Publication:
ปัจจัยทำนายการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

dc.contributor.authorพรรณธร โอภาศิริโฆษิต
dc.contributor.authorศรินรัตน์ ศรีประสงค์
dc.contributor.authorดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ
dc.contributor.authorคมสิงห์ เมธาวีกุล
dc.contributor.authorPhannathorn Ophasirikhosit
dc.contributor.authorSarinrut Sriprasong
dc.contributor.authorDoungrut Wattanakitkrileart
dc.contributor.authorKomsing Methavigul
dc.date.accessioned2024-06-28T18:57:24Z
dc.date.available2024-06-28T18:57:24Z
dc.date.created2567-06-29
dc.date.issued2567
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงทำนายของความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ ความไว้วางใจในบุคลากรสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้ความรุนแรงของอาการ ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว รูปแบบการวิจัย: ความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ที่เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในเขตปริมณฑล จำนวน 108 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบประเมินการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แบบประเมินความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ แบบประเมินความไว้วางใจในบุคลากรสุขภาพ และแบบประเมินความรุนแรงของอาการและภาระของอาการในผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีภาพรวมการดูแลตนเองระดับดีมาก ร้อยละ 73.2 โดยความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ ความไว้วางใจในบุคลากรสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้ความรุนแรงของอาการ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ได้ร้อยละ 28.7 ปัจจัยที่มีอำนาจทำนายการดูแลตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเอง (gif.latex?\beta = .46, p < .001) และความไว้วางใจในบุคลากรสุขภาพ (gif.latex?\beta = .21, p = .012) สรุปและข้อเสนอแนะ: การรับรู้ความสามารถตนเอง และความไว้วางใจในบุคลากรสุขภาพ สามารถทำนายการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ บุคลากรสุขภาพควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ความสามารถตนเอง โดยสะท้อนผลของการดูแลตนเองให้ผู้ป่วยรับทราบ กล่าวชื่นชมพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีของผู้ป่วย และยกตัวอย่างผู้ป่วยที่มีการดูแลตนเองที่ดี นอกจากนั้น บุคลากรสุขภาพควรสร้างความไว้วางใจ ด้วยการรับฟังปัญหา และให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
dc.description.abstractPurpose: To explore the predictive correlation of eHealth literacy, trust in health care provider, self-efficacy, and perception of symptom severity on self-care in patients with atrial fibrillation. Design: Predictive correlational research. Methods: The study included 108 individuals who were followed up for diagnosis of atrial fibrillation at a tertiary hospital in the metropolitan region. Data were collected using a demographic data questionnaire, Self-Care of Chronic Illness Inventory, eHealth Literacy Questionnaire, Health Care Relationship Trust Scale, and Atrial Fibrillation Symptom and Burden. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple linear regression. Main findings: The overall self-care level was very good (73.2%). The results showed that eHealth literacy, trust in health care providers, self-efficacy, and perception of symptom severity could together explain 28.7% of the variance in self-care in patients with atrial fibrillation. The significant predicting factors on self-care in patients with atrial fibrillation were self-efficacy (gif.latex?\beta = .46, p < .001), and trust in health care provider (gif.latex?\beta = .21, p = .012). Conclusion and recommendations: Self-efficacy and trust in health care provider can predict self-care in patients with atrial fibrillation. Health care providers should support patients to develop self-efficacy by reflecting on the outcomes of their self-care, providing positive reinforcement, and introducing a patient model of good self-care. In addition, health care providers should establish a trust between them and patients by actively listening to their problems and encouraging decision-making participation.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2567), 19-31
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99203
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
dc.subjectความรอบรู้ด้านสุขภาพทางอิเล็กทรอนิกส์
dc.subjectการดูแลตนเอง
dc.subjectการรับรู้ความสามารถตนเอง
dc.subjectความไว้วางใจ
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์
dc.subjectJournal of Nursing Science
dc.subjectNursing Science Journal of Thailand
dc.titleปัจจัยทำนายการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
dc.title.alternativeFactors Predicting Self-Care in Patients with Atrial Fibrillation
dc.typeArticle
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/265937
oaire.citation.endPage31
oaire.citation.issue2
oaire.citation.startPage19
oaire.citation.titleวารสารพยาบาลศาสตร์
oaire.citation.volume42
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
oairecerif.author.affiliationกระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. สถาบันโรคทรวงอก

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ns-ar-sarinrut-2567.pdf
Size:
1.14 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections