Publication: Evaluating Psychometric Properties of the Connor–Davidson Resilience Scale (10-Item CD-RISC) among University Students in Thailand
Issued Date
2017
Resource Type
Language
eng
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
Journal of Nursing Science. Vol. 35, No. 3 (July - Sep 2017), 25-35
Suggested Citation
นพพร ว่องสิริมาศ, วารีรัตน์ ถาน้อย, ปิยาณี คล้ายนิล-โยบาส, Nopporn Vongsirimas, Wareerat Thanoi, Piyanee Klainin-Yobas Evaluating Psychometric Properties of the Connor–Davidson Resilience Scale (10-Item CD-RISC) among University Students in Thailand. Journal of Nursing Science. Vol. 35, No. 3 (July - Sep 2017), 25-35. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/43641
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Evaluating Psychometric Properties of the Connor–Davidson Resilience Scale (10-Item CD-RISC) among University Students in Thailand
Alternative Title(s)
การทดสอบคุณภาพเครื่องมือแบบวัดความความแข็งแกร่ง และยืดหยุ่นของชีวิต Connor-Davidson Resilience Scale (10-item CD-RISC) ในกลุ่มนักศึกษาไทย
Abstract
Purpose: To test psychometric properties of the CD-RISC among Thai undergraduate university students. Design: Methodological research. Method: Participants were recruited via convenience sampling. Students who were enrolled in any undergraduate program at a university in Bangkok, Thailand were eligible. They would be excluded if they had chronic medical illness and/or mental disorders requiring hospitalization. Participants were asked to complete self-reported questionnaires, including the CD-RISC. Data were analyzed using exploratory and confirmatory factor analyses (EFA and CFA) to explore the construct validity of the scale. Reliability analyses were also carried out to test internal consistency reliability. Main findings: Sample size was 966 for Time 1 and 695 for Time 2. Results from EFA showed that the 10-item CD-RISC displayed one-factor solution for both data assessment points. For Time 1, factor loadings ranged from 0.54 to 0.74 and for Time 2 those were in the range of 0.50 - 0.73. Results for CFA suggested that the one-factor structure fit well with the sample data for both Time 1 and Time 2. This evidence supported the construct validity of the scale. Cronbach’s alpha were .86 for both Time 1 and for Time 2, indicating good reliability.
Conclusion and recommendations: Findings from this study revealed acceptable psychomet-ric properties of the Thai version CD-RISC. Thus, this scale is suitable to capture the concept of resilience among Thai undergraduate students. Future research may test the Thai version CD-RISC on other Thai populations.
วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบคุณภาพเครื่องมือแบบวัดความความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต Connor–Davidson Resilience Scale (10-item CD-RISC) ในกลุ่มนักศึกษาไทย รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเครื่องมือวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกจากการสุ่มอย่างสะดวกจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในระดับ ปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ประเทศไทย หากนักศึกษามีการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือมีการป่วยทางสุขภาพจิต ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะไม่ถูกคัดเลือกเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างทำการตอบแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย แบบวัดความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต ฉบับภาษาไทย (10-CD-RISC-Thai version) วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบ การวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงยืนยัน เพื่อทดสอบความตรงเชิงโครงสร้างของเครื่องมือ และวิเคราะห์ความเที่ยงของเครื่องมือด้วยการทดสอบความคงที่ภายใน ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 966 คนในช่วงเวลาที่ 1 และจำนวน 695 ในช่วงเวลาที่ 2 ผลการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสำรวจแสดงว่าแบบวัดความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต ฉบับภาษาไทยทั้ง 10 ข้อนี้มี 1 องค์ประกอบ ในทั้งสองช่วงเวลาโดย ในช่วงเวลาที่ 1 แสดงผลค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.54 ถึง 0.74 และในช่วงเวลาที่ 2 มี ค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.50 ถึง 0.73 ผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงยืนยัน แสดงให้เห็นว่าโครงสร้าง 1 องค์ประกอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งช่วงเวลาที่ 1 และช่วงเวลาที่ 2 ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สนับสนุนความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด ค่าครอนบาคอัลฟ่ามีค่าเท่ากับ .86 ทั้งช่วงเวลาที่ 1 และช่วงเวลาที่ 2 แสดงว่าแบบวัดนี้มีค่าความเชื่อมั่นที่ดี สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงค่าที่ยอมรับได้ของคุณภาพเครื่องมือแบบวัดความแข็งแกร่ง และยืดหยุ่นของชีวิต ฉบับภาษาไทย ดังนั้นเครื่องมือนี้จึงเหมาะที่จะนำไปวัดตัวแปรความความแข็งแกร่งและยืดหยุ่น ของชีวิตในกลุ่มนักศึกษาไทย การวิจัยในอนาคตอาจทำาการทดสอบคุณภาพเครื่องมือนี้ในกลุ่มตัวอย่างอื่นต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบคุณภาพเครื่องมือแบบวัดความความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต Connor–Davidson Resilience Scale (10-item CD-RISC) ในกลุ่มนักศึกษาไทย รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเครื่องมือวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกจากการสุ่มอย่างสะดวกจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในระดับ ปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ประเทศไทย หากนักศึกษามีการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือมีการป่วยทางสุขภาพจิต ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะไม่ถูกคัดเลือกเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างทำการตอบแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย แบบวัดความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต ฉบับภาษาไทย (10-CD-RISC-Thai version) วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบ การวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงยืนยัน เพื่อทดสอบความตรงเชิงโครงสร้างของเครื่องมือ และวิเคราะห์ความเที่ยงของเครื่องมือด้วยการทดสอบความคงที่ภายใน ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 966 คนในช่วงเวลาที่ 1 และจำนวน 695 ในช่วงเวลาที่ 2 ผลการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสำรวจแสดงว่าแบบวัดความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต ฉบับภาษาไทยทั้ง 10 ข้อนี้มี 1 องค์ประกอบ ในทั้งสองช่วงเวลาโดย ในช่วงเวลาที่ 1 แสดงผลค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.54 ถึง 0.74 และในช่วงเวลาที่ 2 มี ค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.50 ถึง 0.73 ผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงยืนยัน แสดงให้เห็นว่าโครงสร้าง 1 องค์ประกอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งช่วงเวลาที่ 1 และช่วงเวลาที่ 2 ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สนับสนุนความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด ค่าครอนบาคอัลฟ่ามีค่าเท่ากับ .86 ทั้งช่วงเวลาที่ 1 และช่วงเวลาที่ 2 แสดงว่าแบบวัดนี้มีค่าความเชื่อมั่นที่ดี สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงค่าที่ยอมรับได้ของคุณภาพเครื่องมือแบบวัดความแข็งแกร่ง และยืดหยุ่นของชีวิต ฉบับภาษาไทย ดังนั้นเครื่องมือนี้จึงเหมาะที่จะนำไปวัดตัวแปรความความแข็งแกร่งและยืดหยุ่น ของชีวิตในกลุ่มนักศึกษาไทย การวิจัยในอนาคตอาจทำาการทดสอบคุณภาพเครื่องมือนี้ในกลุ่มตัวอย่างอื่นต่อไป
Sponsorship
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากเงินกองทุน ซี.เอ็ม.บี. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล