Publication:
ระบบบริการสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์

dc.contributor.authorจะเด็ดดาว สารบรรณen_US
dc.contributor.authorฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญen_US
dc.contributor.authorวิริณธิ์ กิตติพิชัยen_US
dc.contributor.authorวัลลีรัตน์ พบคีรีen_US
dc.contributor.authorนพดล กรรณิกาen_US
dc.contributor.authorJadetdaw Sarabanen_US
dc.contributor.authorChardsumon Prutipinyoen_US
dc.contributor.authorWirin Kittipichaien_US
dc.contributor.authorVallerut Pobkeereeen_US
dc.contributor.authorNoppadon Kannikaen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำen_US
dc.date.accessioned2022-05-31T02:50:31Z
dc.date.available2022-05-31T02:50:31Z
dc.date.created2565-05-31
dc.date.issued2564
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบบริการสุขภาพ คุณภาพชีวิต และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอนคือ 1. ศึกษาระบบบริการสุขภาพในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรตำแหน่งผู้บริหาร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบบริการสุขภาพจำนวน 5 คน 2. ประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังป่วยในที่เข้ารับการรักษาในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์จนเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา และอยู่ระหว่างการส่งตัวกลับเรือนจำ/ทัณฑสถาน จำนวน 193 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 2 -20 พฤศจิกายน 2563 โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณา ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1. การบริหารงานด้านโครงสร้างทางกายภาพเอื้อต่อการควบคุม และการให้บริการสุขภาพ มีการบริหารงานด้านการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องตามความจำเป็นควบคู่กับหลักทัณฑปฏิบัติ และมีการบริหารงานระบบบริการสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ 2. กลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 68.51, S.D. = 10.07) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และโรคประจำตัวที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในสาขาที่ขาดแคลน เพื่อให้บุคลกรมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ลดการส่งตัวผู้ต้องขังป่วยออกไปรับการรักษาภายนอก นอกจากนี้ควรมีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ผู้ต้องขัง รวมถึงการจัดการข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นให้แก่ผู้ต้องขังอย่างเหมาะสมen_US
dc.description.abstractThe purposes of this research were to study health service system, and evaluating the prisoners’ quality of life in a medical correctional institution. This study was conducted in two steps: first step was collecting data from 5 administrators or personnel who had experiences with health service system of a medical correctional institution; second step was collecting data from 193 prisoners who were admitted in a medical correctional institution, until treatment process was completed. Data collection was conducted from 2-20 November 2020. A questionnaire was used as the data collection instrument from prisoners. Descriptive statistical analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation and chi-square. Data from personnel group was collected by interview, with content analysis. The study found that 1. The management of physical structure was conducive to control and provide health services; the management of health services was appropriate, and in accordance with necessity along with the principles of practice, and the management of health services system, covering health promotion, disease prevention, treatment and rehabilitation. 2. The overall quality of life among the sample group was at a medium level (mean = 68.51, S.D. = 10.07). The personal factors which showed statistical significance (p-value < .01) were gender and underlying personal illnesses. Based on the research results, recommendations are: administrators should be supportive and encouraging knowledge of personnel, in order to decrease referral cases. In addition, there should be a mental health promotion policy, and appropriate information management for prisoners.en_US
dc.identifier.citationวารสารกฎหมายสุขภาพและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 7, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2564), 445-459en_US
dc.identifier.issn2697-6285 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64814
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectผู้ต้องขังป่วยen_US
dc.subjectHealth Service Systemen_US
dc.subjectQuality of Lifeen_US
dc.subjectSick Prisoneren_US
dc.titleระบบบริการสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์en_US
dc.title.alternativeHealth Service system and Prisoners’ Quality of life in a Medical Correctional Institutionen_US
dc.typeOriginal Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/251282/171697

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-chardsum-2564-7.pdf
Size:
3.78 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections