Publication: ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบ
dc.contributor.author | ศิรินาฏ สอนสมนึก | en_US |
dc.contributor.author | กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | สุปรีดา มั่นคง | en_US |
dc.contributor.author | Sirinat Sornsomnuk | en_US |
dc.contributor.author | Kusuma Khuwatsamrit | en_US |
dc.contributor.author | Supreeda Monkong | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-10-22T09:10:46Z | |
dc.date.available | 2019-10-22T09:10:46Z | |
dc.date.created | 2562-10-22 | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ventilator associated pneumonia: [VAP]) ต่ออุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบ 2) การรับรู้ของพยาบาลถึงความสำคัญของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกัน VAP และ 3) การปฏิบัติของพยาบาลวิกฤตศัลยกรรมตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกัน VAP ใช้กรอบแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม แยกตามกิจกรรมย่อย ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) การดูแลช่องปากและฟัน 2) การจัดท่านอนและพลิกตะแคงตัว 3) การให้อาหารทางสายยาง 4) การดูดเสมหะ 5) การดูแลท่อช่วยหายใจและส่วนประกอบของท่อช่วยหายใจ และ 6) การใช้แนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย พยาบาลวิกฤตศัลยกรรมจำนวน 32 ราย และผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวน 77 ราย ที่รับไว้ในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม ระยะเวลาในการศึกษา 4 เดือน ผลการวิจัยพบว่า อุบัติการณ์การเกิด VAP ลดลงจาก 6.14 ครั้งต่อ 1000 วันของการใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็น 1.14 ครั้งต่อ 1000 วันของการใช้เครื่องช่วยหายใจ คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ของพยาบาลโดยรวมเกี่ยวกับความสำคัญของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกัน VAP ในระดับสำคัญมาก ทั้งก่อนและหลังการวิจัยพยาบาลกลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในทุกกิจกรรมย่อยหลังการวิจัย อยู่ในระดับมากกว่าก่อนการวิจัย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการใช้แนวปฏิบัติมีผลต่อการลดอุบัติการณ์การเกิด VAP ในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ | en_US |
dc.description.abstract | This study aimed to examine: 1) effects of using nursing practice guidelines for ventilator associated pneumonia (VAP) prevention on the incidence of VAP; 2) nurses’ perception for the importance of nursing practice guidelines for VAP prevention before and after using the guideline; and 3) the adherence of nurses to nursing practice guidelines for VAP prevention. The participatory action research was used as the conceptual framework in this study. The nursing practice guidelines for the prevention of VAP in the surgical intensive care unit comprised the following six parts: 1) mouth care; 2) positioning; 3) enteral feeding; 4) suction secretion; 5) respiratory care and ventilator circuit; and 6) implementation of guidelines for weaning ventilators. Representative samplings were purposive including 32 surgical critical care nurses and 77 patients while receiving mechanical ventilation in the surgical intensive care unit. Data collections were conducted for 4 months. The findings of the study revealed that after using nursing practice guidelines for VAP prevention, the incidence of VAP was decreased from 6.14 to 1.14 times in 1000 ventilator days. The mean score of nurses’ perception for the importance of nursing practice guidelines for VAP prevention were high in both before and after intervention. The mean score of nurses’ adherence to nursing practice guidelines for VAP prevention after intervention was higher than that before the intervention. The findings that reflect implementation of nursing practice guidelines for VAP prevention by using participatory action research could reduce the incidence of VAP. | en_US |
dc.identifier.citation | รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 23, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2560), 284-297 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9739 (Print) | |
dc.identifier.issn | 2672-9784 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47943 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights.holder | โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ | en_US |
dc.subject | การรับรู้ความสำคัญ | en_US |
dc.subject | การปฏิบัติการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม | en_US |
dc.subject | หอผู้ป่วยวิกฤติ | en_US |
dc.subject | Ventilator associated pneumonia | en_US |
dc.subject | Perception of importance | en_US |
dc.subject | Adherence | en_US |
dc.subject | Participatory action research | en_US |
dc.title | ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบ | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Using Nursing Practice Guidelines for Ventilator Associated Pneumonia Prevention on the Incidence of Ventilator Associated Pneumonia | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/86215/87305 |