCharoen Chuchottawornen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์en_US
dc.contributor.otherกระทรวงสาธารณสุข. สถาบันทรวงอก. กลุ่มงานอายุรศาสตร์ปอดen_US
dc.date.accessioned2018-02-12T08:34:43Z
dc.date.available2018-02-12T08:34:43Z
dc.date.created2018-02-12
dc.date.issued2555
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ : ความกดดันทางจิตใจเป็นผลมาจากการตอบสนองต่อความเครียดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทำให้มuพฤติกรรมทางสังคม อารมณ์ และอาการทางกายที่เปลี่ยนไปจากปกติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกดดันทางจิตใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและปัจจัยทำนาย รูปแบบงานวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินงานวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรีจำนวน 107 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 90.7 ไม่มีความกดดันทางจิตใจ การประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับ ภาวะสุขภาพเป็นสิ่งที่คุกคาม เป็นอันตราย และความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความกดดันทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย และไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง รวมทั้งการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความกดดันทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตัวแปรทุกตัวร่วมกันทำนายความกดดันทางจิตใจได้ร้อยละ 40 (R2 = .40, p < .01) เมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่ศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายความกดดันทางจิตใจ ได้แก่ การประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพเป็นอันตรายต่อตนเอง (β = .26, p < .05) และการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง (β = - .25, p < .01) สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับแหล่งประโยชน์ที่มีอิทธิพลต่อการลดภาวะความกดดันทางจิตใจด้วยการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการประเมินสถานการณ์ที่เหมาะสม มีการปฏิบัติเพื่อลดความรุนแรงของโรคและมีการสนับสนุนด้านข้อมูลที่เหมาะสมและด้วยหลากหลายวิธีแก่ผู้ป่วยen_US
dc.description.abstractPurpose: Psychological distress in patients with chronic obstructive pulmonary disease often results in changes in emotional status, social withdrawal and isolation, and physical symptoms, all of which require increased physical and psychological treatments. This study examined psychological distress in patients with this disease and determined its predicting factors. Design: Correlational predictive study. Methods: The sample consisted of 107 patients recruited from a clinic at the Central Chest Institute of Thailand in Nontaburi Province. Data collection instruments were a demographic characteristics questionnaire, the BODE Index, the Multidimensional Scale of Perceived Social Support, the Cognitive Appraisal of Health Scale, and the General Health Questionnaire (GHQ-12). Data were analyzed by using descriptive statistics and hierarchical regression analysis. Main findings: The results showed that most subjects (90.7%) did not have psychological distress. It was found that cognitive appraisal of health as a threat and as harmful?, and the severity of disease, were positively correlated with psychological distress. Additionally, cognitive appraisal of health as a challenge, and as irrelevant, as well as perceived social support were negatively correlated with psychological distress. Finally, all factors could explain 40% of the variance in the psychological distress (R2 = .40, p < .01). When controlling for the other variables, the cognitive appraisal of health as harmful (β = 0.26, p < .05) and as irrelevant (β = - .25, p < .01) were the significant predictors of the psychological distress in COPD patients. Conclusion and recommendations: Patients with chronic obstructive pulmonary disease should be provided with resources to help them reduce their psychological distress. These include: assisting them to have appropriate cognitive appraisals of health, care and treatment to reduce the severity of disease, and information given through various methods.en_US
dc.identifier.citationวารสารคณะพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 30, ฉบับที่ 1 (ม.ค. -มี.ค.2555), 40-48en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/8739
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.subjectการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพen_US
dc.subjectความกดดันทางจิตใจen_US
dc.subjectความรุนแรงของโรคen_US
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.titleปัจจัยทำนายความกดดันทางจิตใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Psychological Distress in Patients with Chronic Obstructive Diseaseen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/10028

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-doungrut-2555.pdf
Size:
1.87 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections