Publication:
มาตรการในการควบคุมและป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ กรณีศึกษา เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด่านพรมแดนแม่สอด จังหวัดตาก ประเทศไทย

dc.contributor.authorนรินทิพย์ ชัยพรมเขียวen_US
dc.contributor.authorฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญen_US
dc.contributor.authorนิทัศน์ ศิริโชติรัตน์en_US
dc.contributor.authorสุธี อยู่สถาพรen_US
dc.contributor.authorNarinthip Chaipromkhieoen_US
dc.contributor.authorChardsumon Prutipinyoen_US
dc.contributor.authorSuthee Usathapornen_US
dc.contributor.authorNithat Sirichotiratanaen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุขen_US
dc.date.accessioned2018-11-30T06:17:59Z
dc.date.available2018-11-30T06:17:59Z
dc.date.created2561-11-30
dc.date.issued2560
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทบทวนและวิเคราะห์มาตรการดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกัน ภาวะฉุกเฉิน ทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะเชิงมาตรการในการ ดำเนินงานให้เป็นไปตามสมรรถนะหลัก ที่กำหนดไว้ในกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 ของเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษด่านพรมแดนแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาวิธีการดำเนินงานด้านสาธารณสุข สำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทย ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสร้างข้อสรุปสำหรับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษา พบว่า มาตรการด้านการควบคุมและป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่าง ประเทศของด่านพรมแดนแม่สอด มีการดำเนินงานอยู่ในลักษณะของการเตรียมความพร้อมและเฝ้าระวัง ด้วยการจัดทำแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและฝึกซ้อมแผนฯ ที่ผ่านมาพบปัญหาอุปสรรคที่ สำคัญ อาทิ ขาดความเป็น เอกภาพในการดำเนินมาตรการ และไม่สามารถนำมาตรการทางกฎหมายมา ปรับใช้ในการดำเนินมาตรการเพื่อควบคุมและป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศได้ เป็นต้น สำหรับข้อเสนอแนะเชิงมาตรการที่พบในการวิจัยครั้งนี้ อาทิ มาตรการเตรียมความพร้อมรับมือ กับเหตุการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข มาตรการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการเดินทางเข้า-ออกของแรงงานต่างด้าว มาตรการกำหนดกฎหมายเพื่อควบคุมการพักอาศัยของแรงงานต่างด้าว มาตรการ กำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น ข้อเสนอของงานวิจัยนี้คือ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรมีการกำหนดนโยบายดังนี้ 1) นโยบายการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ 2) นโยบายสร้าง ความเป็นธรรมและความเสมอภาคด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าว 3) นโยบาย ควบคุมกำกับการเข้ามาใช้แรงงานของแรงงานต่างด้าว 4) นโยบายการจัดสวัสดิการด้านที่พักอาศัยของ แรงงานต่างด้าว 5) นโยบายสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัย 6) นโยบายพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาล เพื่อรับส่งต่อผู้ป่วยด้วยโรคติดต่ออันตราย และ 7) นโยบายจัดตั้งกองทุนเพื่อการจัดการด้านสาธารณภัย และเหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุข สำหรับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษen_US
dc.description.abstractThis research aimed to studying, reviewing and analyzing the measures to prevention and control the public health emergency of international concern as well as collecting suggestions of measures in taking actions to be under the key performance as specified in the International Health Regulations B.E. 2548 (IHR 2005) of the special economic development zone at Mae Sod Border Control, Tak Province. The qualitative methods were used structured interview, content analysis method and creating conclusion of data obtained from interview. It was found from the study that for the measures in controlling and preventing the public health emergency of international concern, the operation was characterized by being prepared and monitoring by preparing for plan in response to public health emergency and by practicing the plan as mentioned in the IHR 2005. The key problem and obstacle are found such as a lack of unity in taking actions and that it is not possible to apply legal measures to control and prevent the public health emergency of international concern. The measures are prepared for public health emergency, the enforcement measure to control the entrance-exit of alien laborers, measures in establishing law to control the stay of alien laborers, measure to supervise and monitor environment of the special economic development zone. The suggestions is that the special economic development zone should specify the policies as follows: 1) policy in preparing to respond to the public health emergency of international concern, 2) policy in creating fairness and equality in accessing to service of alien laborers, 3) policy to control and supervise the work of alien laborers, 4) policy in arranging for welfare of residence of alien laborers, 5) policy on safety environment, 6) policy in developing quality of nursing care centers to admit and transfer patient with infectious disease, and 7) policy in establishing fund for dealing with public danger and public health emergency for the special economic development zone.en_US
dc.identifier.citationวารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560), 193-210en_US
dc.identifier.issn2408-249X
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/36916
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศen_US
dc.subjectกฎอนามัยระหว่างประเทศen_US
dc.subjectเขตพัฒนาen_US
dc.subjectเศรษฐกิจพิเศษen_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.subjectวารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุขen_US
dc.subjectPublic Health & Health Laws Journalen_US
dc.titleมาตรการในการควบคุมและป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ กรณีศึกษา เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด่านพรมแดนแม่สอด จังหวัดตาก ประเทศไทยen_US
dc.title.alternativePublic Health Emergency of International Concern Prevention and Control Measures: A Case Study on Special Economic Development Zone, Maesod Border Control, Tak Province, Thailanden_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttp://phad.ph.mahidol.ac.th/journal_law/3-2/10-Narinthip%20Chaipromkhieo.pdf

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-nithat-2560-2.pdf
Size:
345.92 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections