Publication: ต้นทุนบริการสุขภาพ
Issued Date
2551
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-1678
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 38, ฉบับที่ 2 (2551), 265-276
Suggested Citation
ภิฤดี ภวนานันท์, Pirudee Pavananunt ต้นทุนบริการสุขภาพ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 38, ฉบับที่ 2 (2551), 265-276. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2549
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ต้นทุนบริการสุขภาพ
Alternative Title(s)
Health care costs
Author(s)
Corresponding Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
ต้นทุนบริการสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากอุปสงค์และความคาดหวังต่อเทคโนโลยีใหม่ทางการแพทย์ การสั่งยาราคาแพง และประชากรสูงอายุที่ต้องการการดูแลระยะยาว เนื่องจากทรัพยากรสุขภาพที่มีอยู่เพื่อการให้บริการสุขภาพมีจำกัด กลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกลุ่มผู้ให้บริการสุขภาพจึงต้องการควบคุมมูลค่าของทรัพยากรที่ใช้ไป เทคนิคทางเศรษฐศาสตร์ของการประเมินต้นทุนบริการสุขภาพเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างฉลาดระหว่างทางเลือกในการใช้ทรัพยากร และนำโครงการสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิ โดยนักเศรษฐศาสตร์ใช้แนวคิดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการตัดสินว่าทรัพยากรได้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เทคนิคการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ดังกล่าว เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนบริการสุขภาพ โดยการประเมินทรัพยากรทั้งหมดที่ใช้ไปทั้งทางตรงและทางอ้อมในการรักษาโรคของคนคนหนึ่งเมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น หรือเป็นการประเมินต้นทุนของกิจกรรมบริการสุขภาพต่างๆ เพื่อเลือกกิจกรรมที่ให้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด การวิเคราะห์ต้นทุนบริการสุขภาพจึงเป็นเทคนิคการประเมินทางเศรษฐศาสตร์รูปแบบหนึ่ง ที่สามารถช่วยในการประเมินต้นทุนความเจ็บป่วยหรือต้นทุนโครงการหรือปฏิบัติการสุขภาพ บริการสุขภาพไม่แตกต่างจากกิจกรรมอื่นๆ ในสังคมเศรษฐกิจที่เกิดต้นทุนอันเนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการ ดังนั้นในการวิเคราะห์ต้นทุนหรือการประมาณค่าต้นทุนบริการสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจแนวคิดและความหมายของต้นทุนและต้นทุนบริการสุขภาพ
The rapid increase of health care costs in most countries resulted from higher demand for and expectations from new medical technology, expensive prescription drugs, an ageing population and a growing demand for health and long term care. Since health resources available for delivery of health care services are limited, a number of different groups who are involved including health service providers want to monitor value of resource used. The economic technique of health care
cost evaluation is one of the tools available to help health decision makers choose wisely from a range of alternatives including use of resources and the implementation efficient programs. The economists use the concept of opportunity cost in deciding whether the resources are efficient used. The evaluation is about health care cost analysis, and involves evaluating the use of resources spent on the treatment of people with illnesses and assessing the costs of carrying out a set of activities in order to identify ways to do the most with a limited resources. Health care cost analysis is a form of economic evaluation technique that can be used to assess either the cost of a illness or the cost of a health care program or interventions.
Health care activities are like other activities in the social economic that consume resources for producing goods and services. Therefore, it is necessary to understand the concepts and meanings of cost and health care costs.